วันที่ 20 มีนาคม 2568 นายวิทยา แก้วภราดรัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายรายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ศาลปกครองและสำนักงานศาลปกครอง ว่า
.
ประเด็นแรก ขอชื่นชมการควบคุมการสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ที่สามารถคัดกรองการทุจริตในการสอบคัดเลือกได้ และพร้อมเดินหน้าเอาผิดไม่ว่าจะเป็นชั้นยศใดก็ตาม
.
ประเด็นที่สอง งบประมาณที่ศาลปกครองได้รับประมาณ 2,400 ล้านบาท สูงสุดไม่เคยถึง 2,600 ล้านบาท การอุดหนุนงบประมาณน้อยจนเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในส่วนของบุคลากร
.
ประเด็นที่สาม คดีคงค้างการพิจารณาประมาณ 10,000 คดี แต่ต้องขอชื่นชมว่าสามารถทำคดีเสร็จใน 1 ปีประมาณ 3,000 คดี เสร็จใน 2 ปีประมาณ 1,000 คดี และเสร็จใน 3 ปีประมาณ 1,3000 คดี ซึ่งถือว่ารวดเร็วในระบบไต่สวนที่ตุลาการจะต้องสรรหาข้อเท็จจริงในคดี เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่จะต้องขอชื่นชมศาลปกครอง
.
ประเด็นที่สี่ องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ที่นอกจากมีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งแล้ว ยังมีอำนาจในการวินิจฉัยความสุจริตในการเลือกตั้งอีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านั้นแยกอำนาจหน้าที่ทั้ง 2 ออกจากกัน เนื่องจากที่ผ่านมาพิจารณาว่าการดำเนินการทางศาลใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน แต่ กกต. มีการพิจารณาในรูปแบบกล่าวหา คือ ผู้ร้องจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานมาเอง
.
องค์กรต่อมาคือ ปปช. และ ปปท. ที่มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยกรณีการทุจริต ที่ทำหน้าที่สืบสวน สอบสวนและมีคำสั่งคือวินิจฉัยเฉกเช่นเดียวกับอำนาจตุลาการ
.
ซึ่งหากผู้ถูกร้องไปยังองค์กรอิสระเหล่านี้มีความเห็นแตกต่างจากการวินิจฉัย จะต้องนำเรื่องไปยังศาลปกครองซึ่งเห็นควรให้ศาลปกครองได้ออกแนวทางตรวจสอบดุลพินิจด้วยเพื่อรักษาสิทธิของทุกฝ่าย
.
ประเด็นแรก ขอชื่นชมการควบคุมการสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองชั้นต้น ที่สามารถคัดกรองการทุจริตในการสอบคัดเลือกได้ และพร้อมเดินหน้าเอาผิดไม่ว่าจะเป็นชั้นยศใดก็ตาม
.
ประเด็นที่สอง งบประมาณที่ศาลปกครองได้รับประมาณ 2,400 ล้านบาท สูงสุดไม่เคยถึง 2,600 ล้านบาท การอุดหนุนงบประมาณน้อยจนเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ถูกใช้ในส่วนของบุคลากร
.
ประเด็นที่สาม คดีคงค้างการพิจารณาประมาณ 10,000 คดี แต่ต้องขอชื่นชมว่าสามารถทำคดีเสร็จใน 1 ปีประมาณ 3,000 คดี เสร็จใน 2 ปีประมาณ 1,000 คดี และเสร็จใน 3 ปีประมาณ 1,3000 คดี ซึ่งถือว่ารวดเร็วในระบบไต่สวนที่ตุลาการจะต้องสรรหาข้อเท็จจริงในคดี เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่จะต้องขอชื่นชมศาลปกครอง
.
ประเด็นที่สี่ องค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น กกต. ที่นอกจากมีหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้งแล้ว ยังมีอำนาจในการวินิจฉัยความสุจริตในการเลือกตั้งอีกด้วย ซึ่งก่อนหน้านั้นแยกอำนาจหน้าที่ทั้ง 2 ออกจากกัน เนื่องจากที่ผ่านมาพิจารณาว่าการดำเนินการทางศาลใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน แต่ กกต. มีการพิจารณาในรูปแบบกล่าวหา คือ ผู้ร้องจะต้องแสวงหาพยานหลักฐานมาเอง
.
องค์กรต่อมาคือ ปปช. และ ปปท. ที่มีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยกรณีการทุจริต ที่ทำหน้าที่สืบสวน สอบสวนและมีคำสั่งคือวินิจฉัยเฉกเช่นเดียวกับอำนาจตุลาการ
.
ซึ่งหากผู้ถูกร้องไปยังองค์กรอิสระเหล่านี้มีความเห็นแตกต่างจากการวินิจฉัย จะต้องนำเรื่องไปยังศาลปกครองซึ่งเห็นควรให้ศาลปกครองได้ออกแนวทางตรวจสอบดุลพินิจด้วยเพื่อรักษาสิทธิของทุกฝ่าย
