Skip to content
Home » “อนุชา บูรพชัยศรี” ย้ำรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์” ใช้นโยบายการคลังและงบประมาณได้เป็นอย่างดี

“อนุชา บูรพชัยศรี” ย้ำรัฐบาล “พลเอกประยุทธ์” ใช้นโยบายการคลังและงบประมาณได้เป็นอย่างดี

อนุชา บูรพชัยศรี” สส.รวมไทยสร้างชาติอภิปรายย้ำรัฐบาล“พลเอกประยุทธ์” ได้ใช้นโยบายการคลัง- งบประมาณ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างดี จนบางประเทศยังนำแนวทางของไทยไปเป็นโมเดลในการพัฒนาประเทศ
.
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม นายอนุชา บูรพชัยศรี สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) อภิปรายระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณารายงานการเงินแผ่นดิน โดยระบุว่า ตนอยากจะชี้แจงให้สมาชิกและประชาชนได้เห็นข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น ในเรื่องของการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ ในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ ดูจากปัจจุบันจะเห็นว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 9 เดือนแรก ของปีงบประมาณ 2566 คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 จนถึง มิถุนายน 2566 ยังเห็นแนวโน้ม หรือว่า เทรนด์ไปในทิศทางที่ดีและสูงกว่าประมาณการณ์ตามเอกสารงบประมาณ ถึง 7.5 เปอร์เซ็นต์ และสูงกว่ารายได้ในช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 5.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นข่าวดี
.
นายอนุชา อภิปรายด้วยว่า อีกสิ่งหนึ่งที่หลายคนตั้งข้อสังเกตการดำเนินนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน ภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตครี หากย้อนกลับไปดูรายได้จากรายงานการเงินแผ่นดินจะเห็นว่า ส่วนใหญ่มาจากกลุ่มรายได้ที่สัมพันธ์กับเศรษฐกิจสูง หมายความว่า เอสเคิฟต่าง ๆ เป้าหมายที่รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายมาเริ่มที่จะดีขึ้น กลุ่มรายได้ที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และรายได้ที่มาจากการค้าระหว่างประเทศมีการขยายขึ้นจากปีก่อน แต่การจัดเก็บตัวเลขยังต่ำกว่าก่อนเกิดวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่พบว่าเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นอยู่แล้วทั่วโลก
.
สำหรับ วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย และมีการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายเพื่อจะชำระหนี้ และภาระผูกพันธ์จากการดำเนินนโยบายในอดีต ฉะนั้นจะเห็นว่าในส่วนต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะต้องพูดถึงเรื่องของก่อนหน้านี้ ที่มีภาระผูกพันหนี้ต่างๆ รวมถึงรายจ่ายด้านสวัสดิการ ในเรื่องของบุคลากรของรัฐด้วย
.
นายอนุชา กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญคือเรื่องของเงินคงคลัง เท่าที่ได้อ่านในรายงานพบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนจากการเกินดุลเงินสด ทั้งนี้คือ ระดับเงินคงคลัง มีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง เมื่อสิ้นปีงบประมาณ 2562 หมายถึง 4 ปีที่ผ่านมา ระดับเงินคงคลังเพิ่มมากขึ้นสูงขึ้นมาเรื่อย ๆ แม้ว่าจะมีสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็ยังสามารถที่จะดำเนินการทำให้ระดับเงินคงคลังสูงขึ้น สะท้อนถึงสภาพคล่องการเบิกจ่ายงประมาณที่ยังคงอยู่ในระดับ ที่บริหารจัดการได้
.
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่มีสมาชิกพูดถึงเรื่องระดับหนี้สาธารณะ ดูที่สิ้นปีงบประมาณ 2565 จะเห็นว่าอยู่ที่ 60.4 เปอร์เซ็นต์ ต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินนโยบายการคลัง แบบขยายตัวในช่วงวิกฤตโควิด-19 แต่หากพูดถึงสัดส่วนหนี้สาธารณะ ต่อจีดีพีสิ้นเดือนมีนาคม 2566 มีปรับ ขึ้นมาเล็กน้อย อยู่ที่ 61.3 เปอร์เซ็นต์ ยังอยู่ในกรอบ ที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์
.
ขณะที่ สัดส่วนภาระหนี้ของรัฐบาล ต่อประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณกรอบที่ คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน 35 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฏว่า สัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงอยู่ที่ 30.91เปอร์เซ็นต์ ขณะที่สัดส่วน อื่น ๆ เช่น สัดส่วนหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ต่อหนี้ สาธารณะทั้งหมด จะเห็นว่ากรอบที่คณะกรรมการกำหนดไว้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขสัดส่วนหนี้ที่เกิดขึ้นจริงอยู่เพียง 1.63 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
.
ส.ส.รวมไทยสร้างชาติ กล่าวว่า อีกส่วนหนึ่งคือ สัดส่วนภาระหนี้ สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้ จากการส่งออกสินค้า และบริการกรอบที่คณะกรรมการกำหนดให้ไว้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ สัดส่วนที่เกิดขึ้นจริงมีอยู่เพียงแค่ 0.05 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นในภาวะปกติรัฐบาลได้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปใช้ในการลงทุนกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ ของเงินกู้เป็นการกู้เพื่อ ดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคมนาคม ขนส่ง พลังงาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ การศึกษา และที่อยู่อาศัย โดยเรื่องของหนี้ สาธารณะก็ยังอยู่ในส่วนที่รับได้ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมี ต้นทุนที่เหมาะสม และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อีกทั้ง 98 เปอร์เซ็นต์ เป็นหนี้เงินสกุลบาท จึงช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้
.
นายอนุชา กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ รัฐบาลก็ได้ชำระเงินเป็นหนี้ก่อนครบกำหนด ทำให้เรื่องของดอกเบี้ยต่าง ๆ และต้นทุน สามารถที่จะดำเนินการได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญในส่วน ฟิทช์ เรทติ้งส์ เป็นบริษัทที่จัดอันดับความน่าเชื่อถือ ทริป เบิ้ล บี พลัส( BBB+) ประมาณกลางเดือนกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมาเป็นเรทติ้งค่อนข้างดี ที่สำคัญมีการพูดถึงภาคการคลังสาธารณะ คาดการณ์ ว่า การขาดดุลการเงินการคลังของไทยจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการขาดดุลที่ลดลงสะท้อนถึงรายได้ที่เก็บภาษีได้มากขึ้น และการสิ้นสุดของมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ ระบาด ของ โควิด 19
.
นายอนุชา กล่าวย้ำว่า ภาคการเงินต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และ สถานการณ์น้ำมันที่คลี่คลายลงไปต่อเนื่อง จากนั้น ฟิทช์ เรทติ้งส์ ยังระบุว่า ปัจจัยที่สำคัญอาจจะมีการปรับเพิ่มอันดับ ความน่าเชื่อถือ ของประเทศได้ก็คือ การลดลงของสัดส่วนหนี้ ต่อภาครัฐบาลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจีดีพี ซึ่งเป็นส่วนที่ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ กล่าวถึง ฉะนั้นสรุปได้ว่า ที่ผ่านมารัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้นโยบาย การคลัง และ งบประมาณ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน และ ภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และเรื่องความขัดแย้งในภูมิรัฐศาสตร์ในโลกนี้ ขณะที่การก่อหนี้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ก็ยังเป็นหนี้เพื่อการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งบางประเทศตอนนี้ยังแนะนำแนวทางของประเทศ ไทยไปดำเนินการ เป็นโมเดลในการพัฒนาประเทศของตนเองอีกด้วย