Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the happy-elementor-addons domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่ เพื่อมุ่งสู่ Carbon Nuetrality - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่ เพื่อมุ่งสู่ Carbon Nuetrality

การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่ เพื่อมุ่งสู่ Carbon Nuetrality

วันนี้ (17 ตุลาคม 2567) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานเปิดงานสัมมนาวิชาการประจำปี Energy Symposium 2024 เรื่อง “การปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับแผนพลังงานใหม่ เพื่อมุ่งสู่ Carbon Nuetrality ณ ห้องวิภาวดีบอลลรูม โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว
.
จัดขึ้นโดย สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและผู้สนใจทั่วไป ได้รับทราบสถานการณ์โลกที่ส่งผลต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจและพลังงาน พร้อมแนวทางการปรับตัวภายใต้แผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ที่กระทรวงพลังงานกำลังนำมาใช้ผลักดันให้ประเทศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065
.
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาเราจะได้ยินเรื่องการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ที่หมายถึง การพยายามทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เป็นกลาง ให้มีความสมดุลกันระหว่างการปล่อยและการดูดกลับด้วยการอนุรักษ์และปลูกป่าไม้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่มาจากการผลิตการใช้พลังงานในทุกภาคส่วน ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นลำดับที่ 20 ของโลก จากทั้งหมด 198 ประเทศ (Climate Watch Data, 2020) ซึ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่มาจากภาคพลังงานประมาณร้อยละ 70 จากการใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งรวมกัน
.
อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงาน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศและเพื่ออำนวยความสะดวก ยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนด้วย จึงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะเลิกใช้พลังงาน แต่เราต้องใช้อย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ซึ่งจะเป็นหนทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างยั่งยืน
.
ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกที่ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ต้องปรับตัวสู่การผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำจากพันธกรณีในระดับโลกที่กำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าและบริการ รวมถึงการเลือกลงทุนในธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยก็เช่นกันที่ต้องปรับตัว ไม่ใช่แค่เพื่อความอยู่รอดในเชิงธุรกิจที่พิจารณาเฉพาะผลตอบแทนในรูปของตัวเงินเท่านั้น แต่เป็นการปรับการดำเนินธุรกิจเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืนของโลกที่รวมถึงทรัพยากรและสิ่งมีชีวิตบนโลกด้วย แผนพลังงานชาติที่กระทรวงพลังงานจัดทำขึ้นได้มุ่งเน้นสู่พลังงานที่มั่นคง ยั่งยืน และเป็นธรรม สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงาน พร้อมกับสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการส่งเสริมพลังงานสะอาด
.
นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ ยังกล่าวอีกว่า สิ่งที่กระทรวงพลังงานให้ความสำคัญและดำเนินการอยู่ คือ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติด้วยการ “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมให้สามารถปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนก็สามารถประยุกต์แนวคิดดังกล่าวได้เช่นกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างการปล่อยคาร์บอนจากดำเนินธุรกิจไปพร้อมกับการดูดกลับด้วยการเพิ่มพื้นที่สีเขียวหรือการชดเชยคาร์บอน จัดการสภาวะปัจจุบันที่เป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่าน โดย “รื้อ” ระบบการผลิตการใช้พลังงานเก่าที่ล่าสมัยไร้ประสิทธิภาพออกไป ซึ่งจะเป็นการ “ลด” การใช้พลังงานของตนเองไปโดยอัตโนมัติ นั่นคือ การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้มีการผลิตที่ใช้พลังงานน้อยลง แต่ได้ผลผลิตที่มากขึ้นด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพพลังงานสูง “ปลด” พันธนาการจากการพึ่งพาพลังงานจากภายนอกด้วยการผลิตพลังงานสะอาดใช้เอง ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถกำหนดและควบคุมต้นทุนด้านพลังงานได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะต้นทุนด้านไฟฟ้าที่การผลิตไฟฟ้าของส่วนกลางต้องนำเข้าเชื้อเพลิง LNG จากต่างประเทศ ทำให้มีต้นทุนสูงและมีราคาผันผวนตามราคาตลาดโลก ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและกระทบต่อความอยู่รอดของภาคอุตสาหกรรม
.
ดังนั้น การที่ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนต้องมีแหล่งพลังงานสะอาดที่สามารถบริหารจัดการได้เองที่จะช่วยลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าได้ โดยปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงกฎระเบียบร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น เพื่อให้มีความทันสมัย ปลดล็อกกฎระเบียบที่ไม่จำเป็น ลดขั้นตอนให้ผู้ประกอบการ และช่วยอำนวยความสะดวกให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวสู่การเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าสะอาดใช้เอง เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางธุรกิจและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของตนเอง นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถ “สร้าง” มูลค่าเพิ่มให้กับของเสียน้ำเสียจากกระบวนการผลิตของตนเองต่อยอดสู่การผลิตเป็นพลังงานทดแทนสำหรับนำกลับมาใช้เอง “สร้าง” ระบบบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของตนเองด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การปรับปรุงระบบขนส่งเป็นรถไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
.
จาก.ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างของการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรม ที่เชื่อว่ามีหลายแห่งที่ได้ดำเนินการไปบ้างแล้ว โดยกระทรวงพลังงานจะเดินหน้าผลักดันต่อไป เพื่อสนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถปรับตัวสู่การผลิตการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน ลดต้นทุนด้านการจัดการทรัพยากรวัตถุดิบและการจัดการของเสีย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และท้ายที่สุดจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาพรวมของประเทศและของโลกเพื่อก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า