เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรม ประชุมคณะกรรมการฯ โดยมี นางสาวไพลิน เทียนสุวรรณ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายวชิระ ไม้แพ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย และคณะกรรมการฯ ร่วมประชุม ณ ห้องประชุม อก.1 ชั้น 2 สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
.
โดยคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมได้มีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติกากอุตสาหกรรม พ.ศ. …. ในประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยได้มีการทบทวนหลักการและทำความเข้าใจในประเด็นที่ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ต้องการเข้าไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ประกอบการ จนมากเกินความจำเป็น
.
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือจนได้ข้อยุติในเชิงหลักการทั้งหมดครบถ้วนทุกประเด็น ในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของกฎหมาย ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และ ในส่วนของกองทุน จนแล้วเสร็จเป็นกฎหมายร่างแรกเพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอน ในการตราพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.
นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้หารือถึงแนวทางการพัฒนากองทุนในกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” ในประเด็นที่มาของรายได้ของกองทุนให้สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งการปฏิรูปอุตสาหกรรมของประเทศ การช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องเงินทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยมีความเห็นในหลักการว่า กองทุนควรมีวัตถุประสงค์และอำนาจในการประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้แก่กองทุน เป็นการตรวจสอบ รับรอง หรือการเป็นตัวกลางในกิจกรรมสำคัญของภาคเอกชนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการของกฎหมายกองทุน โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปทำการศึกษาเพิ่มเติมและนำกลับมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
.
โดยคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการปฏิรูปอุตสาหกรรมได้มีการประชุมพิจารณาร่างกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติกากอุตสาหกรรม พ.ศ. …. ในประเด็นต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา โดยได้มีการทบทวนหลักการและทำความเข้าใจในประเด็นที่ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ต้องการเข้าไปบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และในขณะเดียวกัน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนและผู้ประกอบการ จนมากเกินความจำเป็น
.
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือจนได้ข้อยุติในเชิงหลักการทั้งหมดครบถ้วนทุกประเด็น ในขั้นตอนต่อไปจึงเป็นการปรับปรุงในรายละเอียดของกฎหมาย ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม และ ในส่วนของกองทุน จนแล้วเสร็จเป็นกฎหมายร่างแรกเพื่อนำไปสู่การรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอน ในการตราพระราชบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
.
นอกจากนั้น คณะกรรมการยังได้หารือถึงแนวทางการพัฒนากองทุนในกฎหมายดังกล่าว ได้แก่ “กองทุนปฏิรูปอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน” ในประเด็นที่มาของรายได้ของกองทุนให้สอดคล้องกับภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ ทั้งการปฏิรูปอุตสาหกรรมของประเทศ การช่วยเหลือผู้ประกอบการในเรื่องเงินทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการอุตสาหกรรม โดยมีความเห็นในหลักการว่า กองทุนควรมีวัตถุประสงค์และอำนาจในการประกอบกิจการที่ก่อให้เกิดรายได้แก่กองทุน เป็นการตรวจสอบ รับรอง หรือการเป็นตัวกลางในกิจกรรมสำคัญของภาคเอกชนเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับหลักการของกฎหมายกองทุน โดยมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปทำการศึกษาเพิ่มเติมและนำกลับมานำเสนอในการประชุมครั้งหน้า เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงร่างกฎหมายฉบับนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป