Skip to content
Home » “ดร.ปรเมษฐ์ จินา” หนุน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

“ดร.ปรเมษฐ์ จินา” หนุน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

“ดร.ปรเมษฐ์ จินา” สส.รวมไทยสร้างชาติ หนุน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ…ฉบับ ครม. ที่มุ่งเน้น ให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ มีสถานะบุคคลได้สิทธิ์เท่าเทียมกับคนไทย ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก เพราะว่าเราคือเผ่าไทยด้วยกัน

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ..ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) และร่างพ.ร.บ.ในลักษณะเดียวกันที่เสนอโดยพรรคการเมืองและประชาชนอีก 3 ฉบับ

ดร.ปรเมษฐ์ จินา สส.สุราษฎร์ธานี เขต 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายสนับสนุนร่างของครม.ว่า ตนได้ประชุมร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พบว่า ที่ไปที่มาของคำว่า ชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง อาจจะมีการทับซ้อนกันเล็กน้อย เนื่องจากว่ากระทรวงวัฒนธรรมส่งตัวแทนไปนั่งประชุมที่องค์การสหประชาชาติ แจ้งว่า ประเทศไทยไม่มีชนเผ่าพื้นเมือง โดยเขาให้คำอ่านนิยามว่า ในส่วนของชนเผ่าพื้นเมือง เช่น อินเดียแดง ต่างประเทศเข้ามาขับไล่คนที่อยู่เดิมให้ออกจากพื้นที่แล้วก็ยึดครอง

“แต่ของประเทศไทยไม่ใช่เช่นนั้น ของเราเรียกว่ากลุ่มชาติพันธุ์ เนื่องจากเป็นความหลากหลายความสวยงามเหมือนดอกไม้ ที่เราอาศัยอยู่ร่วมกัน”ดร.ปรเมษฐ์ กล่าว

ทั้งนี้ กลุ่มชาติพันธุ์ในไทยจะแบ่งพื้นที่ชาวเขา ชาวป่า ชาวนา ชาวเล หรือชาวทะเล ในส่วนของพื้นที่เขา มีกระเหรี่ยง ม้ง ข่า ถ้าเป็นพื้นที่ราบจะเป็นไทดำ ไทลื้อ มีชาวภูไท กระหร่าง ในส่วนของชาวป่าเรียก มานิ ซาไก หรือมาลี ขณะที่ชาวเล เราจะเคยได้ยินช่วงที่เกิดสึนามิว่ามีชาวมอร์แกนเป็นส่วนหนึ่งของชาวเล นอกจากนี้ยังมีชาวอูรักลาโว้ยเหล่านี้ คือความสวยงามตามธรรมชาติของแต่ละชาติพันธุ์

ดร.ปรเมษฐ์ กล่าวว่า ถ้าถามหัวใจหลักที่กลุ่มชาติพันธุ์ต้องการ ตนได้เข้าไปสัมผัสไปศึกษาดูงานหลายภาค พบว่าเขาต้องการความเป็นสถานะบุคคล เขาอยากจะได้บัตรประชาชนเหมือนกับคนไทยทั่วไป พอมีสถานะบุคคลแล้ว จะได้สิทธิต่างๆ ตามนโยบายของรัฐบาล มีความเสมอภาคมีความเท่าเทียม

เนื่องจากบางคนที่สถานะก้ำกึ่งไม่รู้ว่าจะเป็นคนไทยตกสำรวจ หรือว่ากลุ่มชาติพันธุ์พวกเขายังมาหาหน่วยราชการขอพิสูจน์ดีเอ็นเอ แม้จะใช้งบประมาณเกือบหมื่นบาทในการพิสูจน์ในแต่ละครั้ง เพื่อหาเครือญาติที่จะเชื่อมโยง เพราะเขาอยากได้บัตรประชาชน จะได้มีสถานะบุคคล ไม่เลื่อนลอย มีตัวตนในแผ่นดินนี้

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีสถานะบุคคลตรงแล้ว สิ่งที่ตามมาคือ ปัจจัย 4 ได้สิทธิ์ในที่อยู่อาศัย สิทธิ์ในการทำกิน การรักษาพยาบาล การเข้าถึงยา ประเทศไทยเราขึ้นชื่อในระบบสาธารณสุขไม่แพ้ชาติใดในโลก คนกลุ่มนี้ จึงอยากได้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลเหมือนกับคนทั่วไป การศึกษาเล่าเรียนอยากให้ลูกได้สิทธิ์เข้าไปเรียน เรียนจบแล้วต้องมีหลักฐานการันตีรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ เรียนจบแล้วก็ต้องไปประกอบอาชีพ เขาอยากจะเป็นแพทย์ อยากจะเป็นพยาบาล อยากจะเป็นครูกลับไปเพื่อพัฒนาในพื้นที่กลุ่มชาติพันธุ์ของเขา ทั้งครูคืนถิ่น พยาบาลคืนถิ่น หมอชนบท สิ่งเหล่านี้เป็นเป็นหัวใจหลักในความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ สิ่งเหล่านี้ตนได้รับทราบจากการไปทัศนศึกษาดูงาน

ดร.ปรเมษฐ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมีพ.ร.บ.ฉบับนี้เพราะปัจจุบันมีเรื่องของมายาคติ มีเรื่องอคติ มีเรื่องของมุมมองไม่ว่าจะเป็นชนชายขอบ การปลูกฝิ่น การค้ายาเสพติด การทำไร่เลื่อนลอย บางกลุ่มบางคนอาจจะมองภาพแบบนั้น แต่ตนมองว่าเราจะลบภาพตรงนั้นออกเพื่อจะกลับมาพัฒนาทั้งการส่งเสริม การให้ความสำคัญกับวัฒนธรรม จารีตประเพณีของพวกเขา และสนับสนุนให้พวกเขาได้จัดกิจกรรมที่เป็นวันสำคัญเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก เราต้องการอยู่ร่วมกันโดยไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกไม่แบ่งกลุ่มชาติพันธุ์เพราะว่าเราคือเผ่าไทยด้วยกัน

“ แต่สำคัญที่สุดผมกังวลเรื่อง ความมั่นคง ถ้ารวมตัวกันแล้วเป็นเขต รัฐเข้าถึงไม่ได้ ถือ 2 สัญชาติแล้วเป็นภัยต่อความมั่นคง ก็ต้องมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง เพื่ออุดช่องว่าง ผมขอสนับสนุนร่างพ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ…ที่เสนอโดยครม.”ดร.ปรเมษฐ์กล่าว

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า