Skip to content
Home » กมธ.พลังงาน ถก “แนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ”

กมธ.พลังงาน ถก “แนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ”

กมธ.พลังงาน สภาฯ เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องให้ข้อมูล “แนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ”ยันสถานีก๊าซแอลเอ็นจีที่มีเพียงพอกับความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในประเทศ

น.ส.วชิราภรณ์ กาญจนะ สส.สุราษฎร์ธานี เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า กมธ.ได้ประชุมเพื่อพิจารณาเรื่อง “แนวทางการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ” โดยเชิญ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน และผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เข้ามาให้ข้อมูล

น.ส.วชิราภรณ์ กล่าวว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นก๊าซ โดยในปัจจุบันมี การขนส่งผ่านทางท่อทั้งในทะเลและบนบกไปยังจุดที่ต้องการใช้งาน เช่น โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง โรงแยกก๊าซ เป็นต้น โดยแหล่งก๊าซธรรมชาติอาจจะมาจากหลายแหล่ง เช่น ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ก๊าซแอลเอ็นจีจากการนำเข้า และก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพม่า สำหรับท่อส่งก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยท่อในการรับก๊าซจากจุดซื้อขาย และท่อในการถึงจุดจ่ายก๊าซ หลายเส้นรวมกันจึงเรียกว่า ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ทั้งนี้ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่กำกับดูแลการบริหารจัดการระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่ให้จัดตั้ง Transmission System Operator (TSO) เป็นนิติบุคคล มีหน้าที่ในการบริหารจัดการและควบุมการส่งก๊าซธรรมชาติ บริหารจัดการและรักษาสมดุลของโครงข่ายระบบท่อขนส่งก๊าซธรรมชาติ และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป

สำหรับ นโยบายการเปิดเสรีก๊าซธรรมชาติ ในปี พ.ศ.2560 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ จากเดิมที่มี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำเข้ารายเดียว โดยเพิ่มให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้รับใบอนุญาตทดลองนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวแบบ Spot เป็นโครงการนำร่อง ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้อนุญาตให้มีบริษัทเอกชนได้รับใบอนุญาตนำเข้าก๊าซธรรมชาติทั้งสิ้น จำนวน 8 ราย โดยผู้ขออนุญาตินำเข้าต้องมีความต้องการนำเข้าเพื่อใช้งานเองก่อน และปฏิบัติตามระเบียบที่ กกพ. กำหนด

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวพบว่า มีเพียง 3 ราย ที่มีการทดลองนำเข้าจริงและพบว่า การดำเนินการดังกล่าว เกิดปัญหาการแข่งขันด้านราคาระหว่างผู้นำเข้ารายเก่าที่อยู่ใน Pool Gas กับผู้นำเข้ารายใหม่ที่อยู่นอก Pool Gas ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการคิดราคาโดยเฉพาะในช่วงที่ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2566 แนวทางในการบริหารการจัดหาแอลเอ็นจีระยะสั้นจะต้องมีการบริหารการนำเข้าของผู้นำเข้าในราคาและระยะเวลาที่ส่งมอบอย่างเหมาะสม และการบริหารการจัดหาแอลเอ็นจีระยะยาวจะต้องมีการบริหารปริมาณและระยะเวลาส่งมอบให้เหมาะสมกับปริมาณการผลิตไฟฟ้า

ประธานกมธ.พลังงาน กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายของการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี และสถานีแอลเอ็นจีต้องรอความชัดเจนตามการปรังปรุงเป้าหมายแผน Gas Plant 2023 แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณการใช้แอลเอ็นจีที่มีน่าจะเพียงพอกับความต้องการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาใช้งานในประเทศได้

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า