วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยง EEC ล่าสุด สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง (ทล.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้าง ทางหลวงหมายเลข 3481 สายบ้านบางขนาก – ปราจีนบุรี ตอน บ้านหัวไผ่ – การเคหะฯ ปราจีนบุรี ระหว่าง กม. ที่ 47+200 ถึง 53+300 และ 54+450 ถึง 60+200 พื้นที่อำเภอเมือง และบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทาง 11.8 กิโลเมตร แล้วเสร็จ เพื่อรองรับปริมาณจราจรในอนาคต เชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งระหว่างกรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี
.
นางสาวศศิกานต์กล่าวว่า ทางหลวงหมายเลข 3481 สายบ้านบางขนาก – ปราจีนบุรี ตอน บ้านหัวไผ่ – การเคหะฯ ปราจีนบุรี เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รองรับการสัญจรของประชาชนในพื้นที่ และการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค ซึ่งมีปริมาณจราจรที่หนาแน่น และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร (ไป – กลับ)สภาพเส้นทางมีความเสียหายเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและการขนส่งของประชาชนด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทล. จึงได้บูรณะและขยายสายทางให้เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่าง กม. ที่ 47+200 ถึง 53+300 และ 54+450 ถึง 60+200 ผิวจราจรแบบแอสฟัลท์คอนกรีต ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก (Raised Median) และแบบกำแพงคอนกรีต (Barrier Median) รวมงานติดตั้งไฟแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจร และติดตั้งป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัยตลอดเส้นทาง
.
“ถนนสายนี้สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สนับสนุนระบบการขนส่งโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เชื่อมโยงโครงข่ายกับ EEC สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว เสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” นางสาวศศิกานต์กล่าว
.
นางสาวศศิกานต์กล่าวว่า ทางหลวงหมายเลข 3481 สายบ้านบางขนาก – ปราจีนบุรี ตอน บ้านหัวไผ่ – การเคหะฯ ปราจีนบุรี เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี รองรับการสัญจรของประชาชนในพื้นที่ และการขนส่งสินค้าระหว่างภูมิภาค ซึ่งมีปริมาณจราจรที่หนาแน่น และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เดิมมีขนาด 2 ช่องจราจร (ไป – กลับ)สภาพเส้นทางมีความเสียหายเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางและการขนส่งของประชาชนด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทล. จึงได้บูรณะและขยายสายทางให้เป็นมาตรฐานทางชั้นพิเศษขนาด 4 ช่องจราจร แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ระหว่าง กม. ที่ 47+200 ถึง 53+300 และ 54+450 ถึง 60+200 ผิวจราจรแบบแอสฟัลท์คอนกรีต ความกว้างช่องละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้าง 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยเกาะกลางแบบยก (Raised Median) และแบบกำแพงคอนกรีต (Barrier Median) รวมงานติดตั้งไฟแสงสว่าง ไฟสัญญาณจราจร และติดตั้งป้ายเตือนเพื่อความปลอดภัยตลอดเส้นทาง
.
“ถนนสายนี้สามารถรองรับปริมาณการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย สนับสนุนระบบการขนส่งโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มความปลอดภัย รองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ เชื่อมโยงโครงข่ายกับ EEC สนับสนุนระบบโลจิสติกส์ระหว่างภาคตะวันออกกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งเสริมการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยว เสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ นำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” นางสาวศศิกานต์กล่าว