Skip to content
Home » “วิทยา แก้วภราดัย” เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญฯ แก้ปัญหาแรงงาน

“วิทยา แก้วภราดัย” เสนอตั้ง กมธ.วิสามัญฯ แก้ปัญหาแรงงาน

วิทยา แก้วภราดัย” สส.รวมไทยสร้างชาติ เสนอญัตติตั้งกมธ.วิสามัญศึกษาแก้ปัญหาการจ้างงานและเพิ่มทักษะแรงงาน เตรียมความพร้อมป้อนสู่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม หวั่นนายจ้างนำเครื่องจักรกลมาแทนที่จะกลายเป็นปัญหาระยะยาว

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ที่รัฐสภา นายวิทยา แก้วภราดัย สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรเสนอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาการจ้างงานและเพิ่มทักษะแรงงาน โดยกล่าวว่า เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาอัตราการเกิดที่ต่ำในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จากข้อมูลพบว่าปัจจุบันมีผู้อยู่ภาคการใช้แรงงานที่ 40.3 ล้านคน แต่แม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะมีคนตกงานอยู่ในอัตราที่ต่ำมากคือ 1.1% แต่กลับพบว่ามีแรงงานบางประเภทที่ซุกซ่อนอยู่และไม่ได้รับการพัฒนาทักษะให้ก้าวหน้าขึ้นไป โดยหากมองง่ายๆ คือมี 2 เรื่อง เรื่องที่หนึ่งก็คือแรงงานอยู่ในอัตราที่ต่ำ แต่ปัญหาคือยังมีปัญหาที่คนไทยเข้ามาสู่ในระบบแรงงานได้ต่ำ มีประชาชนส่วนหนึ่งไม่สามารถหางานในทักษะที่ตัวเองทำได้จนต้องไปทำงานต่างประเทศดังปรากฏที่เป็นข่าวอยู่แล้ว นั่นคือตำแหน่งงานกับทักษะของผู้ต้องการทำงานไม่ตรงกัน จนผู้ประกอบการเริ่มใช้เทคโนโลยีและระบบต่างๆเข้ามาทดแทนแรงงาน

นายวิทยา กล่าวต่อว่า สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือพื้นที่แรงงานในภาคตะวันออก หรือพื้นที่EEC ที่มีค่าแรงสูงเพราะมีโรงงานเปิดขึ้นมากมาย ได้แก่ชลบุรี ระยอง และอีกหนึ่งจังหวัดคือภูเก็ต ที่เป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถที่จะผลิตแรงงานมาป้อนได้ทัน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ปัญหาคือเพิ่มทักษะให้กับแรงงานที่มีอยู่ปัจจุบันเพื่อเพิ่มเข้าไปสู่งานเพื่อผู้ประกอบการจะไม่นำเครื่องจักรกลเข้ามาทดแทน แนวทางกาแก้ปัญหานี้จำเป็นจะต้องเป็นความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวง มีการเปิดโรงเรียนสำหรับเพิ่มทักษะคนที่จะเป็นแรงงาน รัฐบาลเองจะต้องลงทุน อาจจะมีกองทุนส่งเสริมสำหรับการศึกษาเพื่อสร้างทักษะในแต่ละสายให้เกิดขึ้นมาใหม่ และที่ผ่านมามีการพูดถึงการพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ดซึ่งหมายถึงจะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่ นั้นหมายถึงความต้องการแรงงานที่ทักษะในแต่ละสายงานเพิ่มสูงขึ้นหากไม่เตรียมการตั้งแต่ตอนนี้จะเกิดปัญหาในระยะยาวอย่างแน่นอน

สำหรับ ปัญหาเรื่องที่สองคือการจ้างงานที่เป็นธรรม โดยหลังจากที่รายงานประเทศไทยอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงาน ทำให้วันนี้มีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 3 ล้านคน มีทั้งแรงงานที่ถูกกฎหมาย มีทั้งแรงงานที่รัฐไม่รู้ เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยโดยเฉพาะงานบางประเภทที่มีทักษะเฉพาะและสามารถทำงานได้ทันที แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือปัญหาของกระบวนการที่จะทำให้คนเหล่านั้นได้ทำงานกันอย่างถูกต้อง คนต่างด้าว คนต่างชาติรอบเพื่อนบ้านที่อพยพเข้ามาทำงานในประเทศเท่า 3 – 4 ล้านคน ต้องประสบปัญหาในเรื่องกระบวนการ และขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก

ทั้งนี้ หากไม่สามารถพัฒนาการรับรองแรงงานต่างชาติได้ก็จะทำให้เกิดปัญหาแรงงานเถื่อน เกิดกระบวนการในการรีดไถแรงงานเถื่อน เป็นขบวนการซับซ้อน เป็นการขบวนการทุจริตคอร์รัปชัน ดังนั้นจึงจำเปป็นต้องศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังว่า แรงงานที่เข้ามาจากต่างประเทศ หรือแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย จะใช้กระทรวงแรงงานในการรับมือกับการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องควบคุมอัตรากำลังได้และก็สามารถเคลื่อนไหวอัตรากำลังแรงงานเหล่านี้ตามสภาพความเป็นจริงของฤดูกาล

สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า แรงงานต่างชาติไม่ได้มาทำอุตสาหกรรมอย่างเดียว แต่อยู่ในสวนอยู่ในภาคการเกษตรจำนวนมาก ภาคเกษตรบางประเภทต้องมีการเคลื่อนตามฤดูกาล เช่นที่ ระยอง จันทบุรี ในการเก็บทุเรียนเมื่อสิ้นฤดูกาลทางภาคตะวันออกก็จะเคลื่อนลงไปที่ภาคใต้เพื่อเก็บเก็บทุเรียนออกต่างประเทศ แก้ปัญหาการขยับแรงงานจากภาคตะวันออกไปภาคใต้เป็นเรื่องยุ่ง และสูญเสียค่าใช้จ่ายเบี้ยใบ้ราย ทางเยอะมาก ตนจึงคิดว่าจำเป็นต้องทำสองเรื่องพร้อมกัน คือพัฒนาฝีมือแรงงานคนไทยเตรียมกับการพัฒนาประเทศรองรับ EEC และเซาท์เทิร์นซีบอร์ด ถ้ารัฐไม่เตรียมการภาคเอกชนก็จะเตรียมการโดยวิธีการชดเชยแรงงานเหล่านั้นด้วยเครื่องจักรกลและมนุษย์หุ่นยนต์เข้ามาแทน แต่ถ้ามีการเตรียมการก็จะสามารถทำให้ลูกหลานของเราในภาคอาชีวศึกษาเข้าไปรองรับ หรือภาคประชาชนผู้ที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา ก็สามาารถเข้าเรียนในหลักสูตรที่จะสร้างขึ้นมาและส่งไปเตรียมพร้อมรองรับกับงานที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้น

“ผมจึงคิดว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องรับการศึกษาจริงจัง แล้วโดยเฉพาะเรื่องแรงงานต่างด้าวก็ต้องอำนวยความสะดวกจริงจังในการที่จะรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาในทำงานในประเทศไทยโดยไม่ต้องเสียค่าเสียหายเบี้ยบ้ายรายทางมาก จนทำให้เกิดแรงงานเถื่อนขึ้นมา ทั้ง สองเรื่องถ้าเรามีโอกาสตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา ผมคิดว่า พวกเราในสภาผู้แทนฯที่มีประสบการณ์ที่สามารถระดมนักวิชาการเข้ามาและช่วยกันหาแนวทางออกได้ สิ่งแรกที่กรรมาธิการแรงงานควรจะทำคือพิจารณาสองเรื่องนี้ หนึ่งคือพัฒนาฝีมือแรงงานไทยรับมือกับการพัฒนาประเทศ สองฝึกแรงงานไทยให้เตรียมพร้อมให้ประเทศไทยให้บรรลุผลทางเศรษฐกิจได้” นายวิทยากล่าว

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า