Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
รมช.อนุชา ดันชาวนาปรับเปลี่ยนทำการการเกษตรแบบผสมผสาน - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » รมช.อนุชา ดันชาวนาปรับเปลี่ยนทำการการเกษตรแบบผสมผสาน

รมช.อนุชา ดันชาวนาปรับเปลี่ยนทำการการเกษตรแบบผสมผสาน

รมช.อนุชา ดันชาวนายุคใหม่ ปรับเปลี่ยนทำการการเกษตรแบบผสมผสาน เน้นปลูกข้าวพันธุ์ดีเพิ่มมูลค่า นำพาชาวนาร่ำรวยหลุดพ้นจากความยากจน

บ้านสามัคคี ตำบลปะโค อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดงานรณรงค์การใช้เมล็ดพันธุ์ดีและลดต้นทุนการผลิต ภายใต้โครงการส่งเสริมศักยภาพการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของศูนย์ข้าวชุมชน โดยมี นายสมบัติ อำนาคะ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวอนงค์นาถ จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรจากสมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กลุ่มศูนย์ข้าวชุมชน เข้าร่วม

นายอนุชา กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตข้าวที่สำคัญของโลก มีพื้นที่เพาะปลูกข้าวประมาณ 59 ล้านไร่ จังหวัดอุดรธานีมีพื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวประมาณ 1,952,600 ไร่ โดยจังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ผลิตข้าวขนาดใหญ่ แต่ปัจจุบันมีการปลูกข้าวด้วยวิธีหว่านมากขึ้น เมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรเก็บไว้ใช้ จึงมีคุณภาพด้อยลงและกระทบต่อคุณภาพข้าวที่เกษตรกรผลิตลดลงไปด้วย ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น

ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตสูง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องส่งเสริมให้มีการจัดตั้งเป็นศูนย์ข้าวชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการผลิตข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี โดยเน้นการลดต้นทุนการผลิตข้าว

นายอนุชา กล่าวต่อว่า การจัดงานรณรงค์การใช้เมล็ดพันธุ์ดีและลดต้นทุนการผลิตในครั้งนี้ เป็นมาตรการที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือเกษตรกรในปัจจุบันที่ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่อไร่และค่าตอบแทนต่ำ ให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น

“ชาวนาไทยถูกยกย่องให้เป็นกระดูกสันหลังของชาติ ซึ่งความมุ่งหวังของผม คืออยากเห็นพี่น้องเกษตรกรทุกคนมีรายได้ มีโอกาสจับเงินแสนเงินล้าน และลูกหลานเกษตรกรไทยต้องมีอนาคตที่ดี กลับมาทำเกษตรที่บ้านเกิด เพื่อสานต่ออาชีพ ถึงเวลาแล้วที่กรมการข้าว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการหาแนวทางในการปรับเปลี่ยนการทำนาให้ประสบความสำเร็จ สร้างรายได้ที่มั่นคง ต้องคิดใหม่ ทำใหม่ เพราะประเทศไทยเราเป็นเมืองเกษตรกรรม แต่จะทำอย่างไรให้อาชีพเกษตรนั้นเข้มแข็ง“รมช.อนุชา กล่าว

นายอนุชา กล่าวอีกว่า จากการทดลองให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่การเพาะปลูกข้าวมาเลี้ยงวัว โดยนำร่องในพื้นที่ จ.ชัยนาท จำนวน 300 ครัวเรือน พบว่า ระยะเวลา 3 ปี เกษตรกรสามารถคืนทุนและมีรายได้เพิ่มขึ้น นับว่าประสบความสำเร็จและเป็นนโยบายหลักที่ผมจะเดินหน้าขับเคลื่อนต่อไป เพื่อมุ่งหวังให้พี่น้องเกษตรกรไทยได้หลุดพ้นจากความยากจนได้สำเร็จ และต้องการเห็นสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นบนแผ่นไทย

ทั้งนี้ อำเภอกุดจับถือเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและข้าวคุณภาพดี เป็นแบบอย่างในการลดต้นทุนโดยใช้เครื่องจักรกลการเกษตร จึงจำเป็นต้องหาแนวทางเพื่อนำมาปฏิบัติในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของพี่น้องเกษตรกรจังหวัดอุดรธานี ให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เกิดความมั่นคงในอาชีพ เช่น การทำปศุสัตว์ โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้ ภาครัฐจะเป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพข้าวและเมล็ดพันธุ์ข้าว รวมถึงสนับสนุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตให้มีคุณภาพแก่เกษตรกร ส่วนพี่น้องเกษตรกรเองจะต้องนำความรู้เทคโนโลยีที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการผลิตข้าวของตนเองให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดเช่นกัน

สำหรับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี กรมการข้าว มีเป้าหมายการผลิตในฤดูฝนปี 2566 จำนวน 4,100 ตัน เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ผลิตประกอบด้วย ข้าวเจ้าพันธุ์ กข15 จำนวน 800 ตัน ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 1,100 ตัน และข้าวเหนียว กข6 จำนวน 2,200 ตัน เกษตรกรที่ทำนาในอำเภอกุดจับบางส่วนทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวให้กับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวอุดรธานี จำนวน 2,816 ตัน คิดเป็นรายได้ประมาณ 56,320,000 บาท

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า