“อนุชา บูรพชัยศรี” สส.บัญชีรายชื่อ รทสช.อภิปรายหนุน พรบ.ยกเลิกความผิดอาญา กรณีจ่ายเช็คเด้ง ระบุเป็นการกำหนดโทษทางอาญาที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากล และกระทบกับเสรีภาพมากเกินไป
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ที่รัฐสภา นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติอภิปรายที่จะสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. …. ซึ่งเสนอโดยคณะรัฐมนตรี โดยระบุว่า กฎหมายดังกล่าวใช้มาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว ซึ่งตามที่ทาง ครม.มีมติเห็นชอบในร่าง พรบ.ยกเลิกเกี่ยวกับเรื่องของความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คนี้ต้องบอกว่า ที่ผ่านมาหากมีการใช้เช็คและไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้หรือที่เรียกว่าเช็คเด้งผู้สั่งจ่ายจะมีโทษอาญาติดคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นายอนุชากล่าวต่อว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าเช็คเป็นตราสารอย่างหนึ่ง ที่เป็นข้อสัญญาระหว่างบุคคลในการกู้ยืมเงินต่างๆ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาการกู้เงินหรือการเป็นหนี้ทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งไม่ได้มีการกำหนดโทษอาญาใดๆจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ที่ได้รับเช็คว่าได้รับเงินอย่างแน่นอน และเพื่อที่จะส่งเสริมการใช้เช็คในการทำธุรกรรม เนื่องจากว่าในขณะนั้นช่องการช่องทางการทำธุรกรรมเกี่ยวกับเรื่องของการชำระเงินอย่างไม่มีทางเลือกมากนักแล้ว ต้องส่งเสริมให้มีการใช้เช็คเพื่อที่จะส่งเสริมการหมุนเวียนของเศรษฐกิจ และต่อมาได้มีการแก้ไขรายละเอียดข้อกฎหมายจนกระทั่งมาเป็น พรบ.ในปี 2534 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน และในปัจจุบันโลกมีการเปลี่ยนแปลง ปัจจุบันจากข้อมูลพบว่ามีการใช้เช็คลดลงเหลือแค่ประมาณแค่ 41 ล้านฉบับ เพราะมีวิธีการชำระเงินอื่นๆ
ทั้งนี้เห็นว่า พรบ.ดังกล่าวทำให้เกิดปัญหา เรื่องแรกคือผู้ออกเช็คอาจจะต้องรับผิดทางอาญาแม้จะไม่ได้มีเจตนาในเรื่องของการที่จะกระทำทุจริตแต่อย่างใดอีกส่วน หนึ่งคือปัญหาที่เกี่ยวกับการกำหนดโทษทางอาญาที่ไม่สอดคล้องกับหลักสากล ซึ่งกรณีเช็คเด้งนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เพราะผู้ค้าขายจะทราบว่าการค้าขายโดยสุจริต สามารถที่จะเกิดปัญหาในเรื่องของการค้าได้ โดยไม่ได้มีเรื่องของการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นในเรื่องของธุรกิจที่กำลังมีปัญหาในเรื่องของกระแสเงินสดซึ่งจะต้องได้รับการแก้ไข
ต่อจากนี้ ตามบทบัญญัติมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในปีพศ 2560 ว่ารัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็นและพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรงจริงๆเท่านั้น แล้วเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกติการะหว่างประเทศ ด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมืองที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาไม่ได้ เป็นที่มาในเรื่องของที่เกี่ยวข้องกับทางด้านกฎหมายที่จะนำเข้าสภาในวันนี้เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกกฎหมายว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คโดยเร่งด่วน เนื่องจากเป็นการใช้โทษอาญาที่ไม่เหมาะสมกระทบกับเสรีภาพมากเกินไป โดยเมื่อกฎหมายยกเลิก พรบ.มีผลบังคับใช้แล้วการจ่ายเช็คเด้งจะไม่เป็นความผิดทางอาญาอีกต่อไป ผู้ที่ต้องโทษจำคุกในคดีเช็คจะพ้นโทษทันทีโดยไม่ต้องรอให้ศาลออกหมายปล่อย ส่วนลูกหนี้กับเจ้าหนี้ที่ได้ทำข้อตกลงผ่อนชำระหนี้ต่อศาลไว้แล้วให้ถือว่าเป็นข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและใช้ได้ต่อไปและหากศาลได้กำหนดพิจารณาคดี อยู่ให้จำหน่ายคดีส่วนของอาญาแต่พิจารณาเฉพาะในส่วนของคดีแพ่งต่อไปได้ ตนจึงมีความเห็นสนับสนุนการยกเลิกร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ 2534 ดังกล่าว