Skip to content
Home » อนุชา นาคาศัย ชี้แจงมีหลายมาตรการช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ

อนุชา นาคาศัย ชี้แจงมีหลายมาตรการช่วยเกษตรกรทั่วประเทศ

อนุชา นาคาศัย รมช.เกษตรฯ ชี้แจงกลางสภาฯรัฐบาลมีหลายมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ปลูกพืชผลไม้ทั่วประเทศไม่ได้ช่วยชนิดใดชนิดหนึ่ง เป้าหมายเพื่อเพิ่มรายได้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน

นายอนุชา นาคาศัย รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ตอบกระทู้ถามของนายพงษ์มนู ทองหนัก สส.พิษณุโลก เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 11 มกราคม ถึงนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในการพยุงพืชผลทางการเกษตรที่มีราคาตกต่ำว่า ได้รับมอบหมายจาก ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับบัญชาจากนายกรัฐมนตรีมาตอบผู้แทนของนายพงษ์มนู ทองหนัก สส.พิษณุโลก เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า พี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ขอประเทศยังไม่หลุดพ้นกับความยากจน และยังไม่หลุดพ้นกับดักของความลำบากเป็นเช่นนี้มาทุกยุคทุกสมัย แม้หลายรัฐบาลจะมีหลายมาตรการมาช่วยเหลือก็ยังหลุดพ้น

นายอนุชา ชี้แจงว่า มาตรการในการดูแลเกษตรกรจะขึ้นอยู่กับความสอดคล้องของสถานการณ์ขณะนั้น ราคาผลผลิตตกต่ำรัฐบาลจะดูเป็นรายตัว ขณะนี้ข้าวยังไม่มีปัญหาในเรื่องของราคา ที่ผ่านมาจะมีนโยบายพยุงราคา การแทรกแซง หรือลดปริมาณการเพาะปลูกเพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เช่นเดียวกับยางพาราที่ผ่านมาก็มีมาตรการทำให้ราคายางในประเทศมีราคาสูงขึ้น มีการปราบปรามผู้ที่ลักลอบนำยางพาราเข้ามาในประเทศทำให้ราคายางในประเทศขึ้นมาแต่ยังไม่พอใจกระทรวงเกษตรฯยังต้องดำเนินการต้อไป

รมช.เกษตรฯ กล่าวว่า สำหรับพืชผลอื่นๆ ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลเพิ่งเข้ามาดำเนินการได้มีมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวเปลือกปีการผลิต 2566-2567 จำนวน 4 โครงการ ได้มีการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อเป็นการลดต้นทุนปลูกข้าวโดย ธกส.ได้ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท ในปัจจุบัน รวมถึงช่วยโรงสีให้กู้ในดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้ชลอการขายข้าว

สำหรับ มันสำปะหลังมีมาตรการรักษาเสถียรภาพของราคามันสำปะหลังปี 2566-2567 จำนวน 4 โครงการ เช่น โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการสต๊อกมันสำปะหลัง โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยสถาบันเกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลังปี 2566-2567

นอกจากนั้น ธกส.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนในการพัฒนาช่วยเหลือค่าครองชีพให้เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย จากความไม่มีเสถียรภาพด้านราคา เพื่อให้เกษตรกรมีเงินเพียงพอในการเลี้ยงชีพ มีโครงการพัฒนาศักยภาพผลิตและการแปรรูปเพื่อให้สถาบันเกษตรกรผู้ประกอบการแปรรูปรับซื้อยาง ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนเพื่อขอใบรับรองมาตรฐานตามกฎหมายอียู

รมช.เกษตรฯกล่าวว่า มาตรการระยะปานกลางได้เพิ่มการใช้ยางพาราภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการส่งออกเพียงอย่างเดียว การแปรรูปยางพาราที่เหมาะกับพื้นที่และส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางปรับเปลี่ยนการผลิตจากยางพาราชั้นต้นเป็นการแปรรูปชั้นกลาง การสร้างความยั่งยืนในอาชีพเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่หลากหลายและลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากการปลูกยางเพียงอย่างเดียว รวมถึงพัฒนาเครื่องมือการขายคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตในสวนยาง และสร้างรายได้ให้กับพี่น้องสวนยางอีก หนึ่ง การจัดหาตลาดใหม่เพิ่มมากขึ้น การจัดทำใบรับรองมาตรฐานยางพาราตามมาตรฐานเอฟเอสซีพีอีเอฟ และกำหนดคุณภาพมาตรฐานของยางแปรรูปขั้นต้นให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการอุตสาหกรมแปรรูป

ขณะที่ มาตรการระยะยาว ได้แก่ การวิจัยและส่งเสริมการลงทุนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารามูลค่าสูง สร้างระบบตลาดซื้อขายยางพาราของประเทศไทยที่ใช้ในการอ้างอิงกับประเทศอื่นๆ มาตรการด้านการตลาดและความร่วมมือระหว่างประเทศ ส่วนการช่วยเหลือน้ำมันปาล์มก็จะมีมาตราการที่คล้ายๆ กันกับตัวพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น อย่างไรก็ตามวิถีชีวิตของพี่น้องเกษตรกรซึ่งทำเพาะปลูกแล้วไม่เคยหลุดพ้นจากความยากจน กระทรวงเกษตรฯก็มีวิธีคิดในโลกยุคใหม่เช่น แบ่งพื้นที่ในการจากการทำสวนทำไร่มาทำปศุสัตว์ที่มีมูลค่าสูง