Skip to content
Home » แก้ปัญหาหลังก่อสร้าง ‘สส.วิชัย’ แนะบูรณาการหน่วยงานลดปัญหาให้ประชาชน

แก้ปัญหาหลังก่อสร้าง ‘สส.วิชัย’ แนะบูรณาการหน่วยงานลดปัญหาให้ประชาชน

16 ตุลาคม 2567 นายวิชัย สุดสวาสดิ์ สส.ชุมพร เขต 1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. …. ในวาระ 1 ว่า
ขอนำเสนอในที่ประชุม เรื่องของปัญหาที่เกิดกับกรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะระบบราง ซึ่งในเรื่องของการก่อสร้างทราบว่า บางพื้นที่มีการสร้างตอม่อเข้าไปในพื้นที่วัด แล้วเกิดปัญหาการก่อสร้างรางคู่ ที่เดินทางไปถึง จ.ชุมพร การก่อสร้างเมื่อเสร็จเรียบร้อย สร้างปัญหาให้กับประชาชนและมีผลกระทบกับท้องถิ่น โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาและแก้ไขโดยเร่งด่วน
.
ยกตัวอย่างการก่อสร้าง ในพื้นที่ ตําบล นาชะอัง จ.ชุมพร สร้างอุโมงค์ลอดให้กับประชาชน แต่ถึงปัจจุบันยังไม่มีการแก้ไข ตนได้นำมาแจ้งในที่ประชุมหลายครั้งในเรื่องของการแก้ไขปัญหาทางลอดที่ส่งผลกระทบกับพี่น้องประชาชน เช่น ถ้ามีน้ำท่วมเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถใช้การได้ การที่ออกกฎหมายนี้ ควรมีมาตรการควบคุมให้ชัดเจน ที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ไม่โยนภาระทั้งหมดไปให้กับส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้งบประมาณ ยกตัวอย่างการแก้ไขปัญหาที่นาชะอัง ก็ให้ส่วนท้องถิ่นจัดการ
.
ซึ่งถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกไปแล้ว แม้ส่วนท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วม ก็ต้องมีการแก้ไขปัญหาแบบนี้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการออกกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี เนื่องด้วยการจะให้ท้องถิ่นจัดการแก้ไขเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง เพราะแต่ละองค์การส่วนถิ่นมีงบประมาณเพียงเล็กน้อย นี่คือปัญหาที่ยกตัวอย่างขึ้นมา ขอฝากเป็นข้อสังเกตไว้ เพื่อให้คณะกรรมาธิการได้ศึกษาปัญหาและข้อเท็จจริงตรงนี้มาแปรญัตติ และได้นำไปเป็นบรรทัดฐานของการแปรญัตติ
.
ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้ ตนเห็นด้วยและอยากให้เกิดขึ้นจริง โดยมีการออกมาตรการควบคุมเพื่อลดปัญหาของประชาชน เพราะตนเห็นว่าการแก้ไขปัญหาถือว่าไม่ตรงจุด
.
ส่วนในเรื่องมาตรา 39 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการตั้งข้อสังเกต ถึงอำนาจของส่วนท้องถิ่นแต่ละโครงการ การขออนุญาตส่วนท้องถิ่นในเรื่องของการก่อสร้าง ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาล ตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน ติดเขตทางราง ติดเขตทางรถไฟ ซึ่งการขออนุญาตใช้เวลา 2-3 ปี ถือเป็นความยากลำบากในเรื่องของการขออนุญาตเป็นเบื้องต้น
.
การแก้ไขในครั้งนี้ ควรที่จะควบคุมไปทั้งหมด เพื่อจะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมและมีการแก้ไขปัญหา เพื่อทํางานให้กับพี่น้องประชาชนด้วยความรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน ขออนุญาตการก่อสร้าง ในเรื่องของการประปา การเดินท่อประปาเลียบทางรถ เลียบเขตรถไฟ แม้จะมีพื้นที่เพียงนิดเดียว ทราบข่าวจากนายกองค์การบริหารส่วนตําบลทุ่งคา แจ้งว่า ทางการรถไฟขอให้เช่า ดังนั้น ทำไมไม่มีการแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนโดยใช้การบูรณาการร่วมกัน ในเขตพื้นที่อ.เมือง จ.ชุมพร ก็เช่นกัน ขออนุญาตใช้ระยะเวลา 5-6 ปี ก็ยังไม่สามารถก่อสร้างได้
.
โดย นายวิชัย กล่าวต่อไปว่า การบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องชาวไทยมีความยุ่งยาก ถ้ากฎหมายฉบับนี้ออกไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการบูรณาการร่วมกัน ส่วนตัวเชื่อว่าไม่นานก็ต้องแก้ไขปัญหากันอีก เพราะการตีความของผู้บังคับใช้กฎหมาย และการผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย ไปคนละแนวทาง
.
“ส่วนท้องถิ่นมีความตั้งใจในการที่จะแก้ปัญหาให้ประชาชนเช่นกัน ดังนั้นควรที่จะมีการบูรณาการ ระหว่าง กรมการขนส่งทางราง การรถไฟแห่งประเทศไทย กับ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ดังนั้น ขอตั้งเป็นข้อสังเกตและขอฝากไว้ ให้มีการขับเคลื่อนในเรื่องขอ
งการทําในเรื่องของการแปรญัตติให้ตรงประเด็นในระบบบูรณาการร่วมกันเพื่อปัญหาดังกล่าว” นายวิชัย กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า