วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ครั้งที่ 5/2567 ณ อาคาร 150 ปี ชั้น 20 กระทรวงการคลัง
.
โดยที่ประชุมได้มีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center 2 โครงการใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วยบริษัท ควอตซ์ คอมพิวติ้ง จำกัด ในเครือ Google มูลค่าลงทุน 32,760 ล้านบาท และบริษัท ดิจิทัลแลนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ในเครือ GDS มูลค่าลงทุน 28,000 ล้านบาท ทั้งสองโครงการจะเป็น Data Center ขนาดใหญ่ระดับ Hyperscale ที่มีขีดความสามารถในการประมวลผลสูง และสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้บริการ Cloud Services ทั้งจากผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอัตราการใช้บริการออนไลน์และการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสัดส่วนที่สูง รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing, Internet of Things (IoT) และ AI เพื่อต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร รวมทั้งไทยยังสามารถเป็นฐานในการให้บริการ Data Center แก่ประเทศอื่น ๆ เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโครงการลงทุนในกิจการ Data Center และ Cloud Service ได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 47 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 173,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนจากบริษัทรายใหญ่ทั้งสัญชาติอเมริกัน ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย
.
นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอยังได้อนุมัติให้การส่งเสริมลงทุนโครงการผลิตวัตถุดิบตั้งต้นสำคัญของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่าง Prepreg และ Copper Clad Laminate (CCL) มูลค่าลงทุน 6,150 ล้านบาท ของบริษัท เฉิงยี่ เทคโนโลยี โดยเป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ของโลก ซึ่งตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย เพราะมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม PCB ในประเทศไทย โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ผลิต PCB รายใหญ่ เช่น KCE, APEX, MFLEXflex, reflex, flexo, keflex เป็นต้น การลงทุนของเฉิงยี่ เป็นข้อต่อสำคัญในการสร้างซัพพลายเชนของอุตสาหกรรม PCB ที่กำลังจะเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย โดยโครงการนี้จะตั้งที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และจะมีการจ้างงานบุคลากรไทยกว่า 200 คน
.
ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ ยังได้เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสนับสนุนให้ฟื้นฟูธุรกิจได้โดยเร็ว โดยจะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย รวมถึงอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายจากน้ำท่วม โดยไม่มีภาระภาษีอากร โดยต้องยื่นเอกสารเข้ามาที่บีโอไอภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกประกาศ หรือหากเป็นกรณีประสบอุทกภัยหลังวันที่ออกประกาศ ให้ยื่นเอกสารภายใน 6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดสถานการณ์อุทกภัย
.
นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอยังได้ขยายระยะเวลาและปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน 4 มาตรการสำคัญที่จะสิ้นสุดในปี 2567 ได้แก่ มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยให้ขยายเวลาทั้ง 4 มาตรการถึงสิ้นปี 2568 และได้ปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนจริงขั้นต่ำจาก 1,000 เป็น 2,000 ล้านบาท เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
.
โดยที่ประชุมได้มีการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนกิจการ Data Center 2 โครงการใหญ่ มูลค่ารวมกว่า 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วยบริษัท ควอตซ์ คอมพิวติ้ง จำกัด ในเครือ Google มูลค่าลงทุน 32,760 ล้านบาท และบริษัท ดิจิทัลแลนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด ในเครือ GDS มูลค่าลงทุน 28,000 ล้านบาท ทั้งสองโครงการจะเป็น Data Center ขนาดใหญ่ระดับ Hyperscale ที่มีขีดความสามารถในการประมวลผลสูง และสามารถรองรับการขยายตัวของการใช้บริการ Cloud Services ทั้งจากผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีอัตราการใช้บริการออนไลน์และการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลในสัดส่วนที่สูง รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G, Cloud Computing, Internet of Things (IoT) และ AI เพื่อต่อยอดธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร รวมทั้งไทยยังสามารถเป็นฐานในการให้บริการ Data Center แก่ประเทศอื่น ๆ เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ปัจจุบันมีโครงการลงทุนในกิจการ Data Center และ Cloud Service ได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนรวม 47 โครงการ มูลค่าลงทุนกว่า 173,000 ล้านบาท โดยเป็นการลงทุนจากบริษัทรายใหญ่ทั้งสัญชาติอเมริกัน ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น อินเดีย และไทย
.
นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอยังได้อนุมัติให้การส่งเสริมลงทุนโครงการผลิตวัตถุดิบตั้งต้นสำคัญของแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) อย่าง Prepreg และ Copper Clad Laminate (CCL) มูลค่าลงทุน 6,150 ล้านบาท ของบริษัท เฉิงยี่ เทคโนโลยี โดยเป็นผู้ผลิตอันดับ 2 ของโลก ซึ่งตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทย เพราะมองเห็นแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรม PCB ในประเทศไทย โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นผู้ผลิต PCB รายใหญ่ เช่น KCE, APEX, MFLEXflex, reflex, flexo, keflex เป็นต้น การลงทุนของเฉิงยี่ เป็นข้อต่อสำคัญในการสร้างซัพพลายเชนของอุตสาหกรรม PCB ที่กำลังจะเป็นหนึ่งในเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ของประเทศไทย โดยโครงการนี้จะตั้งที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และจะมีการจ้างงานบุคลากรไทยกว่า 200 คน
.
ที่ประชุมบอร์ดบีโอไอ ยังได้เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสนับสนุนให้ฟื้นฟูธุรกิจได้โดยเร็ว โดยจะยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรที่เสียหาย รวมถึงอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรและวัตถุดิบที่ได้รับความเสียหายหรือสูญหายจากน้ำท่วม โดยไม่มีภาระภาษีอากร โดยต้องยื่นเอกสารเข้ามาที่บีโอไอภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกประกาศ หรือหากเป็นกรณีประสบอุทกภัยหลังวันที่ออกประกาศ ให้ยื่นเอกสารภายใน 6 เดือน นับจากวันที่สิ้นสุดสถานการณ์อุทกภัย
.
นอกจากนี้ บอร์ดบีโอไอยังได้ขยายระยะเวลาและปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน 4 มาตรการสำคัญที่จะสิ้นสุดในปี 2567 ได้แก่ มาตรการรักษาและขยายฐานการผลิตเดิม มาตรการส่งเสริมการย้ายฐานธุรกิจแบบครบวงจร มาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยให้ขยายเวลาทั้ง 4 มาตรการถึงสิ้นปี 2568 และได้ปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนจริงขั้นต่ำจาก 1,000 เป็น 2,000 ล้านบาท เพื่อเร่งให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องในประเทศไทย