เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ครั้งที่ 4/2567 ร่วมด้วย นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประชุมดังกล่าว ณ ห้องประชุม 109 ชั้น 1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล
.
การประชุมดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รายงานแนวทางการลดผลกระทบจากการทะลักของสินค้าต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนในกลุ่มสินค้าราคาถูกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้แจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และส่งเสริมสินค้าไทย
.
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องการใช้เงินคงเหลือในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการให้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้สอบถามถึงค่าบริหารจัดการที่ให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีจากยอดภาระหนี้ทั้งหมด ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยเบิกจ่ายทุกเดือน และค่าบริหารจัดการให้แก่ ธพว. ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้น ร้อยละ 1 ต่อปีของยอดสินเชื่อคงค้าง โดยเบิกจ่ายทุก 6 เดือน มีความต่างกันกันอย่างไร
.
ทั้งนี้ สสว. ได้เสนอร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อให้ผู้อนุมัติวงเงินว่ามีฐานประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการบริหารงานของกองทุนฯ ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบ สสว. ฉบับทบทวน ปี 2567 และกำหนดนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสตรี เพื่อให้สามารถรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงินสำหรับ SME ที่มีสตรีเป็นเจ้าของ/หรือมีสตรีเป็นผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เป็นต้น
.
การประชุมดังกล่าว สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้รายงานแนวทางการลดผลกระทบจากการทะลักของสินค้าต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีนในกลุ่มสินค้าราคาถูกที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้แจ้งที่ประชุมให้ทราบถึงการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ตามนโยบายของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่ง “เซฟ” SME ไทย สร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และส่งเสริมสินค้าไทย
.
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องการใช้เงินคงเหลือในกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายค่าบริหารจัดการให้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้สอบถามถึงค่าบริหารจัดการที่ให้แก่ ธพว. ในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปีจากยอดภาระหนี้ทั้งหมด ณ ขณะใดขณะหนึ่งโดยเบิกจ่ายทุกเดือน และค่าบริหารจัดการให้แก่ ธพว. ภายใต้โครงการเงินทุนพลิกฟื้น ร้อยละ 1 ต่อปีของยอดสินเชื่อคงค้าง โดยเบิกจ่ายทุก 6 เดือน มีความต่างกันกันอย่างไร
.
ทั้งนี้ สสว. ได้เสนอร่างระเบียบคณะกรรมการบริหารฯ ว่าด้วยการรับและเบิกจ่ายเงินกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่ง รปอ.รก.อสอ.ณัฏฐิญาฯ ได้ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของการกำหนดกรอบวงเงินเพื่อให้ผู้อนุมัติวงเงินว่ามีฐานประมาณเท่าไหร่ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการบริหารงานของกองทุนฯ ต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างกฎบัตรคณะอนุกรรมการตรวจสอบ สสว. ฉบับทบทวน ปี 2567 และกำหนดนิยามวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสตรี เพื่อให้สามารถรับการสนับสนุนความช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงินสำหรับ SME ที่มีสตรีเป็นเจ้าของ/หรือมีสตรีเป็นผู้บริหารจากองค์กรระหว่างประเทศ อาทิ องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เป็นต้น