Skip to content
Home » สร้างกองทัพยุคดิจิทัล ‘พล.อ.ณัฐพล’ ประชุมร่วมสมาพันธ์โอลิมปิกฯ ส่งผู้แทนแข่ง 2 รายการ ตั้งเป้าผลิตแรงงานทักษะสูงให้ประเทศ

สร้างกองทัพยุคดิจิทัล ‘พล.อ.ณัฐพล’ ประชุมร่วมสมาพันธ์โอลิมปิกฯ ส่งผู้แทนแข่ง 2 รายการ ตั้งเป้าผลิตแรงงานทักษะสูงให้ประเทศ

วันพุธที่ 23 เมษายน 2568 พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมหารือเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือที่เหมาะสม ระหว่างกระทรวงกลาโหมกับสมาพันธ์โอลิมปิกวิชาการนานาชาติ ด้านนวัตกรรมการสร้างสรรค์โปรแกรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์สากล ประจำประเทศไทย และมูลนิธิพัฒนามนุษย์นานาชาติโฟกัส(International Scratch Olympiad, ROBBO Finland, Focus Academy Thailand and Focus Human Development International Foundation) หรือองค์กร ROBBO จากประเทศฟินแลนด์ ในการส่งผู้แทนเป็นกรรมการและผู้เข้าร่วมประกวด โอลิมปิกวิชาการนานาชาติ ด้านนวัตกรรมการสร้างสรรค์โปรแกรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์สากล ปีที่ 9 ซึ่งในปีนี้มีการแบ่งการประกวดออกเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย
1.ระดับประเทศ ชิงถ้วยรางวัลนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะจัดในห้วงเดือนกรกฎาคม 2568
2.ระดับนานาชาติ จัดแข่งในห้วงเดือนตุลาคม 2568 โดยมีชาติภาคีพันธมิตรเข้าร่วมกว่า 65 ประเทศ
.
พล.อ.ณัฐพล กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความพร้อมด้านดิจิทัล เพื่อสร้างแรงงานทักษะสูงด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการพัฒนาระบบงานอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ อันจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ตลอดจนช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
.
พล.อ.ณัฐพล กล่าวต่อว่า โลกในทุกวันนี้เข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 5.0 ซึ่งต้องใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์(Robot & AI) เข้ามาขับเคลื่อนช่วยทำงาน โดยมนุษย์จะต้องเป็น “ผู้ใช้” ที่ชาญฉลาด ซึ่งผลล่าสุดจากดัชนีชี้วัดทางด้านปัญญาประดิษฐ์ของโลกในปีนี้ หรือ Global AI Index 2025 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก รัฐบาลจึงมุ่งหวังว่าจะเสริมสร้างความร่วมมือกับ ROBBO จากประเทศฟินแลนด์ในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสและก้าวสำคัญในการยกระดับมาตรฐานไทยสู่มาตรฐานโลก ด้านนวัตกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งกองทัพก็มีกำลังพลที่มีศักยภาพจำนวนมาก และพร้อมเป็นแหล่งผลิตทรัพยากรมนุษย์ให้กับประเทศ เช่น นักเรียนทหาร, นักศึกษาวิชาทหาร รวมทั้งพลทหารที่มีความพร้อม เมื่อได้รับการพัฒนาและการฝึกอบรมแล้ว ก็จะสามารถเข้าสู่ระบบตลาดแรงงานทักษะสูงของประเทศต่อไป
.
พล.อ.ณัฐพล กล่าวเสริมด้วยว่า กองทัพไม่ได้จำกัดความร่วมมืออยู่เพียงเท่านี้ แต่ยังเปิดกว้างสำหรับภาคเอกชน ภาควิชาการและสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพและความพร้อมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และไม่ใช่แค่เฉพาะด้าน ROBOT และ AI ที่กองทัพให้ความสนใจ แต่ยังมีเรื่อง DRONE-CYBERSPACE และเทคโนโลยีดิจิทัลด้านอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ในอนาคตเมื่อกองทัพสะสมองค์ความรู้และสร้างบุคลากร(Trainer) ให้มีความพร้อมแล้ว ก็คาดหวังว่าจะสามารถขยายผลความสำเร็จ ไปสู่การให้บริการประชาชนและเยาวชนรุ่นใหม่ได้
.
“กระทรวงกลาโหมมุ่งมั่นขับเคลื่อนตามนโยบายรัฐบาลและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการปฏิรูประบบราชการและกองทัพ เปลี่ยนผ่านสู่ ‘ราชการทันสมัยด้วยดิจิทัล’ อย่างเป็นรูปธรรม โดยเสริมสร้างศักยภาพนักเรียนทหาร นักศึกษาวิชาทหาร และพลทหาร ที่พร้อมและสนใจ ในการเพิ่มพูนความรู้ด้านหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (ROBOT & AI) รวมทั้งตั้งเป้าขยายผลความสำเร็จ สู่กำลังพลทั่วไปและครอบครัวในลำดับต่อไป เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีทักษะสูง ด้วยเทคโนโลยีแห่งอนาคต” พล.อ.ณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า