วันที่ 25 ตุลาคม 2567 นายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์เพื่อรองรับการดำเนินกิจการรังนกแอ่น ว่า
.
ในเรื่องนี้ตนเป็นคนที่รู้จักกับ “นกนางแอ่น” หรือ “นกอีแอ่น” มาพอสมควร ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 นั้น รัฐบาลได้ให้สัมปทานในการเก็บรังนกนางแอ่นผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งมีเอกชนเจ้าเดียวได้รับสัมปทานนกอีแอ่นทั่วทั้งพื้นที่ภาคใต้
.
แต่อย่างไรก็ตาม มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นที่เกาะ 4 และเกาะ 5 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงทั้งสิ้น 7 คน สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการลักลอบเข้าพื้นที่เกาะซึ่งอยู่ในสัมปทานรังนกนางแอ่น และถูกเจ้าของยิงเสียชีวิต
.
ในครั้งนั้นสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้ให้คณะกรรมาธิการการปกครองลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหา และเป็นพื้นฐานที่นำมาสู่การตราพระราชบัญญัติรังนกอีแอ่นในเวลาต่อมา เปลี่ยนวิธีการจัดสรรสัมปทานเสียใหม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรสัมปทานนกอีแอ่นแทนที่จะเป็นกระทรวงการคลังเจ้าเดียว
.
ในคราวที่มีการตราพระราชบัญญัติรังนกอีแอ่นนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดในขณะนั้นคือผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายองค์การบริหารต่างจังหวัด ซึ่งต่อมามีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นเป็นที่มาของการนำเสนอญัตติในครั้งนี้
.
นกอีแอ่นเป็นนกที่มีความพิเศษอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกเป็นนกที่ใช้น้ำลายของตนเองมาทำรัง และรังที่ว่านี้คือสิ่งที่นำมาซื้อขายกันในมูลค่าสูง ประการที่สองนกอีแอ่นเป็นนกนักล่า คือเมื่อบินออกจากรังแล้วจะบินตลอดเวลา ไม่ว่าจะบินไกลแค่ไหนก็ตามจะไม่มีการเกาะตามขอนไม้ หรือสิ่งอื่นใด
.
ทั้งนี้ตนขอเสนอแนวทางในการบริหารจัดการรังนกอีแอ่น 2 ประเภท ได้แก่
.
1.รังนกอีแอ่นที่อยู่ในสัมปทานของรัฐ หรือ นกอีแอ่นเกาะ
2.รังนกอีแอ่นซึ่งมาทำรังในบ้านเรือนของชาวบ้าน
.
สำหรับรังนกอีแอ่นที่อยู่ในสัมปทานของรัฐต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาในตอนต้น
.
สำหรับนกอีแอ่นบ้าน หรือ นกอีแอ่นประเภทที่ 2 นั้น ในช่วงแรกบริเวณประชาชนที่อยู่อาศัยริมชายฝั่งทะเลที่มีบ้านสูงประมาณ 3 ชั้น ในชั้นที่ 3 จะมีนกอีแอ่นเข้าไปทำรัง ส่วนในชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 นั้นประชาชนก็อยู่อาศัยประกอบกับทำกิจการตามปกติ ก่อนที่จะมีการตึกรังนกอีแอ่นโดยเฉพาะ
.
แต่ในปี 2561 ได้เกิดพายุโซนร้อนที่มีชื่อว่า “ปลาบึก” ขึ้นในบริเวณภาคใต้ และหลังจากนั้นนกอีแอ่นที่อาศัยอยู่ตามบ้าน หรือ คอนโดนกอีแอ่น หายไป
.
และการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ป่าที่ออกเมื่อปี 2562 ทำให้การเก็บรังนกอีแอ่นตามบ้านเรือนเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะสัตว์ป่าสงวนนั้นหมายความรวมถึง “นกอีแอ่น” ด้วย ทำให้ในวันนี้ชาวบ้านที่มีนกอีแอ่นในบ้าน แม้จะเก็บได้แต่ไม่สามารถส่งออกได้
.
ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาใน 3 เรื่อง ได้แก่ ทำอย่างไรให้รังนกอีแอ่นบ้านที่จัดเก็บมาได้สามารถส่งออกไปได้ ทำอย่างไรให้การก่อสร้างคอนโดหรือตึกนกอีแอ่นมีความปลอดภัย และทำอย่างไรให้อาหารที่นกอีแอ่นได้รับมีความปลอดภัย
.
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแก้ไขปัญหารังนกอีแอ่นประกอบไปด้วย กรมอุทยาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมอนามัย
.
การจัดระเบียบรังนกอีแอ่นครั้งสุดท้ายที่ทำกันนั้นผ่านมาเกินกว่า 20 ปีแล้ว วันนี้ตนจึงเห็นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มศึกษาหาทางแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบเกี่ยวกับรังนกอีแอ่นใหม่อีกครั้ง
.
ในเรื่องนี้ตนเป็นคนที่รู้จักกับ “นกนางแอ่น” หรือ “นกอีแอ่น” มาพอสมควร ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2540 นั้น รัฐบาลได้ให้สัมปทานในการเก็บรังนกนางแอ่นผ่านกระทรวงการคลัง ซึ่งมีเอกชนเจ้าเดียวได้รับสัมปทานนกอีแอ่นทั่วทั้งพื้นที่ภาคใต้
.
แต่อย่างไรก็ตาม มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นที่เกาะ 4 และเกาะ 5 ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีผู้เสียชีวิตจากการถูกยิงทั้งสิ้น 7 คน สันนิษฐานว่าเสียชีวิตจากการลักลอบเข้าพื้นที่เกาะซึ่งอยู่ในสัมปทานรังนกนางแอ่น และถูกเจ้าของยิงเสียชีวิต
.
ในครั้งนั้นสภาผู้แทนราษฎรแห่งนี้ได้ให้คณะกรรมาธิการการปกครองลงพื้นที่เพื่อสำรวจปัญหา และเป็นพื้นฐานที่นำมาสู่การตราพระราชบัญญัติรังนกอีแอ่นในเวลาต่อมา เปลี่ยนวิธีการจัดสรรสัมปทานเสียใหม่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศเป็นผู้ดำเนินการจัดสรรสัมปทานนกอีแอ่นแทนที่จะเป็นกระทรวงการคลังเจ้าเดียว
.
ในคราวที่มีการตราพระราชบัญญัติรังนกอีแอ่นนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดในขณะนั้นคือผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายองค์การบริหารต่างจังหวัด ซึ่งต่อมามีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด การบริหารจัดการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้นเป็นที่มาของการนำเสนอญัตติในครั้งนี้
.
นกอีแอ่นเป็นนกที่มีความพิเศษอยู่ 2 ประการ คือ ประการแรกเป็นนกที่ใช้น้ำลายของตนเองมาทำรัง และรังที่ว่านี้คือสิ่งที่นำมาซื้อขายกันในมูลค่าสูง ประการที่สองนกอีแอ่นเป็นนกนักล่า คือเมื่อบินออกจากรังแล้วจะบินตลอดเวลา ไม่ว่าจะบินไกลแค่ไหนก็ตามจะไม่มีการเกาะตามขอนไม้ หรือสิ่งอื่นใด
.
ทั้งนี้ตนขอเสนอแนวทางในการบริหารจัดการรังนกอีแอ่น 2 ประเภท ได้แก่
.
1.รังนกอีแอ่นที่อยู่ในสัมปทานของรัฐ หรือ นกอีแอ่นเกาะ
2.รังนกอีแอ่นซึ่งมาทำรังในบ้านเรือนของชาวบ้าน
.
สำหรับรังนกอีแอ่นที่อยู่ในสัมปทานของรัฐต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ดังที่กล่าวมาในตอนต้น
.
สำหรับนกอีแอ่นบ้าน หรือ นกอีแอ่นประเภทที่ 2 นั้น ในช่วงแรกบริเวณประชาชนที่อยู่อาศัยริมชายฝั่งทะเลที่มีบ้านสูงประมาณ 3 ชั้น ในชั้นที่ 3 จะมีนกอีแอ่นเข้าไปทำรัง ส่วนในชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2 นั้นประชาชนก็อยู่อาศัยประกอบกับทำกิจการตามปกติ ก่อนที่จะมีการตึกรังนกอีแอ่นโดยเฉพาะ
.
แต่ในปี 2561 ได้เกิดพายุโซนร้อนที่มีชื่อว่า “ปลาบึก” ขึ้นในบริเวณภาคใต้ และหลังจากนั้นนกอีแอ่นที่อาศัยอยู่ตามบ้าน หรือ คอนโดนกอีแอ่น หายไป
.
และการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองสัตว์ป่าที่ออกเมื่อปี 2562 ทำให้การเก็บรังนกอีแอ่นตามบ้านเรือนเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เพราะสัตว์ป่าสงวนนั้นหมายความรวมถึง “นกอีแอ่น” ด้วย ทำให้ในวันนี้ชาวบ้านที่มีนกอีแอ่นในบ้าน แม้จะเก็บได้แต่ไม่สามารถส่งออกได้
.
ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาใน 3 เรื่อง ได้แก่ ทำอย่างไรให้รังนกอีแอ่นบ้านที่จัดเก็บมาได้สามารถส่งออกไปได้ ทำอย่างไรให้การก่อสร้างคอนโดหรือตึกนกอีแอ่นมีความปลอดภัย และทำอย่างไรให้อาหารที่นกอีแอ่นได้รับมีความปลอดภัย
.
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแก้ไขปัญหารังนกอีแอ่นประกอบไปด้วย กรมอุทยาน กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมอนามัย
.
การจัดระเบียบรังนกอีแอ่นครั้งสุดท้ายที่ทำกันนั้นผ่านมาเกินกว่า 20 ปีแล้ว วันนี้ตนจึงเห็นสมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเริ่มศึกษาหาทางแก้ไขปัญหาและจัดระเบียบเกี่ยวกับรังนกอีแอ่นใหม่อีกครั้ง