‘ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล’ ยื่นร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ สู่มือประธานสภาฯ หวังปฏิรูป ยกระดับคุณภาพการศึกษา ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ขับเคลื่อนระบบการศึกษาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างเศรษฐกิจฐานราก ลดการย้ายถิ่นเข้ากรุงฯ หางานทำในท้องถิ่น
.
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ห้องแถลงข่าวสภาผู้แทนราษฎร รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองประธานและโฆษกกรรมาธิการการศึกษา พร้อมคณะ ได้ยื่นร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ให้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
.
รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ฉบับนี้ มุ่งพัฒนาส่งเสริม ยกระดับคุณภาพการศึกษา และที่สำคัญคือ การสร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์ ทั้งในระดับพื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เรียน เนื้อหาสาระสำคัญในร่างพรบ.ฉบับนี้ ที่เพิ่มเติมเข้าไป คือการ “รื้อ ลด ปลด สร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์” ซึ่งเป็นนโยบาย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และมอบหมายให้ทำการยื่นร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้
ซึ่งสาระสำคัญคือ ‘รื้อ’ คือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ‘ลด’ คือ ลดภาระครูในการทำวิทยฐานะ ดูจากผลการทำงานเป็นหลัก ไม่เน้นทำเอกสารส่ง ‘ปลด’ คือ ปลดล็อก ให้สามารถเพิ่มสกิลความเก่ง ความสามารถ ผลงานนอกห้องเรียน มาเป็นแต้มต่อในการประเมินผลการเรียนได้ ‘สร้าง’ คือ สร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์เพื่อสนับสนุนตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ในเขตจังหวัด และความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความรู้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่เขตจังหวัดและความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน
.
“ตัวผมเอง ในฐานะ ครู อาจารย์ เล็งเห็นเรื่องการศึกษาถือเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศชาติ การศึกษาไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ควรมองให้ตรงไปตรงมา เน้นตอบโจทย์ความต้องการจริง ๆ อย่างเช่น การตอบโจทย์พื้นที่ ที่มีทั้งเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เสน่ห์ของแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้น หากเราจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ของพื้นที่ เช่นหากจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ จังหวัดท่องเที่ยว ทั้งรายด้านงานบริการ การเพิ่มความรู้ด้านภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 รวมทั้งความรู้เฉพาะทาง หากสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ตอบโจทย์ผู้เรียน นอกจากเรื่องการศึกษาแล้ว ยังสามารถช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยให้เข้มแข็งได้ด้วย” รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว
.
รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวอีกว่า แต่ละภูมิภาคไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หลักสูตรเดียวกัน แต่สามารถกระจายหลักสูตรได้ สามารถปรับหลักสูตรได้ทุก ๆ 3-5 ปี สร้างหลักสูตร ที่ทันสมัย ตอบโจทย์แต่ละจังหวัด ให้กับ นักเรียน นักศึกษา รุ่นใหม่ เพื่อเข้าถึงความเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดนั้น เชื่อว่าหากการศึกษาสามารถสร้างชุมชนเข้มแข็ง ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในพื้นที่ ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองหลวง จนสร้างความแออัดของเมืองในหลวงได้ จะช่วยสามารถพัฒนาประเทศชาติ เริ่มตั้งแต่ เศรษฐกิจฐานราก สู่ความยั่งยืนของประเทศ
.
วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ที่ห้องแถลงข่าวสภาผู้แทนราษฎร รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ในฐานะรองประธานและโฆษกกรรมาธิการการศึกษา พร้อมคณะ ได้ยื่นร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ให้แก่ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
.
รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวว่า ร่างพ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ฉบับนี้ มุ่งพัฒนาส่งเสริม ยกระดับคุณภาพการศึกษา และที่สำคัญคือ การสร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์ ทั้งในระดับพื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เรียน เนื้อหาสาระสำคัญในร่างพรบ.ฉบับนี้ ที่เพิ่มเติมเข้าไป คือการ “รื้อ ลด ปลด สร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์” ซึ่งเป็นนโยบาย จากพรรครวมไทยสร้างชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการศึกษา และมอบหมายให้ทำการยื่นร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับนี้
ซึ่งสาระสำคัญคือ ‘รื้อ’ คือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ‘ลด’ คือ ลดภาระครูในการทำวิทยฐานะ ดูจากผลการทำงานเป็นหลัก ไม่เน้นทำเอกสารส่ง ‘ปลด’ คือ ปลดล็อก ให้สามารถเพิ่มสกิลความเก่ง ความสามารถ ผลงานนอกห้องเรียน มาเป็นแต้มต่อในการประเมินผลการเรียนได้ ‘สร้าง’ คือ สร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์เพื่อสนับสนุนตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ในเขตจังหวัด และความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความรู้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่เขตจังหวัดและความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน
.
“ตัวผมเอง ในฐานะ ครู อาจารย์ เล็งเห็นเรื่องการศึกษาถือเป็นเรื่องที่สำคัญของประเทศชาติ การศึกษาไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ควรมองให้ตรงไปตรงมา เน้นตอบโจทย์ความต้องการจริง ๆ อย่างเช่น การตอบโจทย์พื้นที่ ที่มีทั้งเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ เสน่ห์ของแต่ละพื้นที่ เพราะฉะนั้น หากเราจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ของพื้นที่ เช่นหากจัดการศึกษาให้ตอบโจทย์ จังหวัดท่องเที่ยว ทั้งรายด้านงานบริการ การเพิ่มความรู้ด้านภาษาที่ 2 ภาษาที่ 3 รวมทั้งความรู้เฉพาะทาง หากสามารถตอบโจทย์ผู้ประกอบการ ตอบโจทย์ผู้เรียน นอกจากเรื่องการศึกษาแล้ว ยังสามารถช่วยยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทยให้เข้มแข็งได้ด้วย” รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าว
.
รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ กล่าวอีกว่า แต่ละภูมิภาคไม่จำเป็นที่จะต้องใช้หลักสูตรเดียวกัน แต่สามารถกระจายหลักสูตรได้ สามารถปรับหลักสูตรได้ทุก ๆ 3-5 ปี สร้างหลักสูตร ที่ทันสมัย ตอบโจทย์แต่ละจังหวัด ให้กับ นักเรียน นักศึกษา รุ่นใหม่ เพื่อเข้าถึงความเป็นเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดนั้น เชื่อว่าหากการศึกษาสามารถสร้างชุมชนเข้มแข็ง ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในพื้นที่ ลดปัญหาการย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองหลวง จนสร้างความแออัดของเมืองในหลวงได้ จะช่วยสามารถพัฒนาประเทศชาติ เริ่มตั้งแต่ เศรษฐกิจฐานราก สู่ความยั่งยืนของประเทศ