Skip to content
Home » ปราบโรงงานลอบฝังของเสีย ‘เอกนัฏ’ สั่งลุยปราบโรงงานลอบทิ้งของเสียอุตสาหกรรม

ปราบโรงงานลอบฝังของเสีย ‘เอกนัฏ’ สั่งลุยปราบโรงงานลอบทิ้งของเสียอุตสาหกรรม

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจาก นายสุพล จุลใส สส.ชุมพร พรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า มีโรงงานต้องสงสัยที่ ต.วังเพลิง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี มีการลักลอบฝังกลบของเสีย วัตถุอันตราย รวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงร้องเรียนเรื่องกลิ่นเหม็นจากโรงงาน จึงได้สั่งการให้ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงพื้นเมื่อวันที่ 19 พ.ย.67 ที่ผ่านมา เพื่อสำรวจพื้นที่ของโรงงาน พบสิ่งผิดปกติ และเศษถุงกระสอบบิ๊กแบ็ค ที่ถูกฝังลงบนพื้นดิน จึงเก็บตัวอย่าง เศษดิน กาก ตะกอน เพื่อตรวจสอบหาค่าโลหะหนัก ผลตรวจเบื้องต้นพบว่า มีสารโลหะหนักในตัวอย่างที่เก็บมา ซึ่งเข้าข่ายเป็นวัตถุอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย จึงได้ขอหมายค้นจากศาลจังหวัดลพบุรี เพื่อเข้าตรวจสอบอย่างละเอียด
.
นายเอกนัฏ กล่าวต่อว่า และเมื่อวันที่ 26 พ.ย.67 ก็ได้ส่งชุดตรวจการสุดซอย กระทรวงอุตสาหกรรม นำโดย น.ส.ฐิติภัสร์ โชติเดชชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงาน รมว.อุตสาหกรรม, นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม, น.ส.ศิรกาญจน์ เหลืองสกุล ผอ.กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม พร้อมเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม และเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) เข้าตรวจสอบโรงงานที่ถูกร้องเรียน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ บริษัท เคดีดี เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด และบริษัท ดี-เวสต์ ยูทิลิเซชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการคัดแยกรีไซเคิลโลหะจากชิ้นส่วนไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และได้ตรวจสอบภายในโรงงาน โกดัง เตาหลอม เครื่องจักร ระบบบำบัดอากาศ ระบบบำบัดน้ำทิ้ง กองวัตถุดิบ โดยใช้รถแบคโฮขุดตักดินลึกลงไปตั้งแต่ 0.5-3 เมตร บริเวณโดยรอบโรงงานทุกจุดที่ต้องสงสัย เพื่อเก็บตัวอย่างกากอุตสาหกรรมที่พบใต้ดินตรวจสอบซ้ำทันที บางจุดยังพบว่าโรงงานฝังกลบลึกลงไปถึง 5 เมตรด้วย
.
“ผลการตรวจสอบ พบค่าโลหะหนักทั้งเหล็ก ปรอท ตะกั่ว และ กากตะกรันอะลูมิเนียม หรือ อะลูมิเนียมดรอส (Aluminum Dross) รวมกว่า 1.5 หมื่นตัน แล้วยังพบว่าโรงงานไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.โรงงาน ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม พร้อมยังลักลอบฝังกลบวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าหน้าที่จึงสั่งอายัดเครื่องจักรและวัตถุดิบ พร้อมแจ้งความเอาผิดข้อหาตั้งโรงงานจำพวกที่ 3 ประเภทหลุมฝังกลบโดยไม่ได้รับอนุญาต“ นายเอกนัฏ ระบุ
.
น.ส.ฐิติภัสร์ กล่าวเสริมว่า ขณะเข้าตรวจค้น เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมกรรมการบริษัทของ บริษัท ดี-เวสต์ ยูทิลิเซชั่น จำกัด ได้ในที่เกิดเหตุ และส่งดำเนินคดีแจ้งข้อกล่าวหาเบื้องต้น พร้อมจะขยายผลดำเนินการเอาผิดอย่างเด็ดขาดต่อไป โดยความผิดข้อหาประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ประเภทหลุมฝังกลบ โดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และข้อหาครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยไม่ได้รับอนุญาต ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เช่นกัน
.
“กากพิษโลหะหนักที่ตรวจพบ ทั้งตะกั่ว ปรอท อะลูมิเนียมดรอส ล้วนแล้วแต่มีอันตรายต่อร่างกาย หากทำปฏิกิริยากับน้ำและปล่อยไอระเหยหรือก๊าซ เมื่อสูดดมทำให้แสบตา แสบจมูก และ สะสมอาจเกิดความเสี่ยงทำลายระบบทางเดินหายใจและเม็ดเลือดแดงที่จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ กระทรวงอุตสาหกรรม จึงต้องเข้มงวดการจัดการกากอุตสาหกรรมเหล่านี้เพื่อสุขอนามัยของประชาชน“ น.ส.ฐิติภัสร์ กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า