‘เกชา’ สส.บัญชีรายชื่อ รวมไทยสร้างชาติ ชื่นชม โครงการสร้างถนนเลียบคลองชลประทาน ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี ประชาชนได้ประโยชน์ หวังมีโครงการทั่วประเทศ
.
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท เกี่ยวกับการสร้างถนนลาดยาง บนคันคลองชลประทานทั่วประเทศ ที่ในปัจจุบันมีการก่อสร้างเป็นถนน 2 เลน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา
.
โดย ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงราชบุรี ได้ทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 4 เรื่องการสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี บนคันคลองระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร มีการขยายจาก 2 เลน เป็น 4 เลน โดยใช้คลองส่งน้ำเป็นเกาะกลาง ซึ่งในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 อธิบดีกรมทางหลวงชนบทขณะนั้น ได้มีหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการขยายถนน สาย กจ.4004 เลียบคลองชลประทาน เชื่อม 3 จังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี โดยมีรองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท เป็นประธานฯ
.
โครงการนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน 3 จังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี ทำให้อีกฝั่งหนึ่งของคลองชลประทาน ได้รับความเจริญรุ่งเรือง สามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรในการขนย้ายพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการท่องเที่ยว ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น จึงอยากให้โครงการนี้ดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จ และสามารถนำไปขยายถนนเลียบคลองชลประทานทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน
.
วันที่ 3 ตุลาคม 2567 นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้หารือในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรผ่านไปยังกรมทางหลวงชนบท เกี่ยวกับการสร้างถนนลาดยาง บนคันคลองชลประทานทั่วประเทศ ที่ในปัจจุบันมีการก่อสร้างเป็นถนน 2 เลน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา
.
โดย ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงราชบุรี ได้ทำหนังสือถึง ผู้อำนวยการสำนักงานทางหลวงที่ 4 เรื่องการสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี บนคันคลองระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร มีการขยายจาก 2 เลน เป็น 4 เลน โดยใช้คลองส่งน้ำเป็นเกาะกลาง ซึ่งในวันที่ 19 สิงหาคม 2567 อธิบดีกรมทางหลวงชนบทขณะนั้น ได้มีหนังสือแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการขยายถนน สาย กจ.4004 เลียบคลองชลประทาน เชื่อม 3 จังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี โดยมีรองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท เป็นประธานฯ
.
โครงการนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน 3 จังหวัด ราชบุรี – เพชรบุรี – กาญจนบุรี ทำให้อีกฝั่งหนึ่งของคลองชลประทาน ได้รับความเจริญรุ่งเรือง สามารถใช้เป็นเส้นทางสัญจรในการขนย้ายพืชผลทางการเกษตร รวมทั้งการท่องเที่ยว ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น จึงอยากให้โครงการนี้ดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จ และสามารถนำไปขยายถนนเลียบคลองชลประทานทั่วประเทศ เพื่อประโยชน์แก่พี่น้องประชาชน