Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
ส่งเสริมการค้าผ่านระบบดิจิทัล 'สุชาติ' ร่วมเวที COMCEC กระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับโลกมุสลิม - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » ส่งเสริมการค้าผ่านระบบดิจิทัล ‘สุชาติ’ ร่วมเวที COMCEC กระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับโลกมุสลิม

ส่งเสริมการค้าผ่านระบบดิจิทัล ‘สุชาติ’ ร่วมเวที COMCEC กระชับสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับโลกมุสลิม

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เข้าร่วมประชุม COMCEC ครั้งที่ 40 ณ นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า มุ่งกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศมุสลิม
.
นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนได้รับมอบหมายจาก นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการถาวรว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้า (The Standing Committee for Economic and Commercial Cooperation of the Organisation of the Islamic Cooperation: COMCEC) ครั้งที่ 40 ซึ่งเป็นกลไกหารือด้านเศรษฐกิจสำคัญภายใต้องค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation : OIC) ตามคำเชิญของรัฐบาลสาธารณรัฐตุรกี ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์ของ OIC โดยการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมประจำปีของประเทศสมาชิก OIC ในระดับรัฐมนตรีการค้า เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน
.
นายสุชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 40 ปีของการประชุม COMCEC โดยมี นายเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน (H.E. Recep Tayyip Erdoğan) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐตุรกีเป็นประธานการประชุม และได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในระดับรัฐมนตรี ภายใต้หัวข้อ “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบการชำระเงินของประเทศสมาชิก OIC“ ซึ่งประเทศสมาชิก OIC ต่างได้แลกเปลี่ยนการดำเนินนโยบายและแนวทางการพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในระบบชำระเงินของแต่ละประเทศ
.
สำหรับประเทศไทยได้มีพัฒนาการด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระบบชำระเงินอย่างต่อเนื่อง โดยไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการชำระเงินที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค ซึ่งเกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน เช่น การสนับสนุนธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเงินของเอกชน และการส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้กับผู้บริโภคชาวไทย โดยรัฐบาลไทยมีการดำเนินการที่สำคัญ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National E-payment System) ซึ่งภาครัฐได้ผลักดันการชำระเงินหรือการโอนเงินในระบบพร้อมเพย์โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่และหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน การส่งเสริมสังคมไร้เงินสด เช่น บัตรเดบิต บัตรเครดิต และ e-money การส่งเสริมให้ใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ QR Code และกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Wallet) การส่งเสริมการค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และการปรับปรุงกฎระเบียบให้รองรับกับเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การยกเว้นค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
.
กลุ่มประเทศ OIC ประกอบด้วยสมาชิก 57 ประเทศจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ได้แก่ ตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกาใต้ เอเชียกลาง เอเชียใต้ และอาเซียน ซึ่งนับเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพของไทย เนื่องจากกลุ่ม OIC มีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีความต้องการสินค้าอุปโภคและบริโภคสูง โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาล จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังกลุ่มประเทศ OIC มากขึ้น
.
ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กันยายน) การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศ OIC มีมูลค่า 70,103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกจากไทยมูลค่า 28,673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญจากไทย อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน ข้าว เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ และน้ำตาลทราย และการนำเข้าจากกลุ่ม OIC มูลค่า 41,430 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เคมีภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป และแผงวงจรไฟฟ้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า