วันที่ 14 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หารือคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา นำโดยนายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานคณะกรรมการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน และรับทราบแนวทางการดำเนินนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะเป็นแนวร่วมในการผลักดันและขับเคลื่อนภารกิจที่เกี่ยวข้อง โดยมี นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานที่ปรึกษาคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ด้านยุทธศาสตร์ นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกภัทร วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายศุภกิจ บุญศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายเดชา จาตุธนานันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเศรษฐรัชต์ เลือดสกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมหารือด้วย ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
.
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม หลังจากสถานการณ์โรคระบาด ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว เกิดความเปลี่ยนแปลงของโลก และนับเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทย ที่ต้องรับมือความท้าทายใหม่ๆ ที่ภาคอุตสาหกรรมจะต้องปรับตัว พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยไปสู่ตลาดโลก โดยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนต่างชาติสนใจมาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งไทยมีความสมดุลทางด้านทรัพยากร และห่วงโซ่อุปทาน จึงมีความได้เปรียบในการเพิ่มขีดความสามารถด้านความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยผ่านการขับเคลื่อนด้วยนโยบาย “สู้ เซฟ สร้าง” ที่มุ่งหวังเติมเต็มห่วงโซ่อุปทาน เซฟธุรกิจไทย ต่อสู้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม เดินหน้าไปสู่ความยั่งยืน สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาส ในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลก
.
โดยใช้ 3 ปฏิรูป 3 แนวทาง ได้แก่ ปฏิรูป 1 จัดการกากสารพิษที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยการปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ การแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน จัดตั้งกองทุนเพื่อการปฏิรูประบบอุตสาหกรรม สร้างความยั่งยืน และฟื้นฟู เยียวยาผลกระทบที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการ จัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ปฏิรูป 2 สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันของ SME ไทย ปกป้องและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทย สร้างความเท่าเทียมด้านกฎระเบียบและภาษีระหว่างร้านค้าที่มีหน้าร้านในไทยผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในไทยและผู้ประกอบการออนไลน์ต่างประเทศ การตรวจสอบมาตรฐานสินค้ากระบวนการผลิตสินค้า และวัตถุอันตราย และการนำเข้าที่ต้องควบคุมเป็นการทั่วไปและในเขต Free Zone การยกระดับขีดความสามารถให้แข่งขันได้ กลไกการส่งเสริมจากภาครัฐผ่าน DIPROM และสถาบันเครือข่าย ผลักดันมาตรการ “Made in Thailand” และปฏิรูป 3 สร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรองรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ส่งเสริมอุตสาหกรรมให้ก้าวทันโลก เพิ่มผลิตภาพ ลดต้นทุนการผลิต ปรับการผลิตให้ยืดหยุ่นเพิ่มขีดความสามารถด้วยระบบอัตโนมัติ ดิจิทัล และAI พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียว
.
ทางด้านคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรมที่ต้องส่งเสริมหรือพัฒนาอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี รวมถึงไมโครเอสเอ็มอี ที่มีความเปราะบางในการดำเนินกิจการ มีปัญหาต้องเร่งแก้ไข ซึ่งจากการรับฟังนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมในวันนี้ ถือว่าการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมตรงกับความต้องการคณะกรรมาธิการฯ คือการคำนึงถึงผู้ประกอบการรายเล็กๆ เป็นอันดับแรก แต่อยากเน้นย้ำให้ติดตามการส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการรายใหญ่จนถึงไมโครเอสเอ็มอีในทุกมิติ เพื่อให้ทุกกิจการยังคงดำเนินไปได้ และนำพาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตขึ้น
.
ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสีนนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายใบน้อย สุวรรณชาตรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนายพิชิต มินทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และผู้เข้าร่วมของคณะกรรมาธิการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ประกอบด้วย นายเอกชัย เรืองรัตน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่หนึ่ง นางรจนา เพิ่มพูน รองประธานคณะกรรมการคนที่สาม นางสาวตวงคุณ ทรงธรรมวัฒน์ รองประธานคณะกรรมการคนที่สี่ นายสหพันธ์ รุ่งโรจน์พณิชย์ รองประธานคณะกรรมการคนที่ห้า และคณะกรรมาธิการผู้ทรงคุณวุฒิ