Skip to content
Home » คุมกำเนิด ‘เหล็กไม่ได้มาตรฐาน’ ‘ลอรี่’ เผย ‘เอกนัฏ’ สั่งห้ามตั้งหรือขยาย รง.เหล็ก ถึงปี 2573 หวังคุมคุณภาพเหล็กไทย

คุมกำเนิด ‘เหล็กไม่ได้มาตรฐาน’ ‘ลอรี่’ เผย ‘เอกนัฏ’ สั่งห้ามตั้งหรือขยาย รง.เหล็ก ถึงปี 2573 หวังคุมคุณภาพเหล็กไทย

วันที่ 22 มิถุนายน 2568 นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นอกจากการดำเนินการสั่งจับสั่งปิดโรงงานเหล็กไม่มาตรฐานอย่างต่อเนื่องของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม แล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมยังได้ยกระดับมาตรการการควบคุมเหล็กให้มีคุณภาพและเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2568 คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติอนุมัติในหลักการ ร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ทุกขนาด ทุกห้องที่ในราชอาณาจักร พ.ศ. …. เป็นระยะเวลา 5 ปี มีผลบังคับใช้ไปจนถึงวันที่ 9 มกราคม 2573 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมนำโดยนายเอกนัฏ เป็นผู้เสนอ
.
นายพงศ์พล กล่าวว่า จากผลการตรวจสอบคุณภาพเหล็กของโรงงานหลอมเหล็กจากเตา IF (Induction Furnace) จำนวน 7 แห่งจาก 11 แห่งทั่วประเทศ โดยทีมสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรม พบว่า มีผลิตภัณฑ์เหล็กไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะค่าโบรอนต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นใจของผู้บริโภคเป็นวงกว้าง และขณะนี้ยังเหลือโรงงานอีก 4 แห่ง ที่อยู่ระหว่างรอผลการตรวจสอบ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลในไม่ช้า การเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความจำเป็นในการยกระดับมาตรฐาน และการควบคุมคุณภาพเหล็ก เพื่อให้มั่นใจว่า เหล็กที่ส่งออกสู่ตลาดมีคุณภาพสูงตามเกณฑ์ และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
.
สาระสำคัญของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับนี้ คือ การขยายระยะเวลาการห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตทุกขนาด ทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 9 มกราคม 2573 (เดิมสิ้นสุดการใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568) เพื่อเป็นการควบคุมกำลังการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตและเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เพื่อแก้ไขปัญหากำลังการผลิตเกินความต้องการบริโภค (Over Supply) และใช้โอกาสนี้เพื่อเซฟอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ ควบคุมคุณภาพการผลิต โดยเฉพาะมาตรฐานผลิตเหล็กเส้นชนิด IF ที่พบปัญหาอยู่บ่อยครั้ง จากการลงตรวจของทีมสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรม
.
นายพงศ์พล กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตระหนักถึงผลกระทบอย่างรุนแรงจากการผลิตเหล็กส่วนเกินและการตีตลาดจากเหล็กเส้นราคาต่ำ แต่มีปัญหาด้านคุณภาพ ที่ทะลักเพิ่มมากขึ้นในตลาดจากทุนข้ามชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศอย่างชัดเจน และเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างเร่งด่วน จึงได้ผลักดันร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ห้ามตั้งหรือขยายโรงงานผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตหรือเหล็กแท่งเล็กสำหรับเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ทุกขนาด ทุกห้องที่ในราชอาณาจักร พ.ศ. …. โดยขยายเวลาใช้บังคับออกไปอีกเป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่ง ครม. มีมติอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา
.
“ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับนี้ โดยการผลักดันของรัฐมนตรีเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ จะช่วยแก้ปัญหาทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพของการผลิตเหล็กเส้นในประเทศ ควบคุมการเข้ามาของทุนต่างชาติที่นำเข้าเหล็กเกินความจำเป็น และยังเป็นการเซฟอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศไทยในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลดีกับระบบเศรษฐกิจและการจ้างงานของประเทศโดยรวม” นายพงศ์พล กล่าวทิ้งท้าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า