25 ตุลาคม 2567 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายในญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการจ่ายเงิน การปรับเพิ่มอัตราค่าตอบแทน และส่งเสริมเส้นทางความก้าวหน้าในการทำงานของบุคลากรถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ว่า
.
ตนได้เสนอญัตติ ที่มีหลักการและเหตุผลคล้ายคลึงกับท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จากญัตติที่ตนเสนอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเข้าระเบียบวาระอาจใช้ระยะเวลาหลายเดือน ตนได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. นั้น มีความไม่มั่นใจในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อบจ. นั้น จะมีความก้าวหน้าหรือความมั่นคงในชีวิตการงานอย่างไร การจ่ายเงินผลตอบแทน และอีกหลายเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้ติดตามสอบถามไปยัง เจ้าหน้าที่ รพสต. ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปหลายประการแล้ว แต่ยังมีปัญหาที่ขอให้มาร่วมกันพิจารณาแนวทางแก้ไข
.
ประเด็นแรก เร่งถ่ายโอนบุคลากรไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล เพื่อให้รพ.สต. แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพให้กับพี่น้องประชาชนในชั้นปฐมภูมิ ยกตัวอย่าง เมื่อในอดีตมีการถ่ายโอนโรงเรียนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลเมือง หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด โรงเรียนเหล่านี้มีศักยภาพทางการศึกษาที่พัฒนามากขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและพี่น้องประชาชน มีการจัดอันดับดีขึ้นสวนทางกับโรงเรียนในสังกัดอื่น นับว่าการย้ายสังกัดมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลถือเป็นแนวทางการกระจายอำนาจที่สามารถตอบโจทย์ทางด้านการศึกษาได้
.
ดังนั้น การที่ รพ.สต. ที่รับการถ่ายโอนไปให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลนั้น คาดว่าจะมีคุณภาพและดูแลสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนได้ดียิ่งขึ้นจากที่ผ่านๆ มา หลังจากการกระจายอำนาจ และการถ่ายโอนไปยังส่วนท้องถิ่นแล้ว ตนได้ติดตามสอบถามทางผู้อำนวยการ รพ.สต. แห่งหนึ่ง ได้ชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าในการบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้น การเติบโตในหน้าที่การงานของบุคลากรมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เคยอยู่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
.
ประเด็นต่อมา ในส่วนของการสนับสนุนงบประมาณการ รพ.สต. อย่างเต็มที่ ย่อมทำให้การให้บริการของพี่น้องประชาชนดียิ่งขึ้น ขอให้ทางกรรมาธิการไปศึกษาเพิ่มเติม ตามที่สำนักงบประมาณได้เคยสัญญาไว้ ในขณะนี้ SML ได้รับน้อยกว่าที่เคยสัญญาไว้ งบประมาณจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะในบางรพ.สต. ต้องนำไปจ้างทันตาภิบาลเพื่อดูแลสุขภาพปากช่องปากให้กับพี่น้องประชาชน เมื่องบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ การจ้างบุคลากร เช่น ทันตาภิบาล ที่มาดูแลพี่น้องประชาชนก็น้อยลง เมื่อ รพ.สต. มีความแข็งแกร่ง ย่อมส่งผลช่วยลดภาระงานโรงพยาบาลหลัก อาทิ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัดได้ นับเป็นการเสริมสร้างสุขภาพในเชิงรุก ช่วยลดการเจ็บไข้ได้ป่วยของพี่น้องประชาชน ตนจึงขอให้ทางหน่วยงานได้ศึกษาและพิจารณางบประมาณอุดหนุนให้รพ.สต. อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ให้สัญญาไว้ หรือให้เป็นไปตามมติครม. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566
.
ประเด็นสุดท้าย เรื่องการถ่ายโอนบุคลากรจากกระทรวงสาธารณสุข มาที่ รพ.สต. เพื่อไปสังกัด อบจ. ทางต้นสังกัดเดิมหรือสาธารณสุขยังไม่ได้อนุมัติอยู่หลายแห่ง ทำให้บุคลากร ของ รพ.สต. ในสังกัดอบจ. ขาดแคลน ตนขอให้ทางสาธารณสุขได้เร่งอนุมัติให้มีการโอนย้ายบุคลากร ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ดูแล เพื่อให้มีบุคลากรในการดูแลพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องความเติบโตในหน้าที่การงานของบุคลากรนั้น บุคลากรที่ถ่ายโอนไปแล้วมีความพึงพอใจ ทำให้บุคลากร รพ.สต. แห่งอื่นขอโยกย้ายตามมา ยกตัวอย่างจ.ราชบุรี มีการถ่ายโอนไป 80 กว่าแห่ง ส่วนอ.บ้านโป่ง ที่ตนเป็นผู้แทนฯ ดูแลนั้น มีการถ่ายโอนไปเพียง 7 แห่ง เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก การที่ รพ.สต. อีกหลายแห่งที่อยากจะถ่ายโอน เพราะมีต้นแบบการถ่ายโอนแล้วการบริหารงานคล่องตัว การเติบโตในหน้าที่การงานชัดเจนมากขึ้น จึงได้รอการอนุมัติการถ่ายโอน ขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงบประมาณ ช่วยเร่งรัดให้มีการถ่ายโอนรพ.สต. ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบจ.ได้ดูแลบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพี่น้องประชาชน
.
ฉะนั้น เมื่อรับทราบถึงมีปัญหาบางส่วนอยู่ประมาณ 3 ประเด็น ขอฝากให้คณะกรรมาธิการที่จัดตั้งขึ้น ได้ติดตามเพื่อที่ส่งเสริมให้รพ.สต. ที่มีการจะถ่ายโอน และถ่ายโอนในอนาคต มีการพัฒนาคุณภาพในการดูแลทางด้านสาธารณสุขให้กับพี่น้องประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ตนจึงขอเสนอญัตตินี้ผ่านไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ทางกรรมาธิการได้รับไปดูแลตามมติในสภา และได้ดำเนินการตามที่อภิปรายไปข้างต้น
.
ตนได้เสนอญัตติ ที่มีหลักการและเหตุผลคล้ายคลึงกับท่านสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ซึ่งในขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จากญัตติที่ตนเสนอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเข้าระเบียบวาระอาจใช้ระยะเวลาหลายเดือน ตนได้รับการร้องเรียนจากบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ รพ.สต. นั้น มีความไม่มั่นใจในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ อบจ. นั้น จะมีความก้าวหน้าหรือความมั่นคงในชีวิตการงานอย่างไร การจ่ายเงินผลตอบแทน และอีกหลายเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งได้ติดตามสอบถามไปยัง เจ้าหน้าที่ รพสต. ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปหลายประการแล้ว แต่ยังมีปัญหาที่ขอให้มาร่วมกันพิจารณาแนวทางแก้ไข
.
ประเด็นแรก เร่งถ่ายโอนบุคลากรไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล เพื่อให้รพ.สต. แข็งแกร่ง มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพให้กับพี่น้องประชาชนในชั้นปฐมภูมิ ยกตัวอย่าง เมื่อในอดีตมีการถ่ายโอนโรงเรียนไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ไม่ว่าจะเป็นเทศบาลเมือง หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด โรงเรียนเหล่านี้มีศักยภาพทางการศึกษาที่พัฒนามากขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและพี่น้องประชาชน มีการจัดอันดับดีขึ้นสวนทางกับโรงเรียนในสังกัดอื่น นับว่าการย้ายสังกัดมาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลถือเป็นแนวทางการกระจายอำนาจที่สามารถตอบโจทย์ทางด้านการศึกษาได้
.
ดังนั้น การที่ รพ.สต. ที่รับการถ่ายโอนไปให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลนั้น คาดว่าจะมีคุณภาพและดูแลสุขภาพอนามัยของพี่น้องประชาชนได้ดียิ่งขึ้นจากที่ผ่านๆ มา หลังจากการกระจายอำนาจ และการถ่ายโอนไปยังส่วนท้องถิ่นแล้ว ตนได้ติดตามสอบถามทางผู้อำนวยการ รพ.สต. แห่งหนึ่ง ได้ชี้แจงสิ่งที่เกิดขึ้นว่าในการบริหารงานมีความคล่องตัวมากขึ้น การเติบโตในหน้าที่การงานของบุคลากรมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากเดิมที่เคยอยู่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
.
ประเด็นต่อมา ในส่วนของการสนับสนุนงบประมาณการ รพ.สต. อย่างเต็มที่ ย่อมทำให้การให้บริการของพี่น้องประชาชนดียิ่งขึ้น ขอให้ทางกรรมาธิการไปศึกษาเพิ่มเติม ตามที่สำนักงบประมาณได้เคยสัญญาไว้ ในขณะนี้ SML ได้รับน้อยกว่าที่เคยสัญญาไว้ งบประมาณจึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะในบางรพ.สต. ต้องนำไปจ้างทันตาภิบาลเพื่อดูแลสุขภาพปากช่องปากให้กับพี่น้องประชาชน เมื่องบประมาณที่ได้รับไม่เพียงพอ การจ้างบุคลากร เช่น ทันตาภิบาล ที่มาดูแลพี่น้องประชาชนก็น้อยลง เมื่อ รพ.สต. มีความแข็งแกร่ง ย่อมส่งผลช่วยลดภาระงานโรงพยาบาลหลัก อาทิ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลอำเภอ โรงพยาบาลจังหวัดได้ นับเป็นการเสริมสร้างสุขภาพในเชิงรุก ช่วยลดการเจ็บไข้ได้ป่วยของพี่น้องประชาชน ตนจึงขอให้ทางหน่วยงานได้ศึกษาและพิจารณางบประมาณอุดหนุนให้รพ.สต. อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยตามที่ให้สัญญาไว้ หรือให้เป็นไปตามมติครม. พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566
.
ประเด็นสุดท้าย เรื่องการถ่ายโอนบุคลากรจากกระทรวงสาธารณสุข มาที่ รพ.สต. เพื่อไปสังกัด อบจ. ทางต้นสังกัดเดิมหรือสาธารณสุขยังไม่ได้อนุมัติอยู่หลายแห่ง ทำให้บุคลากร ของ รพ.สต. ในสังกัดอบจ. ขาดแคลน ตนขอให้ทางสาธารณสุขได้เร่งอนุมัติให้มีการโอนย้ายบุคลากร ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นได้ดูแล เพื่อให้มีบุคลากรในการดูแลพี่น้องประชาชนมากยิ่งขึ้น ส่วนเรื่องความเติบโตในหน้าที่การงานของบุคลากรนั้น บุคลากรที่ถ่ายโอนไปแล้วมีความพึงพอใจ ทำให้บุคลากร รพ.สต. แห่งอื่นขอโยกย้ายตามมา ยกตัวอย่างจ.ราชบุรี มีการถ่ายโอนไป 80 กว่าแห่ง ส่วนอ.บ้านโป่ง ที่ตนเป็นผู้แทนฯ ดูแลนั้น มีการถ่ายโอนไปเพียง 7 แห่ง เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก การที่ รพ.สต. อีกหลายแห่งที่อยากจะถ่ายโอน เพราะมีต้นแบบการถ่ายโอนแล้วการบริหารงานคล่องตัว การเติบโตในหน้าที่การงานชัดเจนมากขึ้น จึงได้รอการอนุมัติการถ่ายโอน ขอฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงบประมาณ ช่วยเร่งรัดให้มีการถ่ายโอนรพ.สต. ไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อบจ.ได้ดูแลบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลพี่น้องประชาชน
.
ฉะนั้น เมื่อรับทราบถึงมีปัญหาบางส่วนอยู่ประมาณ 3 ประเด็น ขอฝากให้คณะกรรมาธิการที่จัดตั้งขึ้น ได้ติดตามเพื่อที่ส่งเสริมให้รพ.สต. ที่มีการจะถ่ายโอน และถ่ายโอนในอนาคต มีการพัฒนาคุณภาพในการดูแลทางด้านสาธารณสุขให้กับพี่น้องประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ตนจึงขอเสนอญัตตินี้ผ่านไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ทางกรรมาธิการได้รับไปดูแลตามมติในสภา และได้ดำเนินการตามที่อภิปรายไปข้างต้น