Skip to content
Home » สางปัญหากว่า 2 ทศวรรษ ‘พีระพันธุ์’ ยืนยันพร้อมเดินหน้าสางปัญหาผู้อพยพจากแม่เมาะทันที

สางปัญหากว่า 2 ทศวรรษ ‘พีระพันธุ์’ ยืนยันพร้อมเดินหน้าสางปัญหาผู้อพยพจากแม่เมาะทันที

วันที่ 16 มกราคม 2568 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้ตอบกระทู้ถามเรื่อง ขอให้พิจารณาเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้กับผู้อพยพบ้านเวียงหงส์ล้านนา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภายหลังอพยพเป็นครั้งที่ 5 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ว่า เรื่องการอพยพนี้เป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาหลายรัฐบาล จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงให้เข้าใจต้องตรงกันเสียก่อน เรื่องนี้เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2521 เมื่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ใช้พื้นที่ในการทำเหมืองถ่านหินเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีกลุ่มประชาชนที่เสียสละพื้นที่เพื่อให้ทาง กฟผ. ได้ใช้พื้นที่ประมาณ 800 ไร่ จึงมีการจัดสรรพื้นที่โดยออกเอกสารสิทธิชดเชยให้ และมีมติ ครม. ครั้งแรกเพื่อให้พี่น้องประชาชนที่ได้อพยพ 4 ครั้งแรกได้สิทธิในที่ดินไป
.
หลังจากนั้นยังมีการอพยพอีก 3 ครั้ง ซึ่งไม่มีการเสียสละที่ดินให้กับ กฟผ. แต่เป็นพี่น้องประชาชนที่บอกว่าได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ จึงมีการขอย้ายเพื่อให้พ้นกระทบ จึงเป็นที่มาของมติ ครม. เมื่อ วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ทำให้ไม่มีการออกเอกสารสิทธิใหม่ เนื่องจากยังมีเอกสารสิทธิในที่ดินแปลงเดิมอยู่ ซึ่งรองรับการอพยพ ครั้งที่ 5 ที่ได้สอบถามพี่น้องประชาชนเหล่านี้ยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงเดิม เมื่อให้กรรมสิทธิ์ประชาชนเหล่านี้จะมีที่ดินเพิ่มขึ้น ทำให้มติ ครม. ที่กล่าวไปจึงไม่มีการให้ออกเอกสารสิทธิ
.
แต่สำหรับการอพยพครั้งที่ 6 มีมติ ครม. ที่ออกเอกสารสิทธิให้ เนื่องจากประชาชนกลุ่มที่ย้ายกลุ่มที่ 6 ได้ขอคืนที่ดินให้กับรัฐ จึงมีการออกเอกสารสิทธิใหม่ให้ชดเชย โดยเรื่องนี้เป็นปัญหาต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 20 ปี การอพยพครั้งที่ 5 น่าจะมีลูกหลานรับช่วงที่ดินต่อ จึงต้องการความมั่นคงผ่านการมีเอกสารสิทธิ ปัญหาคือจะต้องทำอย่างไรต่อไป
.
คณะกรรมการตามมติ ครม. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ในขณะนั้นยังไม่มีกระทรวงพลังงาน ต่อมาเมื่อมีกระทรวงพลังงานเรื่องเหล่านี้ถึงถูกโอนมาภายใต้กระทรวงพลังงาน ซึ่งตนทราบมาว่าคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีการประชุมครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2549 และหลังจากนั้นเหตุการณ์ก็หายเงียบ ก่อนปี 2565 ได้มีการร้องเรียนกับผู้ตรวจการแผ่นดิน และมีการอพยพครั้งที่ 6 ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้เมื่อปี 2566 ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาการออกเอกสารสิทธิ ซึ่งทราบเบื้องต้นว่าจะต้องมีการเพิกถอนพื้นที่ป่า เนื่องจากพื้นที่ที่ประชาชนใช้อยู่นั้นเป็นพื้นที่ป่าสงวน และจากการประชุมเมื่อเดือนกันยายน 2567 ที่ประชุมมีมติให้พลังงานจังหวัดลำปางรายงานมาที่ปลัดกระทรวงพลังงาน ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีรายงานฉบับดังกล่าวมาถึงกระทรวงพลังงานแต่อย่างใด
.
ล่าสุด ตนทราบอีกว่ามีประเด็นเพิ่มเติม นอกจากขอเอกสารสิทธิแล้ว ยังจะมีการขอเงินชดเชยจากต้นไม้บนที่ดินเดิม ประเด็นนี้ก็ยังคาราคาซัง ซึ่งทางจังหวัดมีความเห็นว่าต้องมีการประชุมเพิ่มเติม ให้ได้ข้อสรุปในทุกประเด็นเพื่อเสนอเรื่องมายังส่วนกลาง
.
“โดยตำแหน่งและหน้าที่ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผมมีหน้าที่ต้องแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนในอำนาจหน้าที่อยู่แล้ว เพียงแต่เรื่องจากจังหวัดยังมาไม่ถึง สำหรับปัญหาอื่น ๆ ขออนุญาตให้มีการทำข้อมูลเป็นหนังสือมายังผม เพื่อให้มีความเห็นประกอบหลายด้าน ผมยืนยันว่าวันที่เรื่องนี้มาถึงผม ผมจะเร่งดำเนินการแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชนให้เร็วที่สุด” นายพีระพันธุ์กล่าวในตอนท้าย
 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า