Skip to content
Home » ‘ดัมพ์’ น่ากลัวกว่า ‘ทรัมป์’ ‘เอกนัฏ’ เปิด 5 งานเร่งด่วน เซฟอุตสาหกรรมไทยจากภาษีอเมริกา-อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ

‘ดัมพ์’ น่ากลัวกว่า ‘ทรัมป์’ ‘เอกนัฏ’ เปิด 5 งานเร่งด่วน เซฟอุตสาหกรรมไทยจากภาษีอเมริกา-อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ

วันที่ 15 กรกฎาคม 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ‘เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ (ขิง)’ ถึงประเด็นการขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศไทยของสหรัฐอเมริกา ว่า
.
“ดัมพ์” น่ากลัวกว่า “ทรัมป์”
.
ผมเชื่อมาตลอดว่าการจัดการอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ จะเป็นการแก้ปัญหา รับมือการขึ้นภาษีแบบ All Win และยั่งยืนครับ
.
กรณีภาษี 36% ที่สหรัฐกำลังจะประกาศบังคับใช้กับไทยในวันที่ 1 ส.ค. ได้สร้างความกังวลใจให้กับประเทศไทยไม่น้อย
.
สหรัฐเป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศไทย ที่ส่งออกสินค้าไปขายมากที่สุด มูลค่ากว่า 54,000 ล้าน USD ต่อปี
.
การเจรจาขอลดภาษีไม่มีความแน่นอน ตัวอย่างเช่น ประเทศเวียดนามที่เหมือนจะดีลได้ 20% แต่ยังโดน 40% สำหรับสินค้าผ่านทางตามการตีความของสหรัฐ
.
อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ถูกส่งออกไปใน 54,000 ล้าน USD มีส่วนหนึ่งที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นภาษี Reciprocal Tax เนื่องจากสหรัฐประกาศใช้อัตราภาษีเฉพาะรายการ เป็นลักษณะ Sectorial Tariff อัตราเดียวกันหมดทั่วโลกไปแล้ว คือ…
– ชิ้นส่วนยานยนต์ให้เก็บที่ 25%
– เหล็กโดน 50% ไม่ว่าจะนำเข้ามาจากประเทศไหน
– ที่สำคัญ คือ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ ได้รับการเวฟภาษีนำเข้าเป็น 0%
.
ในส่วนนี้มีมูลค่าราวๆ 20,000 ล้าน USD จาก ส่งออก 54,000 ล้าน USD
.
หลายบริษัทที่ผลิตสินค้าในกลุ่มที่ว่านี้ ได้ผูกกระบวนการผลิตเข้ากับห่วงโซ่อุปทานในประเทศและรอบประเทศไทย เพื่อขายของทั่วโลก จนขยับย้ายฐานการผลิตออกไปยากมาก
.
ส่วนอีก 34,000 ล้าน USD ที่เหลือ ที่กำลังจะโดนขึ้นภาษีนั้น
.
ก่อนอื่นฝ่ายเจรจาควรรับรู้ว่า…
.
หากเป็น “วัตถุดิบ ชิ้นส่วน หรือเครื่องจักร“ ที่จะนำไปประกอบหรือผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป จะทำให้สหรัฐเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน เสี่ยงย้ายฐานการผลิตออกไปนอกสหรัฐ มีโอกาสสูงที่สหรัฐจะต้องปรับลดภาษีหรือออกมาตรการชดเชยภาษีนำเข้าในที่สุด
.
ส่วนนี้มีมูลค่าอีกเกือบ 10,000 ล้าน USD
.
ที่จะกระทบโดยตรงคือกลุ่มสินค้าสำเร็จที่ส่งออกจากไทยไปบริโภคที่สหรัฐ เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศ เครื่องประดับ อาหารแปรรูป ที่มีมูลค่าราวๆ 24,000 จาก 54,000 ล้าน USD ไม่ถึงครึ่งของมูลค่าทั้งหมด
.
แต่ในจำนวน 24,000 ล้าน USD นี้เอง…
– บาง Sector เช่น การผลิตล้อยางส่งออก ก็เป็นบริษัทที่เป็นสัญชาติไทยจริง หรือเป็นการร่วมทุนกับไทย ไม่ถึง 1 ใน 5 ของมูลค่าที่ส่งออกไป
– บาง Sector ถึงจะส่งออก แต่มีการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนจำนวนมาก Local Content ตํ่า จนส่วนต่างมูลค่าส่งออกลบนำเข้า แทบไม่เหลือ
หากลบส่วนนี้ออกไปอีกอย่างน้อย 10,000 ล้าน USD กู้มูลค่ากลับคืนมาจากศูนย์เหรียญ เท่ากับชดเชยมูลค่าที่จะสูญเสียไปจากการส่งออกที่ได้รับผลกระทบ
.
แถมจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาการเกินดุลการค้าที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าอีกด้วย
ดังนั้น สิ่งที่เราต้องเร่งมือทำ เพื่อ “เซฟ“ อุตสาหกรรมไทยคือ…
.
1.จัดการกับอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ รวมไปถึงโรงงานเทา โรงงานเถื่อน ที่ผลิตสินค้าด้อยคุณภาพ ทำลายสิ่งแวดล้อม แยกตัวออกจากห่วงโซ่อุปทานไทย ไม่สนใจ Local Content ฉวยโอกาสสูบมูลค่าออกจากเศรษฐกิจไทย ทำลายชื่อเสียง และความเชื่อมั่นของนักลงทุน
.
2.ป้องกันการดัมพ์ตลาด โดยการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงสินค้าศูนย์เหรียญตํ่ามาตรฐานที่ผลิตในไทย ถูกกำแพงภาษีจากตลาดสหรัฐ เลยมาดัมพ์ขายในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก ล้อยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
.
3.สนับสนุน ให้คนไทยช่วยซื้อของดีที่คนไทยผลิต รัฐบาล กองทัพ โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ช่วยกันอุดหนุนสินค้าดี ๆ ที่ผลิตโดยคนไทย
.
4.โอบอุ้มธุรกิจขนาดเล็ก SMEs ลดต้นทุน ลดความล่าช้าที่เป็นอุปสรรคจากส่วนราชการ ส่งเสริมให้ใช้ Technology และ Innovation ช่วยลงทุนในเรื่องของ Digital Transformation และ Green Transformation หาตลาดให้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
.
5.ผูกห่วงโซ่อุปทานการผลิต (Supply Chain) ที่มีมูลค่า ให้ลึกให้ละเอียดกว่าเดิม เติมมูลค่า ลดขั้นตอน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ทำให้เร็ว สะดวก และโปร่งใส แต่ต้องมีความรับผิดชอบ
.
ทั้งหมด ทำควบคู่กับการเจรจา และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ในสถานการณ์ที่โลกแปรปรวนเช่นนี้ เป็นโอกาสของประเทศ ที่จะเร่งปฏิรูประบบอุตสาหกรรมให้กลับมาแข็งแกร่ง เป็นเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวสำคัญทันกับโลกยุคใหม่ในอนาคตครับ
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า