Skip to content
Home » รมว.อุตสาหกรรม แจงรัฐมีขั้นตอนดูแลขยะอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ

รมว.อุตสาหกรรม แจงรัฐมีขั้นตอนดูแลขยะอุตสาหกรรมอย่างเป็นระบบ

รมว.อุตสาหกรรมแจงกลางสภาฯ รัฐมีขั้นตอนดูแลขยะอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถไฟฟ้าอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ต้นทางการผลิตถึงเลิกใช้นำไปรีไซเคิล ยันเรื่องแร่ลิเทียมใช้ศัพท์ยากเลยทำให้คนเข้าใจผิด แต่ก็เป็นผลดีทำให้คนในสังคมตื่นตัว

เมื่อวันที่ 25 มกราคม น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รมว.อุตสาหกรรม ชี้แจงกระทู้ถามในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเกี่ยวกับแผนบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ว่า แผนการดำเนินการรถไฟฟ้าทำมา 5 ปีแล้วตั้งแต่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี จนมาถึงขณะนี้ เป็นมาตรการ EV 3 จนถึง EV 3.5 เราได้คิดครอบคลุมทั้งระบบ และทราบดีว่า ปัญหาแบตเตอรี่จะเป็นปัญหาในอนาคตจึงคิดครอบคลุมไปถึงอนาคตข้างหน้า

ทั้งนี้ รวมไปถึงแผง Solar rooftop แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือที่คิดว่าเป็นขยะอุตสาหกรรม วันนี้ตลาดยานยนต์ไฟฟ้าโตขึ้นกว่า 3 เท่าเมื่อเทียบกว่าปีที่ผ่านมา การจัดการแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้ารัฐบาลคำนึงถึง เรามีแผนจัดการอย่างเป็นระบบ กรณีแร่ลิเทียม ที่อื่นเขาไม่มีแต่ประเทศไทยมีกระบวนการเอาแร่ลิเทียมขึ้นมาขอให้หมดความกังวลได้ เพราะแต่ละประทานบัตรกว่าจะเอาแร่ขึ้นมา จะต้องผ่านถึง 14 หน่วยงานกว่าจะได้ประทานบัตร และตั้งแต่เรามีพ.ร.บ.แร่ ปี 2560 ได้กำชับว่าเหมืองแร่ใดสถานใดประกอบการใดต้องอยู่คู่กับชุมชนให้ได้ การจะได้ 1 เหมืองแร่นอกจากรับฟังความคิดเห็น การจัดการ EIA แล้ว กว่าจะมาขออนุญาตได้ไม่ใช่ใช้เวลาแค่ปี 2 ปี จะต้องทำตามขั้นตอน และผ่านหน่วยงานต่างๆ 14 หน่วยงาน จึงขอให้คลายความกังวลได้ เพราะเราต้องการให้เหมืองอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

สำหรับ เรื่องการจัดการแบตเตอรี่เราไม่ได้คิดแค่ทำแบตเตอรี่ จัดการแบตเตอรี่ หรือเอาแบตเตอรี่จากข้างนอกมาประกอบ แต่เราคิดถึงเรื่องการรีไซเคิล รัฐเองกำลังคุยเรื่องการจัดการแบตเตอรี่ตั้งแต่ต้นทางใครเอาแบตเตอรี่เข้ามาไม่ว่าจะวิธีการไหน จะต้องมีการจัดการตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงหมดอายุ จะรีไซเคิลอย่างไร และใครเป็นผู้รีไซเคิล รัฐบาลได้ดำเนินการในเรื่องนี้แล้ว โดยตนได้ตั้งคณะทำงานทำเรื่องนี้และก้าวไปถึงการจัดตั้งพื้นที่สำหรับการจัดการแบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้ทั้งหมดแล้ว

“ขอให้คลายความกังวลว่า ประเทศไทยไม่ใช่แค่ดึงดูดนักลงทุนเข้ามา ไม่ใช่แค่ต้องการรายได้จากการลงทุนเท่านั้น แต่เรากำลังทำให้ประเทศนี้เป็นฮับของการผลิตรถยนต์ EV ต่อไปจะเป็นศูนย์กลางจัดการขยะของเสียเหล่านี้ด้วย เพราะเราทำการจัดการอย่างเป็นระบบ”รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

น.ส.พิมภัทรา กล่าวถึงการสื่อสารเรื่องแร่ลิเทียมที่ผิดพลาดว่า เมื่อมีการสื่อสารผิดพลาด ทำให้เกิดความเข้าใจผิด เราได้ทำความเข้าใจอย่างทันท่วงที เรื่องนี้ถ้ามองในมุมของกระทรวงอุตสาหกรรม และกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่ ตนกลับมองในมุมบวก ว่า ข่าวแร่ลิเทียมทำให้สถานการศึกษาต่างๆ ประชาชนได้รับรู้ว่าประเทศไทยจะเป็นลำดับ 3 หรือลำดับใดในการมีแร่ลิเทียม แต่ได้ทำให้เกิดการกระตุ้น เกิดความรับรู้ในเรื่องนี้อย่างมากมาย หลังจากที่มีความเข้าใจผิดจากศัพท์ทางเทคนิคบางคำ เราได้มีการชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ จนวันนี้คนให้ความสนใจถามถึงและยังถามต่อว่า เรายังมีแหล่งแร่แบบนี้อีกหรือไม่ จึงได้ใช้โอกาสนี้ ในการชี้แจง และทำงานในเชิงรุก

“ยอมรับที่สมาชิกบอกว่า มีการสื่อสารผิดพลาด แต่ในมุมที่สื่อสารผิดพลาดก็มีข้อดีในหลายๆข้อ ขอบคุณที่ห่วงใย กระทรวงอุตสาหกรรมจะพยายามใช้ศัพท์ที่ทุกคนเข้าใจตรงกันให้มากขึ้น จะหลีกเลี่ยงใช้ศัพท์เทคนิคที่เข้าใจไม่ตรงกัน ขอน้อมรับนำไปแก้ไข และขอยืนยันว่าเรื่องแร่ลิเทียมเป็นโอกาสของประเทศ”รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า