Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน 'เอกนัฏ' สั่ง กนอ.ดูแลนิคมฯ พร้อมรับมือน้ำท่วม-เหตุฉุกเฉิน ยันแม่น้ำกวงปลอดภัย - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ‘เอกนัฏ’ สั่ง กนอ.ดูแลนิคมฯ พร้อมรับมือน้ำท่วม-เหตุฉุกเฉิน ยันแม่น้ำกวงปลอดภัย

สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ‘เอกนัฏ’ สั่ง กนอ.ดูแลนิคมฯ พร้อมรับมือน้ำท่วม-เหตุฉุกเฉิน ยันแม่น้ำกวงปลอดภัย

‘เอกนัฏ’ สั่ง กนอ. เฝ้าระวังน้ำรอบการนิคมฯเต็มที่ ยันระดับน้ำแม่น้ำกวงภาคเหนือยังปลอดภัย แต่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจนักลงทุนและชุมชนรอบข้าง
.
นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เฝ้าระวังและป้องกันอุทกภัยอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่โดยรอบนิคมอุตสาหกรรม พร้อมเตรียมแผนการรับมือและการเตรียมความพร้อม ทั้งนี้ กนอ.รายงานว่าได้ดำเนินการทดสอบระบบระบายน้ำในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเข้มข้น เพื่อให้มั่นใจว่าระบบสามารถรองรับปริมาณน้ำฝนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีมาตรการเฝ้าระวังสถานการณ์ ดังนี้ 1.มีการติดตามสถานการณ์น้ำและสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถแจ้งเตือนและดำเนินการป้องกันได้ทันท่วงที 2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับสถานการณ์เฉพาะพื้นที่ เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปู สถานการณ์ปัจจุบันยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีฝนตกหนักต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “Rain Bomb” ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบระบายน้ำ ส่วนสถานการณ์แม่น้ำกวง ล่าสุดมีรายงานว่า ระดับน้ำในแม่น้ำกวงปัจจุบันอยู่ต่ำกว่าระดับเขื่อนป้องกันน้ำท่วมของนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือถึง 2 เมตร ซึ่งยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การเฝ้าระวังและป้องกันน้ำท่วมเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจและสังคม และสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและประชาชนในพื้นที่
.
ด้าน นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ กนอ. รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการ กนอ. กล่าวว่า กนอ. ได้กำชับไปยังนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 68 แห่งทั่วประเทศ ให้ติดตามและเฝ้าระวังการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ต้องดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างเคร่งครัด และเตรียมการให้พร้อมสำหรับกรณีเกิดเหตุน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ สำหรับนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เสี่ยง เช่น นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยา ประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน นิคมอุตสาหกรรมบ้านหว้า (ไฮเทค) และนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง มีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมแล้ว 100% แต่เรายังคงต้องเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลการระบายน้ำจาก 3 เขื่อนหลัก ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และ เขื่อนพระรามหก อย่างใกล้ชิด พร้อมจัดให้มีการตรวจสอบระดับน้ำในแม่น้ำและปริมาณน้ำฝนตลอด 24 ชั่วโมง เนื่องจากหากเกิดน้ำท่วมในพื้นที่โดยรอบ รวมถึงถนน จะทำให้การสัญจรเข้า-ออก นิคมฯ มีปัญหา อาจส่งผลกระทบถึงเรื่องการขนส่งแรงงาน วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม ขณะที่นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่อื่นๆ มีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมไว้เกือบครบทุกนิคมอุตสาหกรรม ยกเว้น นิคมอุตสาหกรรมบางปูที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังตามมาตรการป้องกันและมาตรการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนี้ 1.สำรวจและติดตามข้อมูลอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2.ประเมินคาดการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่ 3.ตรวจสอบและซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ให้ใช้งานได้ 100% 4.สูบระบายพร่องน้ำภายในพื้นที่นิคมฯ ให้อยู่ในระดับต่ำสุด ให้มีพื้นที่แก้มลิงรองรับน้ำฝนมากที่สุด 5.ประสานจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่สำรองจากภายนอกเข้าสนับสนุนหากมีการร้องขอ 6.ให้มีการประเมินสถานการณ์ พร้อมสื่อสารให้ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม และผู้เกี่ยวข้องทราบอย่างต่อเนื่อง 7.กำหนดให้ทุกนิคมอุตสาหกรรมซ้อมแผนฉุกเฉินรองรับอุทกภัยเป็นประจำ และ 8.กรณีมีความเสี่ยงเกิดอุทกภัย เช่น ปริมาณน้ำฝนในนิคมฯ มากกว่า 120 มิลลิเมตร ให้รีบรายงานกลับมาที่ผู้ว่าการ กนอ. หรือผู้บริหาร กนอ. ทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ
.
ส่วนมาตรการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินนั้น มีการเตรียมพร้อมสูบระบายน้ำออกนอกพื้นที่นิคมฯ เต็มกำลังทุกสถานีสูบน้ำประสานหน่วยท้องถิ่นชลประทานจังหวัดเพื่อขอการสนับสนุนในด้านอุปกรณ์และการสูบระบายน้ำภายนอกนิคมฯ ประเมินสถานการณ์ สรุปข้อมูลปริมาณน้ำฝน คาดการณ์ปริมาณน้ำท่วมขังในพื้นที่มีการสื่อสารรายงานสถานการณ์กับ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนกว่าสถานการณ์จะยุติ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า