Skip to content
Home » คาราวานเคียงข้างผู้ประสบภัย ‘เอกนัฏ’ ร่วมปล่อยคาราวานถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5 จังหวัดภาคใต้

คาราวานเคียงข้างผู้ประสบภัย ‘เอกนัฏ’ ร่วมปล่อยคาราวานถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5 จังหวัดภาคใต้

คาราวานเคียงข้างผู้ประสบภัย
‘เอกนัฏ’ ร่วมปล่อยคาราวานถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5 จังหวัดภาคใต้
.
วันที่ 3 ธันวาคม 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากกรณีพื้นที่หลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศไทย ได้ประสบอุทกภัย เนื่องจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ สงขลา พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และมีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ SME และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ ล่าสุดจากการสำรวจความเสียหายของสถานประกอบการ พบว่า มีโรงงานอุตสาหกรรม 52 แห่ง วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14 แห่ง เหมืองแร่ 1 แห่ง มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 23 ล้านบาท และมีวิสาหกิจชุมชน 23 แห่ง (ข้อมูลจากศูนย์ CMC สะสมตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2567)
.
กระทรวงอุตสาหกรรม จึงใช้พื้นที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จังหวัดสงขลา จัดตั้งเป็น “ศูนย์อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทยประสบภัยน้ำท่วม“ รวบรวมสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค ของใช้จำเป็น และยารักษาโรค เพื่อระดมและลำเลียงไปช่วยพื้นที่ประสบภัยในจังหวัดใกล้เคียง และเป็นศูนย์ประสานหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ติดตามความเสียหาย เตรียมพร้อมมาตรการต่าง ๆ รองรับสถานการณ์หลังน้ำลด กำหนดแผนป้องกันหากเกิดสถานการณ์ดังกล่าวอีกครั้งทั้งในระยะฉับพลัน ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม​ในพื้นที่ ในการสนับสนุนสิ่งของอุปโภค บริโภค เพื่อส่งมอบเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัด บรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วน
.
ด้าน นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า มอบหมายให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในพื้นที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมบูรณาการกับภาคเอกชน จัดตั้งศูนย์ประสานหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐมนตรีฯ เอกนัฏ ผ่าน 3 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัยเร่งช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่ 2) มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดผ่านการให้คำปรึกษาปัญหาธุรกิจอุตสาหกรรม และช่วยเหลือในการปรับปรุงกระบวนการผลิต ฟื้นฟูเครื่องจักร ระบบไฟฟ้า เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้กลับมาดำเนินการได้ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนด้านการเงิน แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม 3) มาตรการเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ผ่านการจัดทำแผนรองรับการเกิดอุทกภัยเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยจัดทำ Check list เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย การสร้างพนังกั้นน้ำ สอนวิธีการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร เป็นต้น
.
นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้เร่งให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยา ผ่านการจัดตั้ง “ศูนย์อุตสาหกรรมรวมใจ ช่วยพี่น้องชาวไทยประสบภัยน้ำท่วม” โดยใช้พื้นที่บริเวณศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จังหวัดสงขลา เป็นจุดรวบรวมสิ่งของอุปโภค บริโภค ของใช้จำเป็น และยารักษาโรค บรรจุลง “ถุงอุตสาหกรรมรวมใจ MIND ไม่ทิ้งกัน” เพื่อกระจายไปยังประชาชนที่ได้รับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า