Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
“วิทยา แก้วภารดัย” ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » “วิทยา แก้วภารดัย” ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน

“วิทยา แก้วภารดัย” ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน

วิทยา แก้วภารดัย” รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมระดมสมองแนวทางขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั่วประเทศแนะใช้ประสบการณ์จากชุมชนประสานความร่วมมือหน่วยงานรัฐรับมือภัยพิบัติใหญ่

ที่โรงแรมไมด้า แอร์พอร์ต ดอนเมือง นายวิทยา แก้วภารดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมเสวนาเรื่อง “โครงการเสริมพลังเครือข่าย ขยายความร่วมมือท้องถิ่นสู่การขับเคลื่อนนโยบายภัยพิบัติชุมชน” จัดโดยมูลนิธิชุมชนไทย ในการร่วมกันระดมสมองสรุปบทเรียนและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการจัดภัยพิบัติ

นายวิทยา กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติมาอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภัยพิบัติใหญ่ๆ หลายเหตุการณ์ในอดีตที่ทำให้เห็นได้ว่า ยังมีจุดที่ต้องแก้ไขหลายอย่างในการบริหารจัดการอย่างมีระบบ ซึ่งต้องแยกภัยพิบัติของประเทศไทยออกเป็น 2 ประเภทคือ กลุ่มของ ภัยพิบัติซ้ำซาก ที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง เกิดแล้วเกิดอีกหลายครั้ง ภัยพิบัติประเภทนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้มาแล้ว ทั้งบทเรียน และแนวทางการแก้ไข ในบางพื้นที่สามารถแก้ไขได้แล้วจากโครงการพระราชดำริต่างๆ เช่น ที่ จ.นครศรีธรรมราช แต่ในบางพื้นที่ที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ ควรใช้เครือข่ายในพื้นที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่มีอยู่แล้ว

ทั้งนี้จากการที่ดูร่างกฎหมายที่กำลังมีความพยายามในการแก้ไข ผลักดันอยู่ในขณะนี้ยังเห็นว่า อำนาจยังรวมศูนย์อยู่ที่ผู้ว่าฯ เหมือนเดิม ซึ่งหากเป็นพื้นที่ภัยพิบัติเล็กๆ ระดับจังหวัดอาจจะสามารถรับมือได้ แต่ถ้าเป็นภัยพิบัติขนาดใหญ่ เช่นกรณีของสึนามิ ที่ จ.ภูเก็ต,พังงา หรือกรณีดินถล่มที่ จ.นครศรีธรรมราช การใช้วิธีการรวมศูนย์ตามยกร่าง กฎหมายนี้อาจจะไม่สัมฤทธิ์ผล ดังนั้นจึงเห็นว่ากรมป้องกันภัยพิบัติพลเรือน ควรเป็นเจ้าภาพหลักที่ทำงานร่วมกับ อบจ. อบต. รวมทั้งเครือข่ายขนาดเล็กต่างๆ ในการเชื่อมโยงข้อมูล ข้อติดขัดต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา

“ผมคิดว่าปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นภัยพิบัติซ้ำซาก ที่ดูจากเครือข่ายที่ถูกสร้างขึ้นมาตอนนี้สามารถช่วยได้มาก โดยเฉพาะดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน,กรมอุตุนิยม หรือหน่วยงานหลักด้านภัยพิบัติอื่นๆ เพื่อบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นซ้ำซากเหล่านี้ได้” นายวิทยากล่าว

สำหรับการเสวนาดังกล่าว มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยนแนวคิด และประสบการณ์ เพื่อนำไปสู่การจัดทำนโยบาย และวางแผนการขับเคลื่อนร่วมกัน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน ภาคีเครือข่ายชุมชนจากทั่วประเทศ และตัวแทนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเข้าร่วมเสวนา

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า