วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์) ได้สั่งการให้ลงพื้นที่บริษัท ที แอนด์ ที เวสท์ แมเนจเม้นท์ 2017 จำกัด อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) นายอำเภอศรีมหาโพธิ์ เข้าร่วมตรวจสอบ ซึ่งประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม โดยบริษัทประกอบกิจการทำเชื้อเพลิงทดแทน สกัดโลหะมีค่าจากน้ำยาชุปโลหะ อบกากตะกอนที่มีโลหะมีค่า บดย่อยชิ้นส่วนอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นำกรดและด่างที่ใช้แล้วมาผ่านกรรมวิธีทางอุตสาหกรรมเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ทำเชื้อเพลิงผสม ซ่อมและล้างบรรจุภัณฑ์ หลอมหล่อทองแดงจากกากตะกอนของเสียที่มีทองแดงเป็นส่วนประกอบ คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย
.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้มีคำสั่งปิดโรงงานของบริษัทและเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางโรงงานได้ฝ่าฝืนคำสั่งและยังคงประกอบกิจการอยู่ จึงได้ขอหมายค้นจากศาลจังหวัดปราจีนบุรีเข้าตรวจสอบภายในโรงงาน ผลการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมวิศวกรชาวจีนผู้ดูแลโรงงานดำเนินคดี 1 ราย และคนงานต่างด้าว 4 ราย รวมทั้งพบความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ข้อหาตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต 2) ข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต 3) ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งปิดโรงงาน
.
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสิ่งของที่ยึดและอายัดไว้ในทุกอาคาร พบว่ามีการสูญหายและมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของออกไปนอกพื้นที่ จึงได้ดำเนินการเอาผิดเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ความผิดข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงานตามมาตรา 56 พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 2) ความผิดข้อหาทำลายหรือเคลื่อนย้ายของกลางที่ยึดอายัดตามมาตรา 141 และมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายอาญา 3) เจ้าหน้าที่ดำเนินการนำตัวอย่างวัตถุดิบหรือสิ่งของต่าง ๆ ภายในอาคารมาทดสอบ พบเป็นวัตถุอันตรายและไม่มีใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับได้ทันทีเป็นเหตุให้จับวิศวกรชาวจีนดำเนินคดี และดำเนินคดีกับกรรมการบริษัทและผู้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอย่างถึงที่สุด
.
“รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ“ ได้เน้นย้ำตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” การจัดการกาก สารพิษ ที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อคืนน้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชน โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน การเพิ่มโทษอาญา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้อยู่ระหว่างดำเนินการร่าง พรบ.ว่าด้วยการจัดการกากอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อยกระดับการจัดการกับผู้กระทำผิดต่อไป” หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีฯ ฐิติภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย
.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้มีคำสั่งปิดโรงงานของบริษัทและเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ซึ่งทางโรงงานได้ฝ่าฝืนคำสั่งและยังคงประกอบกิจการอยู่ จึงได้ขอหมายค้นจากศาลจังหวัดปราจีนบุรีเข้าตรวจสอบภายในโรงงาน ผลการตรวจสอบเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมวิศวกรชาวจีนผู้ดูแลโรงงานดำเนินคดี 1 ราย และคนงานต่างด้าว 4 ราย รวมทั้งพบความผิดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1) ข้อหาตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต 2) ข้อหาประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต 3) ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งปิดโรงงาน
.
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบสิ่งของที่ยึดและอายัดไว้ในทุกอาคาร พบว่ามีการสูญหายและมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของออกไปนอกพื้นที่ จึงได้ดำเนินการเอาผิดเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ความผิดข้อหาขัดขวางการปฏิบัติงานตามมาตรา 56 พรบ.โรงงาน พ.ศ.2535 2) ความผิดข้อหาทำลายหรือเคลื่อนย้ายของกลางที่ยึดอายัดตามมาตรา 141 และมาตรา 142 แห่งประมวลกฎหมายอาญา 3) เจ้าหน้าที่ดำเนินการนำตัวอย่างวัตถุดิบหรือสิ่งของต่าง ๆ ภายในอาคารมาทดสอบ พบเป็นวัตถุอันตรายและไม่มีใบอนุญาตครอบครองวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 และเป็นความผิดซึ่งหน้า เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจจับได้ทันทีเป็นเหตุให้จับวิศวกรชาวจีนดำเนินคดี และดำเนินคดีกับกรรมการบริษัทและผู้มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดอย่างถึงที่สุด
.
“รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ“ ได้เน้นย้ำตามนโยบาย “การปฏิรูปอุตสาหกรรม” การจัดการกาก สารพิษ ที่ทำร้ายชีวิตประชาชน โดยปรับการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมทั้งระบบ เพื่อคืนน้ำสะอาด อากาศบริสุทธิ์ให้ประชาชน โดยการแก้ไขกฎหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน การเพิ่มโทษอาญา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนและชุมชนโดยรอบ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้อยู่ระหว่างดำเนินการร่าง พรบ.ว่าด้วยการจัดการกากอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เพื่อยกระดับการจัดการกับผู้กระทำผิดต่อไป” หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีฯ ฐิติภัสร์ กล่าวทิ้งท้าย