Skip to content
Home » ดร.ปรเมษฐ์ จินา เสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินปรับรูปแบบการทำงานใหม่

ดร.ปรเมษฐ์ จินา เสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินปรับรูปแบบการทำงานใหม่

ดร.ปรเมษฐ์ จินา สส.สุราษฎร์ธานี รวมไทยสร้างชาติ เสนอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินปรับรูปแบบการทำงานใหม่เพื่อลดปัญหาเรื่องร้องเรียนของประชาชนในแต่ละปีค้างคาเป็นดินพอกหางหมู

เมื่อวันที่ 28 กันยายน ดร.ปรเมษฐ์ จินา สส.สุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในวาระรับทราบรายงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ว่า จากการศึกษารายงานของผู้ตรวจการแผ่นดินพบว่า มีเรื่องรับร้องเรียนถึง 2,565 เรื่อง เมื่อดูข้อมูลแล้วจะต้องมีการปรับรูปแบบในการทํางาน มีคํากล่าวที่ว่า ความยุติธรรมที่ล่าช้า ก็เปรียบเสมือนความอยุติธรรม ดังนั้นจําเป็นต้องทำให้เสร็จ เพราะมีเรื่องค้างคาอยู่จำนวนมาก จะเป็นทุกข์ของประชาชนข้ามปี จะมีวิธีการทําอย่างไร อาจจะต้องมีการถอดบทเรียนที่ผ่านมาว่าทําอย่างไร รวมถึงมีการจัดลําดับความสําคัญว่า จะดําเนินการอย่างไรในเชิงรุก ให้สามารถที่จะเคลียร์ได้ในแต่ละปี เหมือนที่ศาลที่มีผู้ไกล่เกลี่ย ควรมีจัดลำดับความสำคัญ ควรจะทํางานเชิงรุกแทนที่จะทำเชิงรับ

สำหรับ เรื่องร้องเรียนจากเส้นทางต่าง ๆ ตนเสนอว่า ก่อนที่จะมีการประชุมในสภาฯ ถ้ามีการรวบรวมแล้วประสานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร หรือเลขาธิการรัฐสภา พร้อมประสานข้อมูลไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ก็จะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง หรืออาจจะใช้การติดต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีศูนย์ดํารงธรรมของแต่ละจังหวัดที่เชื่อว่า ก่อนที่จะถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน หากสามารถจะเก็บข้อมูลตรงนั้น บูรณาการข้อมูลได้ก็สามารถลดข้อร้องเรียน หรือทำการไกล่เกลี่ยปัญหา ที่ยังค้างคาอยู่ให้หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้น เพื่อให้สามารถแก้ปัญหา เรื่องร้องเรียนได้มากขึ้น

ดร.ปรเมษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับ 5 ลำดับแรกของหน่วยงานที่มีเรื่องร้องเรียนมากที่สุดประกอบด้วย 1.สํานักงานตํารวจแห่งชาติ 2.กระทรวงมหาดไทย 3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4.กระทรวงคมนาคม และ 5.กระทรวงยุติธรรม โดยเห็นว่า ควรตั้งคณะทํางานเข้าไปดูเพื่อให้การร้องเรียนลดน้อยลง สำหรับจังหวัดที่มีเรื่องร้องเรียน 5 ลำดับแรก ได้แก่ 1.กรุงเทพมหานคร 1,300 กว่าเรื่อง 2. นนทบุรี 3. ชลบุรี 4.ร้อยเอ็ด 5.เชียงใหม่ เห็นว่านอกจากจะจัดทีมงานลงไปแก้ไขปัญหาในหน่วยงานแล้ว ขอให้ดูในรายจังหวัด เพื่อทำงานแบบบูรณาการ ดําเนินการให้เสร็จไปแต่ละปีเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเบื้องต้นที่ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รายงานสามารถที่จะแก้ปัญหาไปแล้วถึงกว่า 5 หมื่นเรื่อง จากที่ดูจากเอกสารพบว่า ประเด็นแรกคือเรื่องการบริหารจัดการที่ดิน คิดว่ามีรูปแบบแก้ไขปัญหาหลากหลาย และมีต้นแบบในการแก้ปัญหาอยู่แล้ว ถ้ามีปัญหาเดิมเกิดขึ้น และมีการร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินในปัญหาเดิม ก็สามารถจะแก้ไขได้เพราะมีมาตรฐานในการแก้ปัญหาอยู่แล้ว

ดร.ปรเมษฐ์ กล่าวว่า ประเด็นการค้างจ่ายค่าตอบแทนต่าง ๆของส่วนราชการ ไม่ว่าจะเป็นกู้ชีพกู้ภัยในเรื่องโควิด-19 เห็นว่ามีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นถ้าสามารถจะเข้าไปข้อมูลก็สามารถจะแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นมีเรื่อง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากสถานประกอบการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานแปรรูป โรงงานทำน้ำแข็ง หรือ โรงงานที่ผลิตแล้วมีสารปนเปื้อนไปกระทบกับสิ่งแวดล้อมก็เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นก็ขอให้เร่งแก้ปัญหา

นอกจากนั้น เรื่องของการเข้าถึงระบบบริการไฟฟ้า พบว่า มีหลายแห่งที่ไปสร้างเป็นหมู่บ้านแต่ไม่มีไฟฟ้าใช้ บางแห่งที่อยู่ไกลจากการขยายเขตของการไฟฟ้าก็ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าดํารงชีพตามวิถีชีวิตของตนเองได้ จึงอยาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในจังหวัดนั้นๆ เข้าไปดู ที่สำคัญคืออยากให้เน้นเรื่องการคิดหารูปแบบการทำงานใหม่ ๆเพื่อไม่ให้ ในแต่ละปีมีเรื่องค้างคาเป็นจำนวนมากเกินไป

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า