วันนี้ (31 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวนโยบายของรัฐบาลต่อการพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อความมั่นคงของชาติ และประชาชนที่ยั่งยืน” ในงานเสวนา “การพัฒนาการจัดบริการสาธารณะด้านพลังงานเพื่อความมั่นคงของประชาชน” ซึ่งจัดโดย สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
.
ในส่วนหนึ่งของปาฐกถาครั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้กล่าวถึงการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานว่า ตนมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประชาชน โดยที่ผ่านมา ตนได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ที่แท้จริง รวมทั้งศึกษากฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และที่สำคัญต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยขุดน้ำมันได้ที่ อ.ฝาง เมื่อกลั่นแล้วเหลือใช้ในกองทัพจึงขายให้กับประชาชน โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการค้าขายเพื่อผลกำไร แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทิศทางการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้มุ่งไปทางธุรกิจมากกว่าความมั่นคง และไม่ได้มีการปรับปรุงด้านกฎหมายมานานกว่า 50 ปีแล้ว
.
นายพีระพันธุ์กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) เหมือนประเทศอื่น ๆ ทำให้ประเทศไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน ตนจึงได้ดำเนินการร่างกฎหมาย SPR เพื่อสร้างระบบสำรองน้ำมันของประเทศไทย โดยที่ภาครัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการลงทุนสร้างคลังน้ำมันและซื้อน้ำมัน และเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติด้วย โดยต่อไปการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศจะเป็นเรื่องของภาครัฐกับผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมัน ไม่ต้องผันผวนรายวันตามราคาขึ้นลงของตลาดโลก
.
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้มีความคืบหน้าในการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันต้องแสดงต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง เพื่อพิจารณาไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนเกินไป และกำลังดำเนินการร่างกฎหมายด้านพลังงานที่สำคัญอีกหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมันและก๊าซ ร่างกฎหมายกำกับดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้งระบบ Solar Rooftop รวมถึง ร่างกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ หรือ Strategic Petroleum Reserve (SPR) ที่จะมาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจพิจารณา และคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปี 2567 นี้
.
“ผมมาทำงานตรงนี้ ไม่ได้มาเพื่อโปรโมทตัวเอง แต่ผมเข้ามาทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของค่าไฟฟ้าผมยืนยันได้ว่า ผมจะสู้เพื่อประชาชน ทำทุกวิถีทางไม่ให้ค่าไฟขึ้น น้ำมันก็เช่นกัน ในอนาคต หากมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่หากทำให้ต้นทุนน้ำมันสูงขึ้น ก็ต้องหาวิธีไม่ให้กระทบกับประชาชน ส่วนแผน Carbon Neutrality และ Net Zero ก็เป็นแผนที่ผมให้ความสำคัญ และได้มอบให้ กฟผ. ไปศึกษาเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับในเขื่อนที่มีอยู่ รวมทั้งการนำแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า นำมาให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด” นายพีระพันธุ์ กล่าว
.
ในส่วนหนึ่งของปาฐกถาครั้งนี้ นายพีระพันธุ์ ได้กล่าวถึงการเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีพลังงานว่า ตนมีจุดมุ่งหมายที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาด้านพลังงานของประชาชน โดยที่ผ่านมา ตนได้ดำเนินการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมัน ที่แท้จริง รวมทั้งศึกษากฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อหาแนวทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของประชาชนอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย และที่สำคัญต้องสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่ประเทศด้วย เพราะในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยเคยขุดน้ำมันได้ที่ อ.ฝาง เมื่อกลั่นแล้วเหลือใช้ในกองทัพจึงขายให้กับประชาชน โดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องการค้าขายเพื่อผลกำไร แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ทิศทางการจัดการด้านพลังงานของประเทศได้มุ่งไปทางธุรกิจมากกว่าความมั่นคง และไม่ได้มีการปรับปรุงด้านกฎหมายมานานกว่า 50 ปีแล้ว
.
นายพีระพันธุ์กล่าวอีกว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve : SPR) เหมือนประเทศอื่น ๆ ทำให้ประเทศไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน ตนจึงได้ดำเนินการร่างกฎหมาย SPR เพื่อสร้างระบบสำรองน้ำมันของประเทศไทย โดยที่ภาครัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการลงทุนสร้างคลังน้ำมันและซื้อน้ำมัน และเพื่อสร้างเสถียรภาพด้านราคาน้ำมัน รวมไปถึงก๊าซธรรมชาติด้วย โดยต่อไปการกำหนดราคาน้ำมันในประเทศจะเป็นเรื่องของภาครัฐกับผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมัน ไม่ต้องผันผวนรายวันตามราคาขึ้นลงของตลาดโลก
.
อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน กระทรวงพลังงานได้มีความคืบหน้าในการกำหนดให้บริษัทผู้ประกอบกิจการค้าน้ำมันต้องแสดงต้นทุนราคาน้ำมันที่แท้จริง เพื่อพิจารณาไม่ให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบประชาชนเกินไป และกำลังดำเนินการร่างกฎหมายด้านพลังงานที่สำคัญอีกหลายฉบับ เช่น ร่างกฎหมายกำกับดูแลการประกอบกิจการค้าน้ำมันและก๊าซ ร่างกฎหมายกำกับดูแลการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดตั้งระบบ Solar Rooftop รวมถึง ร่างกฎหมายจัดตั้งระบบสำรองน้ำมันแห่งชาติ หรือ Strategic Petroleum Reserve (SPR) ที่จะมาดูแลปัญหาราคาน้ำมันแทนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจพิจารณา และคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ภายในปี 2567 นี้
.
“ผมมาทำงานตรงนี้ ไม่ได้มาเพื่อโปรโมทตัวเอง แต่ผมเข้ามาทำในสิ่งที่ต้องทำ ในส่วนของค่าไฟฟ้าผมยืนยันได้ว่า ผมจะสู้เพื่อประชาชน ทำทุกวิถีทางไม่ให้ค่าไฟขึ้น น้ำมันก็เช่นกัน ในอนาคต หากมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่หากทำให้ต้นทุนน้ำมันสูงขึ้น ก็ต้องหาวิธีไม่ให้กระทบกับประชาชน ส่วนแผน Carbon Neutrality และ Net Zero ก็เป็นแผนที่ผมให้ความสำคัญ และได้มอบให้ กฟผ. ไปศึกษาเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำสูบกลับในเขื่อนที่มีอยู่ รวมทั้งการนำแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้า นำมาให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด” นายพีระพันธุ์ กล่าว