วันที่ 28 เมษายน 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมงานเสวนา “เดลินิวส์ ทอล์ก 2025” “Sustain Daily Talk 2025” ภายใต้หัวข้อ “Sustainable Green Finance โอกาส และความท้าทาย” ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์เดลินิวส์
.
นายเอกนัฏ ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยด้วยการเงินสีเขียว-พลังงานสะอาด” โดยเปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไปสู่โลกสีเขียว สิ่งที่ขาดอยู่ในขณะนี้ คือ เรื่องเงินทุน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งต้องพึ่งพาเงินทุนมาลงทุน เช่น พึ่งพาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการลงทุน และเงินทุนจากธนาคารเอกชน ธนาคารของรัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการระดมทุน
.
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นสัญญาณสำคัญจากทั่วโลก จากสัญญาณความขัดแย้ง ทั้งสงครามการค้า ภูมิรัฐศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือของไทยในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อน และในต่างประเทศที่มีหิมะตกกลางทะเลทราย และเรื่องสงครามการค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องหนักที่สุดจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่พยายามประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้า
.
สิ่งที่ไม่แน่นอน คือ ความแน่นอนว่าตอนนี้ทุกอย่างตกอยู่ในสภาวะความไม่แน่นอนทุกวัน สิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งสงครามเศรษฐกิจและสงครามการค้าของโลก รวมทั้งปรากฏการณ์ภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน แต่สิ่งที่เป็นปัญหาไม่ใช่แค่แผ่นดินไหว แต่คือตึกถล่ม เป็นปัญหาส่งสัญญาณว่าไทยไม่มีความพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว และภัยธรรมชาติ กลายเป็นสิ่งที่ส่งมาถึงสังคม และรัฐบาลว่า ที่ผ่านมาไม่เคยปฏิรูปปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของไทย และวันนี้ระบบเศรษฐกิจยืนอยู่บนขาหรือเสาที่ไม่แข็งแรงเหมือนตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)
.
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า อย่าเพิ่งกังวล เพราะมีทางออก โดยมองว่าระบบเศรษฐกิจต้องปรับเปลี่ยน และมีเงินทุนเข้ามาช่วย แต่ช่วงที่ผ่านมาไทยได้เปิดรับเทคโนโลยีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาในไทย ด้วยการที่เปิดรับธุรกิจต่างประเทศ แต่ไม่มีการกำกับดูแลและได้เข้ามาทำลายธุรกิจของคนไทย
.
ทั้งนี้แต้มต่อต้องดูมูลค่าของสินค้า ดูการลงทุนว่าแบบไหนดี เพื่อทำให้ไทยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น ช่วยสนับสนุนการค้าขายในไทย ส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ต้องทบทวนนโยบายใหม่ ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุน เป็นประโยชน์กับคนไทยและธุรกิจไทยหรือไม่
.
“เหล็กเป็นแค่ตัวอย่างสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน แม้ที่ผ่านมาพยายามออกมาตรฐานเหล็กหลายประเภท แต่ก็ได้หลบเลี่ยงการนำเข้าเหล็กผ่านการนำเหล็กหลายประเภทรวมกันเพื่อนำเข้า ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมว่าได้มาตรฐานหรือไม่ และมีการนำเข้ามารวมมากกว่า 6 แสนตันในปี 2567 จนเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ตึกสตง. ถล่ม ตอนแผ่นดินไหว เพราะเหล็กไม่ได้มาตรฐาน”
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า อีกหนึ่งภารกิจคือจัดการกับอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญของประเทศชาติ จัดการกลุ่มสีเทาและสีดำออกไป และต้อนรับธุรกิจสีขาว จึงจะทำให้ธุรกิจของไทยเจริญเติบโต เนื่องจากที่ผ่านมามีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะธุรกิจกลุ่มนี้พยายามลดราคาตีตลาด นำสินค้าด้อยคุณภาพมาขายแบบลดราคา เช่น เหล็กไม่ได้คุณภาพมาอยู่ในตึกสูงหลายแห่ง เพื่อต้องการลดต้นทุน ลดคุณภาพ และเกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ
.
อย่างไรก็ตามในเรื่องการปราบปรามอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ นอกจากจะสร้างปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีเรื่องการจัดการของเสีย ซึ่งที่ผ่านมาได้ลักลอบนำของเสียออกมา เช่น บริษัท ซินเคอหยวน ที่นำเข้าฝุ่นแดง ฝุ่นดำ มากองไว้ให้เกิดมลพิษ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการจัดการกับเหล็ก ล้อยาง ศูนย์เหรียญ และให้บีโอไอปรับเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน ให้สะดวก สะอาด โปร่งใส
.
นอกจากนี้ต้องปฏิรูป ปฏิวัติ และปรับตัว เช่น การมีเงินทุนจากธนาคาร ส่งเสริมให้ติดโซลาร์เซลล์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพราะมีราคาถูกลง และไทยเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า โดยแก้กฎหมายให้อุตสาหกรรมติดโซลาร์ไม่ต้องขอ รง.4 เช่นเดียวกับบ้านเดี่ยว และภาคธุรกิจ ติดโซลาร์ไม่ต้องขอหน่วยงานใดๆ ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถลดค่าไฟและลดต้นทุนได้
.
ขณะเดียวกันการเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปภายใน เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(EV) โดยภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังมุ่งหน้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ผู้ผลิตชิ้นส่วนสันดาปภายในจึงต้องปรับเปลี่ยน ถ้าผลักดันไปสู่ดิจิทัลทุกอย่างต้องใช้เงินเพื่อไปสู่การปรับตัวโลกยุคใหม่ และไม่เชื่อว่าสิ่งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ทำอยู่ คือ การสร้างกำแพงภาษี ท้าทายตลาดเสรี และละเลยความไม่สนใจต่อภาวะการเปลี่ยนไปของสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าต้านทานอำนาจธรรมชาติไม่ได้
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า สิ่งที่แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ คือ การออกกฎหมายมาเพิ่มเติม เช่น ร่างพ.ร.บ.จัดการกากอุตสาหกรรม ขณะนี้เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อนจะเสนอเข้าสู่สภาฯ ซึ่งถือเป็นร่างพ.ร.บ.จัดการกากอุตสาหกรรมฉบับแรกของไทย พร้อมกับสิ่งสำคัญ คือ เงินทุนจากกองทุนความยั่งยืนให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมสร้างแต้มต่อเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ เชื่อว่าในอีก 1-2 ปี จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้ธุรกิจไทยมีขีดความสามารถทางการแข่งขันบนเวทีโลกได้
.
นายเอกนัฏ ได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมไทยด้วยการเงินสีเขียว-พลังงานสะอาด” โดยเปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมไปสู่โลกสีเขียว สิ่งที่ขาดอยู่ในขณะนี้ คือ เรื่องเงินทุน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งต้องพึ่งพาเงินทุนมาลงทุน เช่น พึ่งพาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการลงทุน และเงินทุนจากธนาคารเอกชน ธนาคารของรัฐ เพื่อให้ผู้ประกอบการระดมทุน
.
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา ได้เห็นสัญญาณสำคัญจากทั่วโลก จากสัญญาณความขัดแย้ง ทั้งสงครามการค้า ภูมิรัฐศาสตร์ สภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือของไทยในพื้นที่ที่ไม่เคยท่วมมาก่อน และในต่างประเทศที่มีหิมะตกกลางทะเลทราย และเรื่องสงครามการค้า ซึ่งถือเป็นเรื่องหนักที่สุดจากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่พยายามประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้า
.
สิ่งที่ไม่แน่นอน คือ ความแน่นอนว่าตอนนี้ทุกอย่างตกอยู่ในสภาวะความไม่แน่นอนทุกวัน สิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งสงครามเศรษฐกิจและสงครามการค้าของโลก รวมทั้งปรากฏการณ์ภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อน แต่สิ่งที่เป็นปัญหาไม่ใช่แค่แผ่นดินไหว แต่คือตึกถล่ม เป็นปัญหาส่งสัญญาณว่าไทยไม่มีความพร้อมรับมือกับแผ่นดินไหว และภัยธรรมชาติ กลายเป็นสิ่งที่ส่งมาถึงสังคม และรัฐบาลว่า ที่ผ่านมาไม่เคยปฏิรูปปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของไทย และวันนี้ระบบเศรษฐกิจยืนอยู่บนขาหรือเสาที่ไม่แข็งแรงเหมือนตึกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.)
.
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า อย่าเพิ่งกังวล เพราะมีทางออก โดยมองว่าระบบเศรษฐกิจต้องปรับเปลี่ยน และมีเงินทุนเข้ามาช่วย แต่ช่วงที่ผ่านมาไทยได้เปิดรับเทคโนโลยีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเข้ามาในไทย ด้วยการที่เปิดรับธุรกิจต่างประเทศ แต่ไม่มีการกำกับดูแลและได้เข้ามาทำลายธุรกิจของคนไทย
.
ทั้งนี้แต้มต่อต้องดูมูลค่าของสินค้า ดูการลงทุนว่าแบบไหนดี เพื่อทำให้ไทยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น ช่วยสนับสนุนการค้าขายในไทย ส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) ต้องทบทวนนโยบายใหม่ ส่งเสริมให้บริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุน เป็นประโยชน์กับคนไทยและธุรกิจไทยหรือไม่
.
“เหล็กเป็นแค่ตัวอย่างสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน แม้ที่ผ่านมาพยายามออกมาตรฐานเหล็กหลายประเภท แต่ก็ได้หลบเลี่ยงการนำเข้าเหล็กผ่านการนำเหล็กหลายประเภทรวมกันเพื่อนำเข้า ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ควบคุมว่าได้มาตรฐานหรือไม่ และมีการนำเข้ามารวมมากกว่า 6 แสนตันในปี 2567 จนเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ตึกสตง. ถล่ม ตอนแผ่นดินไหว เพราะเหล็กไม่ได้มาตรฐาน”
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า อีกหนึ่งภารกิจคือจัดการกับอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญของประเทศชาติ จัดการกลุ่มสีเทาและสีดำออกไป และต้อนรับธุรกิจสีขาว จึงจะทำให้ธุรกิจของไทยเจริญเติบโต เนื่องจากที่ผ่านมามีการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะธุรกิจกลุ่มนี้พยายามลดราคาตีตลาด นำสินค้าด้อยคุณภาพมาขายแบบลดราคา เช่น เหล็กไม่ได้คุณภาพมาอยู่ในตึกสูงหลายแห่ง เพื่อต้องการลดต้นทุน ลดคุณภาพ และเกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ
.
อย่างไรก็ตามในเรื่องการปราบปรามอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ นอกจากจะสร้างปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีเรื่องการจัดการของเสีย ซึ่งที่ผ่านมาได้ลักลอบนำของเสียออกมา เช่น บริษัท ซินเคอหยวน ที่นำเข้าฝุ่นแดง ฝุ่นดำ มากองไว้ให้เกิดมลพิษ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการจัดการกับเหล็ก ล้อยาง ศูนย์เหรียญ และให้บีโอไอปรับเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน ให้สะดวก สะอาด โปร่งใส
.
นอกจากนี้ต้องปฏิรูป ปฏิวัติ และปรับตัว เช่น การมีเงินทุนจากธนาคาร ส่งเสริมให้ติดโซลาร์เซลล์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพราะมีราคาถูกลง และไทยเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า โดยแก้กฎหมายให้อุตสาหกรรมติดโซลาร์ไม่ต้องขอ รง.4 เช่นเดียวกับบ้านเดี่ยว และภาคธุรกิจ ติดโซลาร์ไม่ต้องขอหน่วยงานใดๆ ทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถลดค่าไฟและลดต้นทุนได้
.
ขณะเดียวกันการเปลี่ยนจากรถยนต์สันดาปภายใน เป็นรถยนต์ไฟฟ้า(EV) โดยภาคอุตสาหกรรมไทยกำลังมุ่งหน้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ผู้ผลิตชิ้นส่วนสันดาปภายในจึงต้องปรับเปลี่ยน ถ้าผลักดันไปสู่ดิจิทัลทุกอย่างต้องใช้เงินเพื่อไปสู่การปรับตัวโลกยุคใหม่ และไม่เชื่อว่าสิ่งที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ทำอยู่ คือ การสร้างกำแพงภาษี ท้าทายตลาดเสรี และละเลยความไม่สนใจต่อภาวะการเปลี่ยนไปของสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าต้านทานอำนาจธรรมชาติไม่ได้
.
นายเอกนัฏ กล่าวว่า สิ่งที่แก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้ คือ การออกกฎหมายมาเพิ่มเติม เช่น ร่างพ.ร.บ.จัดการกากอุตสาหกรรม ขณะนี้เตรียมเปิดรับฟังความคิดเห็น และนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) ก่อนจะเสนอเข้าสู่สภาฯ ซึ่งถือเป็นร่างพ.ร.บ.จัดการกากอุตสาหกรรมฉบับแรกของไทย พร้อมกับสิ่งสำคัญ คือ เงินทุนจากกองทุนความยั่งยืนให้กับธุรกิจขนาดเล็ก ส่งเสริมสร้างแต้มต่อเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ เชื่อว่าในอีก 1-2 ปี จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนให้ธุรกิจไทยมีขีดความสามารถทางการแข่งขันบนเวทีโลกได้
