Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
“อนุชา บูรพชัยศรี” ชูกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์ - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » “อนุชา บูรพชัยศรี” ชูกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์

“อนุชา บูรพชัยศรี” ชูกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์

อนุชา บูรพชัยศรี” สส.รวมไทยสร้างชาติชูกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 5 คลัสเตอร์ ต่อยอดการลงทุนใน EEC มุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ในวาระการประชุมรับทราบรายงานประจำปี 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) โดยระบุว่า ตนอยากจะเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เชื่อมโยงมาจากเรื่องของยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 1 เรื่องความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนของอนาคตประเทศไทยในปี 2580

ต่อมาเป็นเรื่องของแผนระดับที่ 2 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งตอนนี้เป็นฉบับที่ 13 และในวันนี้ตนอยากจะชี้แจงให้เห็นถึงแนวคิดในการดำเนินงานของเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC) ที่มาจากแผนระดับที่ 1 ของยุทธศาสตร์ชาติ มาถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จนมาถึงแนวทางปฎิบัติที่จะทำอย่างไรให้เดินไปถึงเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าว

นายอนุชา กล่าวต่อว่า แนวคิดสำคัญของรัฐบาลที่ผ่านมาที่เกี่ยวข้องกับอีอีซี (EEC) เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ ชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา หรือ Eastern Economic Corridor และยังมีการพัฒนาไปอีก 7 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพื่อกิจการพิเศษ ได้แก่

EECh เป็นเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินคือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ ไปยัง อู่ตะเภา

สำหรับ EECd เป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนประเทศเป็น Digital Innovation Hub ของอาเซียน

EECmd : เขตส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ที่อยู่ที่พัทยา ซึ่งจะเป็นการยกระดับความมั่นคงด้านสุขภาพรองรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย

นอกจากนี้ยังมี EECi ซึ่ง I ย่อมาจาก Innovation เขตส่งเสริมนวัตกรรมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อยกระดับประเทศไทยสู่ “ผู้ส่งออกนวัตกรรม” ของโลก

ต่อไปคือ EECa หรือเขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก เพื่อให้ไทยเป็น “ศูนย์กลางการบิน (Aviation Hub)” และต่อยอดเชิงธุรกิจ รวมถึง“เขตประกอบการค้าเสรี (EECa Free Trade Zone)” สำหรับกิจกรรมการท่องเที่ยวและสันทนาการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ และพื้นที่เหมาะสมอยู่แล้ว ดังนั้นต้องคิดว่าเราจะต่อยอดธุรกิจนี้อย่างไร นี่คือสิ่งที่ต้องตอบโจทย์และเดินหน้าต่อไป

นายอนุชา อภิปรายอีกว่า ต่อไปเป็นเรื่องของ EECg หรือเขตส่งเสริมการแพทย์จีโนมิกส์ ในอนาคตจะต้องมีการลงทุนในอุตสาหกรรมการแพทย์ โดยจะต้องมีการส่งเสริมเทคโนโลยีชั้นสูงฝ

อีกทั้งเรื่องของเทคโนโลยี พาร์ค หรือ EEC Tech Park ที่จะส่งเสริมศูนย์นวัตกรรมดิจิทัล และ เทคโนโลยีชั้นสูงในพื้นที่อีอีซี (EEC)

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในระยะต่อไปคือการต่อยอดจากเดิมที่เคยมีการพูดถึง 5 อุตสาหกรรมเดิม (S – curve) ที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ, อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ โดยจะต้องพัฒนาต่อเนื่องกันไปอีก 7 อุตสาหกรรมใหม่ (New S-curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ, หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์, อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร, อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ, อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมพัฒนาคนและการศึกษา รวมทั้งสิ้นเป็น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศจากนี้ไป

ทั้งนี้ ในการผลักดันการลงทุน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเพื่อตอบโจทย์การลงทุน ในระยะต่อไป จึงได้มีแนวคิดการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ออกเป็น 5 คลัสเตอร์สำคัญ เพื่อพัฒนาและดึงดูดการลงทุนกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องประกอบด้วย กลุ่มแรกได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ ที่จะต้องต่อยอด เน้นการบริหารจัดการเพื่อยกระดับการให้บริการด้วยเทคโนโลยี ทั้งในเรื่องของ จีโนมิกส์ หรือการแพทย์ที่แม่นยำ

คลัสเตอร์ที่ 2 คือ อุตสาหกรรมดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ ที่จะต่อยอดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ หุ่นยนต์ โดยการนำ 5G เข้ามาเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆในอนาคตได้

ส่วนคลัสเตอร์ที่ 3 คือเรื่องของ EV และอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ที่ไม่ใช่แค่เพียงการเป็น OEM อย่างเดียว แต่ไทยจะต้องเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แบตเตอรี่ มอเตอร์ไฟฟ้า หรือ ส่วนประกอบ อื่นๆ ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีคลัสเตอร์ 4 คืออุตสาหกรรมเศรษฐกิจเกี่ยวข้องกับการบริการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตที่จะต้องเน้นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการบริการ, การบินและโลจิสติกส์, การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพก็เป็นอีกเทรนด์หนึ่งในปัจจุบัน รวมถึงอุตสาหกรรมการบริการ อื่นๆ และสุดท้ายที่ตอนนี้ ต้องกล่าวว่าประเทศไทยเราเป็นแชมป์เปี้ยนอยู่ก็คือ คลัสเตอร์ด้านอุตสาหกรรม BCG (Bio-Circula-Green) ที่ได้มีการประกาศไปในประชุมเอเปกไปแล้ว ว่าสิ่ง
ต่างๆ เหล่านี้ไทยเป็นผู้นำในด้านนี้ ซึ่งต่างประเทศเองก็ให้การยอมรับอยู่ในปัจจุบัน

“ฉะนั้นคลัสเตอร์ต่าง ๆ เหล่านี้เราควรต้องผลักดันให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้เรามีนายกรัฐมนตรี คนที่ 30 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมหวังว่า แนวคิดของการขับเคลื่อนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี (EEC) จะให้ก้าวสู่การเป็นต้นแบบการส่งเสริมเศรษฐกิจการลงทุนและการพัฒนาที่ยั่งยืน สามารถที่จะดำเนินการได้ต่อเนื่องต่อไปตามยุทธศาสตร์ชาติที่ได้วางแผนกันไว้แล้วเพื่อที่จะให้ทุกอย่างได้ดำเนินการต่อไปได้ หากดำเนินการตามแผน ในอนาคตเราไม่ได้มีแค่เฉพาะอีอีซี (EEC) แต่เราจะขยายไปภาคเหนือ เป็น เอ็นอีซี(NEC) เราจะขยายไปภาคใต้ เป็นเอสอีซี (SEC) รวมถึงภาคอื่น ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการพัฒนาครอบคลุมทั่วประเทศไทย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำต่อไปด้วย” นายอนุชากล่าว

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า