Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
หวั่นเศรษฐกิจไทยทรุดตัว 'สส.อัครเดช' ขอแบงค์ชาติ เร่งหารือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า ส่อแววกระทบอุตสาหกรรมส่งออก - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » หวั่นเศรษฐกิจไทยทรุดตัว ‘สส.อัครเดช’ ขอแบงค์ชาติ เร่งหารือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า ส่อแววกระทบอุตสาหกรรมส่งออก

หวั่นเศรษฐกิจไทยทรุดตัว ‘สส.อัครเดช’ ขอแบงค์ชาติ เร่งหารือแก้ปัญหาเงินบาทแข็งค่า ส่อแววกระทบอุตสาหกรรมส่งออก

“อัครเดช” ในฐานะประธานกรรมาธิการการอุตสาหกรรม เสนอรัฐบาล-แบงก์ชาติ เร่งออกมาตรการสางปัญหาเงินบาทแข็งค่า หวั่นหากทิ้งไว้เรื้อรังทำเศรษฐกิจชะลอตัว ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกถดถอยส่งผลกระทบทางลบเศรษฐกิจหลายมิติ
.
วันที่ 7 ตุลาคม 2567 นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดราชบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎรได้แสดงถึงความห่วงใยต่ออุตสาหกรรมส่งออกจากปัจจัยเงินบาทแข็งค่า ว่า
.
จากที่ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินสกุลบาทไทยกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อยู่ที่ 33.33 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และเคยมีอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 32.15 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา จากที่เคยอ่อนค่าที่สุดในช่วงเดือนเมษายน 2567 ที่อัตราแลกเปลี่ยน 37.17 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
.
การแข็งค่าของค่าเงินบาทเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลาประมาณ 5 เดือน เท่านั้น และจากอัตราค่าเงินบาทแข็งค่านี้ตนได้รับทราบความเดือดร้อนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออก เนื่องจากด้วยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทำให้การแลกเงินที่ได้รับจากการส่งออกกลับเป็นเงินบาทแลกได้น้อยลง
.
ยกตัวอย่าง จากแต่เดิมส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง 1 กระป๋องราคา 100 ดอลลาร์ เมื่อค่าเงินบาทอ่อนที่สุดสามารถแลกเป็นเงินบาทได้ 3,717 บาท แต่เมื่อเงินบาทแข็งค่าที่สุดจะสามารถแลกเป็นเงินบาทได้เพียง 3,215 บาทเท่านั้น
.
การที่รายได้ของผู้ประกอบการที่ลดน้อยลง ย่อมส่งผลกระทบในอุตสาหกรรมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นศักยภาพการแข่งขันที่ลดลงส่งผลการชะลอตัวของการจ้างงานในอุตสาหกรรม, การลดการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการตัดลดงบพัฒนาและวิจัย(R&D)ในอุตสาหกรรมลง ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในอนาคตลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
.
และจากการที่การส่งออกเป็นหนึ่งใน 4 เครื่องยนต์ของเศรษฐกิจไทย การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าเช่นนี้ย่อมทำให้เครื่องยนต์ส่งออกอ่อนกำลังลงอย่างชัดเจนส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงโดยเฉพาะการจ้างงานที่ลดลงจะส่งผลกระทบเศรษฐกิจในประเทศทำให้ประชาชนขาดกำลังซื้อนอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมส่งออกอีกด้วย
.
ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการอุตสาหกรรมจึงขอส่งเสียงไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน ให้พิจารณาทบทวนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่เหมาะสมทั้งต่อเสถียรภาพทางเงินของประเทศ และลดผลเสียที่จะเกิดต่อระบบเศรษฐกิจไทย
.
รวมถึงรัฐบาลในฐานะผู้กำหนดนโยบายทางการคลังของประเทศต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อประคับประคองอุตสาหกรรมส่งออก ให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลได้ต่อไป และที่ดีที่สุดทั้งรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องเร่งหารือเพื่อหาทางออกของปัญหาค่าเงินแข็งตัวโดยเร็ว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า