วันที่ 18 มิถุนายน 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงานสัมมนา Road to Net Zero 2025 : Thailand Green Action พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Green Industry : ขับเคลื่อนลดก๊าซเรือนกระจก” โดยมีนางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วม ณ ห้อง Royal Maneeya Ballroom โรงแรม เรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า การยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่” ต้องเป็นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องตอบโจทย์ตลาดโลก โดยโมเดลอุตสาหกรรมยุคใหม่ จะต้องไม่ใช่การแข่งกันแค่ราคาถูกเหมือนในอดีต เพราะปัจจุบันทั้งผู้บริโภคและมาตรการการค้าโลกอย่าง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ล้วนให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าและความยั่งยืนมากกว่า อย่างไรก็ดีในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังถูกบั่นทอนด้วยปัญหาธุรกิจสีเทาและสินค้าไร้มาตรฐาน เช่น สินค้าราคาถูกที่ลดต้นทุนด้วยการลดคุณภาพ รวมถึงธุรกิจรีไซเคิลที่ลักลอบนำของเสียอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมาทิ้งในไทย โดยที่ผ่านมาพบว่าธุรกิจการคัดแยกรีไซเคิลมีจำนวนมาก เบื้องหน้าแม้จะดูเหมือนเป็นธุรกิจที่ดีมาก เพราะเป็นการนำเอาของเสียจากภาคการผลิตมาแปรรูป ให้กลับมาเป็นของดีแล้วนำมาขายใหม่ อันดูเป็นการช่วยอนุรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม แต่แท้ที่จริงแล้วในบางกรณีกลับมีการลักลอบของเสีย นำเอาขยะอิเล็กทรอนิกส์ผิดกฎหมายมาจากต่างประเทศ มาสกัดเอาของดีออกไปส่งขายยังต่างประเทศ แล้วเอาของเสียเข้ามาทิ้งไว้ในประเทศไทย กลายเป็นการทำร้ายคนไทยและสภาพแวดล้อมในประเทศไทย
.
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมออกกฎหมายใหม่ ที่เรียกว่า ร่างพระราชบัญญัติจัดการกากอุตสาหกรรม ที่จะเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยในการใช้ควบคุมจัดการของเสียที่ออกมาจากภาคการผลิตซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ใช้พระราชบัญญัติโรงงาน ในการดูแล แต่กฎหมายโรงงานควรไปกำกับโรงงานที่ผลิตของดี แต่ของเสียต้องมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งไว้ควบคุม ซึ่งคือ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยล่าสุดได้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนหลังจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมที่จะนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาและเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายต่อไป โดยจะไม่ใช่แค่การกำจัดธุรกิจสีเทาหรือสีดำหรือแม้กระทั่งธุรกิจศูนย์เหรียญเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมหมุนเวียนในประเทศไทยหรืออุตสาหกรรมสีเขียวอย่างแท้จริง นอกจากนี้จะมีการตั้งกองทุนใหม่ที่เรียกว่า “กองทุนอุตสาหกรรมยั่งยืน” เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปรับปรุง ซึ่งตนมั่นใจว่ากฎหมายฉบับนี้จะวางรากฐานสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในไทยกับอุตสาหกรรมหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า การยกระดับภาคอุตสาหกรรมสู่ “อุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่” ต้องเป็นการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องตอบโจทย์ตลาดโลก โดยโมเดลอุตสาหกรรมยุคใหม่ จะต้องไม่ใช่การแข่งกันแค่ราคาถูกเหมือนในอดีต เพราะปัจจุบันทั้งผู้บริโภคและมาตรการการค้าโลกอย่าง CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ล้วนให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้าและความยั่งยืนมากกว่า อย่างไรก็ดีในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังถูกบั่นทอนด้วยปัญหาธุรกิจสีเทาและสินค้าไร้มาตรฐาน เช่น สินค้าราคาถูกที่ลดต้นทุนด้วยการลดคุณภาพ รวมถึงธุรกิจรีไซเคิลที่ลักลอบนำของเสียอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมาทิ้งในไทย โดยที่ผ่านมาพบว่าธุรกิจการคัดแยกรีไซเคิลมีจำนวนมาก เบื้องหน้าแม้จะดูเหมือนเป็นธุรกิจที่ดีมาก เพราะเป็นการนำเอาของเสียจากภาคการผลิตมาแปรรูป ให้กลับมาเป็นของดีแล้วนำมาขายใหม่ อันดูเป็นการช่วยอนุรักษ์โลกและสิ่งแวดล้อม แต่แท้ที่จริงแล้วในบางกรณีกลับมีการลักลอบของเสีย นำเอาขยะอิเล็กทรอนิกส์ผิดกฎหมายมาจากต่างประเทศ มาสกัดเอาของดีออกไปส่งขายยังต่างประเทศ แล้วเอาของเสียเข้ามาทิ้งไว้ในประเทศไทย กลายเป็นการทำร้ายคนไทยและสภาพแวดล้อมในประเทศไทย
.
ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรมกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมออกกฎหมายใหม่ ที่เรียกว่า ร่างพระราชบัญญัติจัดการกากอุตสาหกรรม ที่จะเป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทยในการใช้ควบคุมจัดการของเสียที่ออกมาจากภาคการผลิตซึ่งไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากก่อนหน้านี้ใช้พระราชบัญญัติโรงงาน ในการดูแล แต่กฎหมายโรงงานควรไปกำกับโรงงานที่ผลิตของดี แต่ของเสียต้องมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งไว้ควบคุม ซึ่งคือ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยล่าสุดได้ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนหลังจากนี้กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมที่จะนำเสนอสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อพิจารณาและเข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายต่อไป โดยจะไม่ใช่แค่การกำจัดธุรกิจสีเทาหรือสีดำหรือแม้กระทั่งธุรกิจศูนย์เหรียญเท่านั้น แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมหมุนเวียนในประเทศไทยหรืออุตสาหกรรมสีเขียวอย่างแท้จริง นอกจากนี้จะมีการตั้งกองทุนใหม่ที่เรียกว่า “กองทุนอุตสาหกรรมยั่งยืน” เนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการปรับปรุง ซึ่งตนมั่นใจว่ากฎหมายฉบับนี้จะวางรากฐานสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมในไทยกับอุตสาหกรรมหมุนเวียน เพื่อความยั่งยืนในอนาคต
