Skip to content
Home » ‘ลอรี่ พงศ์พล’ กล่าวปิดงานท่องเที่ยวอันดามัน ใช้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไทย

‘ลอรี่ พงศ์พล’ กล่าวปิดงานท่องเที่ยวอันดามัน ใช้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไทย

‘ลอรี่ พงศ์พล’ กล่าวปิดงานท่องเที่ยวอันดามัน ใช้อุตสาหกรรมท้องถิ่น ดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ไทย
.
วันที่ 8 ธันวาคม 2567 นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน Andaman Tourism Networking 2024 พร้อมกล่าวปาฐกถาหัวข้อ” บทบาทสำคัญในการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย” โดยมี นางวิรินทร์ตรา ปภากิจยศพัฒน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คลัสเตอร์อันดามัน และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต นายกสมาคมผู้ประกอบการ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มจังหวัดอันดามัน 6 จังหวัด (พังงา กระบี่ ตรัง สตูล ระนอง และภูเก็ต) ให้การต้อนรับ พร้อมด้วย นายโดม ถนอมบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 นางเฉลิมศรี หลักดี นักวิเคราะห์นโยบาย และแผนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วม ณ พื้นที่สวนสาธารณะปลายแหลมสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต
.
นายพงศ์พล กล่าวว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม จากข้อมูลของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ พบว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจใน 9 เดือนแรกของปี 2567 มีแรงขับเคลื่อนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากสาขาที่พักแรม และบริการด้านอาหาร ที่ขยายตัว ร้อยละ 9.3 เพราะภาคการท่องเที่ยวมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุน การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2568 เนื่องจากคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้น รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวไทยมีแนวโน้ม การขยายตัวเช่นกัน ส่งผลให้ภาคบริการที่เกี่ยวเนื่อง อาทิ ภาคการขนส่ง ภาคบริการที่พัก และร้านอาหาร ตลอดจนภาคการค้ามีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
.
กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นโอกาส ในการส่งเสริมความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วนไปพร้อม ๆ กัน เนื่องจากในห่วงโซ่คุณค่าของการท่องเที่ยวมีภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถเข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนได้ เช่น ผู้ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ผลิตของที่ระลึก ยกตัวอย่างเช่น วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านบ่อแร่ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในพื้นที่ ทำผ้าบาติก ผ้ามัดย้อม ผลิตภัณฑ์กระเป๋าผ้า และของที่ระลึกจำหน่าย ที่พิเศษไปกว่านั้น คือการนำวัสดุเหลือใช้จากเศษผ้า เกล็ดปลา นำมาประดิษฐ์เป็นของที่ระลึกได้อย่างสวยงาม ซึ่งนอกจากเป็นการลดขยะได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังเป็นการสร้างอัตลักษณ์ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปร่วมทำกิจกรรมในท้องถิ่น ตลอดจนอุตสาหกรรมดิจิทัลข้อมูล และปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งครอบคลุมถึงระบบ อัตโนมัติ และหุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ นำไปประยุกต์ใช้ได้กับบริการที่พัก เช่น โรงแรม และบริการสนับสนุน เช่น ร้านซักรีด โดยขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจ หมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ที่ท่านคุ้นเคย และสอดคล้อง กับ 1 การปฏิรูปของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
.
ทั้งนี้ งาน Andaman Tourism Networking 2024 จัดโดย สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และกลุ่มจังหวัดอันดามัน ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคใต้ สสปน. (TCEB) กรมการท่องเที่ยว และกระทรวงอุตสาหกรรม จัดขึ้น เพื่อมุ่งเน้นที่จะยกระดับศักยภาพด้านการท่องเที่ยว 6 จังหวัดอันดามัน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคสู่การท่องเที่ยวระดับสากล ที่สะท้อนความเป็นอันดามันสู่สายตานักท่องเที่ยวทั่วโลก ภายใต้การจัดงานรูปแบบ Happening Andaman ระหว่างวันที่ 6-8 ธันวาคม 2567 บริเวณปลายแหลมสะพานหิน ทะเลกลางเมือง จังหวัดภูเก็ต

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า