Skip to content
Home » “รมว.เอกนัฏ” เยือนภาคเหนือ โชว์ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ “ดีพร้อม”

“รมว.เอกนัฏ” เยือนภาคเหนือ โชว์ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ “ดีพร้อม”

“รมว.เอกนัฏ” เยือนภาคเหนือ โชว์ปฏิรูปอุตสาหกรรม สั่งการ “ดีพร้อม” ส่งเสริมเกษตรแปรรูป ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น หนุนซอฟต์พาวเวอร์ ป้องกันภัยพิบัติ ดันอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพอย่างยั่งยืน
.
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม ลงพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้านโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก โปร่งใส” สั่งการ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ รวมทั้งมีศูนย์บริการที่สำคัญเพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการ เตรียมการรองรับปัญหาอุทกภัยด้วยการยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติให้เป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพอย่างยั่งยืน รวมถึงได้ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารและด้านแฟชั่น ด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1)สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA
.
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่ไม่อาจคาดเดา มีความซับซ้อน และไม่ชัดเจนตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคเหนือเป็นพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพแต่กลับมีพื้นที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรไม่มากนักจึงเหมาะกับเกษตรประณีตหรือเกษตรอินทรีย์ที่ใช้พื้นที่ และน้ำน้อยแต่ผลตอบแทนสูงซึ่งพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นและสามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะดวก โปร่งใส” จึงได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) พัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น อาทิ สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Crop) อาหารพื้นถิ่น (Food) หัตถกรรมพื้นบ้าน (Craft) สมุนไพรประจำถิ่น (Herb) และวัสดุพื้นถิ่น (Material) ด้วยการประยุกต์ ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่สร้างโอกาสทางการตลาดและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในกระบวนการผลิต สร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ผ่านการสร้างแบรนด์และนำเสนอเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว ทั้งการท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองและเป็นการกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อยอย่างทั่วถึง อันจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economy) ได้อย่างยั่งยืน
.
นายเอกนัฏ กล่าวเพิ่มเติมว่า โกโก้ เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่อีกหนึ่งชนิดที่น่าสนใจของภาคเหนือ ที่สามารถผลักดันและเชื่อมโยงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้แบรนด์ชั้นนำของไทยสู่ตลาดสากลได้ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับการแปรรูปโกโก้สู่การเป็นอาหารแห่งอนาคต (Future Food) ด้วยการนำทุกส่วนของโกโก้มาแปรรูปและสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายสู่การเป็นสินค้าพรีเมียม อาทิ โกโก้ผง เนยโกโก้ ช็อกโกแลต โดยการใช้ “อุตสาหกรรมนำ” เช่นเดียวกับกรณีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ผ่านแนวทางการเติมศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโกโก้ ชา หรือกาแฟ ให้มีขีดความสามารถการแข่งขันระดับเวทีโลก เพื่อดึงให้เกิดการเพาะปลูกและผลิตสินค้าเกษตรของพื้นที่ที่มีคุณภาพพร้อมมีตลาดรองรับ ภายใต้หลักการ “ตลาดนำ” ที่สามารถต่อยอดไปสู่ธุรกิจต่าง ๆ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม รีสอร์ท และแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งนับได้ว่าเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชเศรษฐกิจตลอดทั้งห่วงโซ่
.
อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีเป้าหมาย “เป็นองค์กรนำวิสาหกิจภาคเหนือตอนบนสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดยมีการดำเนินการทั้งในด้านวิชาการ คิดค้นรูปแบบ หลักสูตร เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ เป็นศูนย์กลางการบริการทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ และในด้านการปฏิบัติ ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจให้มีขีดความสามารถสอดคล้องกับความต้องการและอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของพื้นที่ อาทิ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ
.
ประกอบกับรัฐบาลได้กำหนดพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง เป็นระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA เพื่อพัฒนาเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักของประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ ของรัฐบาลที่มุ่งสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ของประเทศ ในการยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและรายได้ โดยดีพร้อมได้ขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหารและด้านแฟชั่น ด้วยการสร้างและพัฒนา Thailand Soft Power DNA ผ่าน 3 แนวทาง คือ 1) สร้างสรรค์และต่อยอด 2) โน้มน้าว และ 3) เผยแพร่ ซึ่งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ได้ชูเรื่องการพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่ซอฟต์พาวเวอร์ด้านอาหาร โดยการ “สร้างสรรค์” วัตถุดิบล้านนาสู่สินค้ามูลค่าสูง วัตถุดิบ Local สู่ทางเลือกสุขภาพ สมุนไพร Local สู่สารสกัดเลอค่า และ Hyper Local Taste รสชาติท้องถิ่นที่กินสะดวก “โน้มน้าว” ให้มาสัมผัสวิถีล้านนา และ “เผยแพร่” ผ่าน Influencer ส่งต่อประสบการณ์ใหม่ผ่านมุมมองที่สัมผัสได้สไตล์ Local LANNA
.
นางสาวณัฏฐิญา กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ยังได้เล็งเห็นถึงปัญหาของอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ จึงได้เร่งดำเนินการส่งเสริม และพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันภัยพิบัติเป็นอีกหนึ่งในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พร้อมจับมือกับภาคเอกชน ผลิตแผ่นป้องกันน้ำท่วมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตจากวัสดุคอมโพสิต หรือขยะพลาสติก และเตรียมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ รวมถึงเร่งฟื้นฟูสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบผ่านการซ่อมแซมเครื่องจักร และบูรณะสถานประกอบการ อีกทั้ง ยังมีการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน
ด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศยังได้พัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมต่อยอดงานวิจัยเกราะกันกระสุนผสมใยกัญชงให้ได้มาตรฐานและขยายผลเชิงพาณิชย์ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากกว่าร้อยละ 50 และได้ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ในการให้คำปรึกษาแนะนำและแก้ไขให้สายพานที่ติดมากับหุ่นยนต์กู้ภัยจากต่างประเทศมาออกแบบทำใหม่ทดแทนตัวเก่า รวมทั้งสนับสนุนการสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ อาทิ อุตสาหกรรมยานต์รบ อุตสาหกรรมต่อเรือ เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เป็นต้น
.
“การขับเคลื่อนการพัฒนาในเชิงพื้นที่ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่สามารถจัดการกับประเด็นปัญหาหรือความต้องการของพื้นที่ได้อย่างแท้จริง ด้วยการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายและผู้ประกอบการร่วมกัน ด้วยการเชื่อมโยงกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน SME และสถาบันการศึกษา เพื่อยกระดับศักยภาพและสร้างโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพรวม” นางสาวณัฏฐิญา กล่าวทิ้งท้าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า