‘เนเน่ รัดเกล้า’ ย้ำคนไทยต้องไม่ลืม กรณีรถทัศนศึกษาไฟไหม้ เสนอ ก.ศึกษาฯ บรรจุหลักสูตรพื้นฐานป้องกันภัยรอบตัว หวัง 3 กระทรวงบูรณาการ สร้างรถโรงเรียนมาตรฐาน
.
30 ตุลาคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมวงเสวนา “ครบรอบ 1 เดือน รถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ มาตรฐานความปลอดภัย รถโดยสารอยู่ที่ไหน” ของสภาองค์กรของผู้บริโภค
.
โดย นางรัดเกล้า ได้แสดงความเห็นว่า สำหรับในภาคการเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ใช้พื้นที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการติดตามและให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม ทันทีหลังจากที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นายธนกร หวังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และ จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้มีการหารือในสภาผู้แทนราษฎร ขอให้มีการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบคุณภาพรถบัส คุณภาพของคนขับรถ ทั้งนี้ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบข้อมูลจากในวงเสวนานี้ ว่าได้มีการเข้าพบพูดคุยกับ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ เรื่องปัญหามาตรฐาน มอก. ขอตอกย้ำความมั่นใจว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ รัฐมนตรีเอกนัฏ จะไม่นิ่งดูดาย และจะเดินหน้าแก้ไขปัญหานี้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น และ เพื่อที่จะไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นอีก
.
นางรัดเกล้ายังได้ชื่นชม การทำงานของกรมขนส่งทางบก ที่ในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน สามารถตรวจสอบมาตรฐานรถถึง 25% จึงขอให้กำลังใจกับคนทำงาน นอกจากนี้ในเชิงนโยบาย อยากชวนให้มาคิดกันถึงเรื่องของมาตรฐานรถโรงเรียน ที่มีการพูดคุยกัน จะเป็นในเรื่องของการปรับปรุงรถยนต์ในปัจจุบันให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับขนส่งเด็กนักเรียน ซึ่งในประเทศอื่น อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือ ญี่ปุ่น จะมีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด และสร้างมาตรฐานการออกแบบเพื่อเด็กโดยเฉพาะ เช่น ของประเทศญี่ปุ่น กรณีเด็กนักเรียนจะเดินทางไปทัศนศึกษา ในส่วนของเด็กประถมศึกษา และปฐมวัย ไม่ให้มีการเดินทางออกนอกพื้นที่ และ ห้ามไม่ให้มีการเดินทางทัศนศึกษาโดยเด็ดขาด โดยเป็นมาตรฐานอย่างถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่เด็กโตขึ้นไป หากจะมีการเดินทางในแต่ละครั้ง จะมีการตั้งหน่วยงานหรือบริษัทที่ภายใต้การดูแลของภาครัฐ ขึ้นมาเฉพาะ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของรถ มาตรฐานความปลอดภัยอย่างรอบด้านทุกมิติ ดูแลก่อนที่เด็กจะออกนอกรั้วโรงเรียนไปทัศนศึกษา จะต้องได้รับการตรวจสอบ ต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าว ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถเดินทางออกจากสถานศึกษาได้ ซึ่งภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นให้ความสำคัญในมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอย่างมาก
.
ส่วนทางสหรัฐอเมริกา ที่มีความโดดเด่นเรื่องรถโรงเรียนคันสีเหลือง ที่มีการคิดทุกๆรายละเอียด แม้กระทั่งทำไมต้องใช้สีเหลือง เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์ สีเหลือง เป็นสีที่สายตามนุษย์จะเห็นได้เด่นชัดที่สุด ไม่ว่าจะในแสงสว่าง หรือความมืดก็ตาม มีความใส่ใจในรายละเอียดฟังก์ชัน ถึงขั้นที่ว่า เมื่อรถจอดแล้วเด็กจะลงจากรถ จะมีป้าย STOP กางออกมาจากตัวรถ รวมไปถึงเบาะรถเอง ยังออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรับแรงกระแทก ดังนั้น เมื่อเด็กหรือเยาวชนที่นั่งในรถโรงเรียน แต่จะใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป ทุกพื้นที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานเฉพาะรถโรงเรียนเท่านั้น ห้ามใช้รถอย่างอื่น วัสดุภายในรถ ห้ามใช้ส่วนประกอบที่ติดไฟได้ การอบรมคนขับรถ จะต้องมีใบอนุญาตพิเศษสำหรับการขับรถสำหรับเด็กเท่านั้น ไม่ใช่คนขับรถทั่วไป
.
และยังเห็นด้วยว่า การที่ปล่อยให้โรงเรียนเลือกรถสำหรับรับส่งเด็กนักเรียนเอง เท่ากับเราปล่อยมาตรฐานในความปลอดภัยไม่เท่ากันในแต่ละโรงเรียน ตนจึงอยากชวนกันคิดในเชิงนโยบาย ที่ทุกจังหวัด ทุกโรงเรียน ต้องใช้รถที่มีมาตรฐานเดียวแบบที่สหรัฐอเมริกาใช้ และมีหน่วยงานกลางที่ดูแลมาตรฐานที่ทุกโรงเรียนให้เหมือนกัน และอยากชวนมองไปในอนาคตในเรื่องการบูรณาการ แนวทางที่แก้ไขที่เกิดปัญหาของประเทศไทย เพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เชิงระบบ แต่อยากให้มีความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาการ ในการผลักดันเรื่องของมาตรฐานรถโรงเรียนที่ได้กล่าวมาทั้งหมด
.
นอกจากนี้ ตนขอชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการ ที่ออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัย อาทิ การซ้อมก่อนการเดินทาง จัดให้มีรถนำขบวน ออกกฎให้มีคนขับรถ 2 คน ในเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะในต่างประเทศก็มีกฎข้อบังคับแบบนี้เช่นกัน และขอฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องของหลักสูตรพื้นฐานที่เกี่ยวกับภัยรอบตัว ที่ผ่านมา เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เราก็จะคุยกันในเรื่องเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ควรดูแลอย่างครอบคลุม หาแนวทางแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เพราะเหตุการณ์ในรั้วโรงเรียนที่ส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กมากมาย อาทิ กรณีกราดยิงในโรงเรียน ฝุ่นมลพิษ PM2.5 แผ่นดินไหว และอื่นๆ ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
.
ดังนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการ ควรพิจารณาในการร่างหลักสูตรเรื่องภัยรอบตัวให้กับเด็ก ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยม เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก เกี่ยวกับภัยรอบตัว ไม่ว่าโรงเรียนจะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องฝุ่น ความปลอดภัยในการโดยสาร ในทุกการเดินทาง เช่น การนั่งรถ ลงเรือ โดยสารเครื่องบิน หากเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุไม่ปลอดภัยขึ้นมา เด็กจะสามารถดูแลตนเอง และขอความช่วยเหลืออย่างไรให้ผ่านวิกฤติไปได้ เรื่องเหล่านี้ขอฝากให้บรรจุในหลักสูตรการศึกษาของไทยอย่างเร่งด่วน เพื่อดูแลลูกหลานของเราให้เติบโตได้อย่างมั่นคง และปลอดภัย
.
30 ตุลาคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นตัวแทนพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมวงเสวนา “ครบรอบ 1 เดือน รถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ มาตรฐานความปลอดภัย รถโดยสารอยู่ที่ไหน” ของสภาองค์กรของผู้บริโภค
.
โดย นางรัดเกล้า ได้แสดงความเห็นว่า สำหรับในภาคการเมือง พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ใช้พื้นที่ของสภาผู้แทนราษฎรในการติดตามและให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม ทันทีหลังจากที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นายธนกร หวังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ และ จ่าอากาศเอก อภิชาติ แก้วโกศล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเพชรบุรี เขต 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้มีการหารือในสภาผู้แทนราษฎร ขอให้มีการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบคุณภาพรถบัส คุณภาพของคนขับรถ ทั้งนี้ รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบข้อมูลจากในวงเสวนานี้ ว่าได้มีการเข้าพบพูดคุยกับ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการพรรครวมไทยสร้างชาติ เรื่องปัญหามาตรฐาน มอก. ขอตอกย้ำความมั่นใจว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ รัฐมนตรีเอกนัฏ จะไม่นิ่งดูดาย และจะเดินหน้าแก้ไขปัญหานี้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น และ เพื่อที่จะไม่ให้เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นอีก
.
นางรัดเกล้ายังได้ชื่นชม การทำงานของกรมขนส่งทางบก ที่ในระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน สามารถตรวจสอบมาตรฐานรถถึง 25% จึงขอให้กำลังใจกับคนทำงาน นอกจากนี้ในเชิงนโยบาย อยากชวนให้มาคิดกันถึงเรื่องของมาตรฐานรถโรงเรียน ที่มีการพูดคุยกัน จะเป็นในเรื่องของการปรับปรุงรถยนต์ในปัจจุบันให้เหมาะกับการใช้งานสำหรับขนส่งเด็กนักเรียน ซึ่งในประเทศอื่น อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือ ญี่ปุ่น จะมีกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด และสร้างมาตรฐานการออกแบบเพื่อเด็กโดยเฉพาะ เช่น ของประเทศญี่ปุ่น กรณีเด็กนักเรียนจะเดินทางไปทัศนศึกษา ในส่วนของเด็กประถมศึกษา และปฐมวัย ไม่ให้มีการเดินทางออกนอกพื้นที่ และ ห้ามไม่ให้มีการเดินทางทัศนศึกษาโดยเด็ดขาด โดยเป็นมาตรฐานอย่างถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่เด็กโตขึ้นไป หากจะมีการเดินทางในแต่ละครั้ง จะมีการตั้งหน่วยงานหรือบริษัทที่ภายใต้การดูแลของภาครัฐ ขึ้นมาเฉพาะ เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของรถ มาตรฐานความปลอดภัยอย่างรอบด้านทุกมิติ ดูแลก่อนที่เด็กจะออกนอกรั้วโรงเรียนไปทัศนศึกษา จะต้องได้รับการตรวจสอบ ต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานดังกล่าว ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถเดินทางออกจากสถานศึกษาได้ ซึ่งภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของญี่ปุ่นให้ความสำคัญในมาตรฐานความปลอดภัยเป็นอย่างมาก
.
ส่วนทางสหรัฐอเมริกา ที่มีความโดดเด่นเรื่องรถโรงเรียนคันสีเหลือง ที่มีการคิดทุกๆรายละเอียด แม้กระทั่งทำไมต้องใช้สีเหลือง เพราะตามหลักวิทยาศาสตร์ สีเหลือง เป็นสีที่สายตามนุษย์จะเห็นได้เด่นชัดที่สุด ไม่ว่าจะในแสงสว่าง หรือความมืดก็ตาม มีความใส่ใจในรายละเอียดฟังก์ชัน ถึงขั้นที่ว่า เมื่อรถจอดแล้วเด็กจะลงจากรถ จะมีป้าย STOP กางออกมาจากตัวรถ รวมไปถึงเบาะรถเอง ยังออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรับแรงกระแทก ดังนั้น เมื่อเด็กหรือเยาวชนที่นั่งในรถโรงเรียน แต่จะใช้มาตรฐานความปลอดภัยที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป ทุกพื้นที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานเฉพาะรถโรงเรียนเท่านั้น ห้ามใช้รถอย่างอื่น วัสดุภายในรถ ห้ามใช้ส่วนประกอบที่ติดไฟได้ การอบรมคนขับรถ จะต้องมีใบอนุญาตพิเศษสำหรับการขับรถสำหรับเด็กเท่านั้น ไม่ใช่คนขับรถทั่วไป
.
และยังเห็นด้วยว่า การที่ปล่อยให้โรงเรียนเลือกรถสำหรับรับส่งเด็กนักเรียนเอง เท่ากับเราปล่อยมาตรฐานในความปลอดภัยไม่เท่ากันในแต่ละโรงเรียน ตนจึงอยากชวนกันคิดในเชิงนโยบาย ที่ทุกจังหวัด ทุกโรงเรียน ต้องใช้รถที่มีมาตรฐานเดียวแบบที่สหรัฐอเมริกาใช้ และมีหน่วยงานกลางที่ดูแลมาตรฐานที่ทุกโรงเรียนให้เหมือนกัน และอยากชวนมองไปในอนาคตในเรื่องการบูรณาการ แนวทางที่แก้ไขที่เกิดปัญหาของประเทศไทย เพราะเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง เชิงระบบ แต่อยากให้มีความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาการ ในการผลักดันเรื่องของมาตรฐานรถโรงเรียนที่ได้กล่าวมาทั้งหมด
.
นอกจากนี้ ตนขอชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการ ที่ออกมาตรการต่างๆ มาเพื่อดูแลเรื่องความปลอดภัย อาทิ การซ้อมก่อนการเดินทาง จัดให้มีรถนำขบวน ออกกฎให้มีคนขับรถ 2 คน ในเรื่องนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะในต่างประเทศก็มีกฎข้อบังคับแบบนี้เช่นกัน และขอฝากไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องของหลักสูตรพื้นฐานที่เกี่ยวกับภัยรอบตัว ที่ผ่านมา เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น เราก็จะคุยกันในเรื่องเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นเท่านั้น ควรดูแลอย่างครอบคลุม หาแนวทางแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เพราะเหตุการณ์ในรั้วโรงเรียนที่ส่งผลกระทบกับชีวิตความเป็นอยู่ของเด็กมากมาย อาทิ กรณีกราดยิงในโรงเรียน ฝุ่นมลพิษ PM2.5 แผ่นดินไหว และอื่นๆ ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับเด็ก
.
ดังนั้น ทางกระทรวงศึกษาธิการ ควรพิจารณาในการร่างหลักสูตรเรื่องภัยรอบตัวให้กับเด็ก ตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยม เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก เกี่ยวกับภัยรอบตัว ไม่ว่าโรงเรียนจะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ก็ตาม เพื่อให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องฝุ่น ความปลอดภัยในการโดยสาร ในทุกการเดินทาง เช่น การนั่งรถ ลงเรือ โดยสารเครื่องบิน หากเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุไม่ปลอดภัยขึ้นมา เด็กจะสามารถดูแลตนเอง และขอความช่วยเหลืออย่างไรให้ผ่านวิกฤติไปได้ เรื่องเหล่านี้ขอฝากให้บรรจุในหลักสูตรการศึกษาของไทยอย่างเร่งด่วน เพื่อดูแลลูกหลานของเราให้เติบโตได้อย่างมั่นคง และปลอดภัย