“ศาสตรา ศรีปาน” ชี้ทุกฝ่ายเห็นข้อจำกัดการผลิตสุราเหมือนกัน ต่างกันเพียงวิธีการทลายข้อจำกัด ย้ำกฎหมายสุรารวมไทยรอบคอบทุกมิติ ทั้งอันตราย-คุณภาพ-สิ่งแวดล้อม
.
วันที่ 18 กันยายน 2567 นายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา เขต 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ว่า
.
สำหรับการอภิปรายในวันนี้นั้น ตนเชื่อว่าทุกฝ่ายมองเห็นปัญหาเหมือนกันคือการผลิตสุราลำบาก แต่มองเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน
.
สำหรับการปลดล็อกให้สุราจะต้องทำอยู่ 2 ส่วนหรือ 2 การปลดล็อกด้วยกัน คือ จะต้องแก้ไขปริมาณขั้นต่ำในการผลิตจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 30,000 ลิตรต่อวันซึ่งเยอะมาก
.
และอีกล็อกหนึ่งคือกำหนดขนาดเครื่องจักรในการผลิตที่มีหลายขนาดทั้ง S M และ L ซึ่งมีไว้เพื่อควบคุมผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
.
ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน คือ ร่างกฎหมายฉบับพรรคฝ่ายค้านผู้ผลิตที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าสามารถผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
.
สำหรับตน การไม่ต้องขออนุญาตหมายความว่าเป็นการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งในการผลิตสุราจะต้องมีการควบคุมการทิ้งกากของเสียไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
.
รวมถึงควบคุมอายุของผู้ผลิต ตนไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายไปก่อน เนื่องจากการแก้ไขปัญหาจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างยาวนาน
.
และประการสุดท้ายหากไม่มีการขออนุญาต แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้วิธีการใดเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของสุรา ประชาชน และผู้บริโภคจะสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าสุราปลอดภัย
.
สุดท้ายตนขอเน้นย้ำว่าทุกฝ่ายต่างเห็นภาพของปัญหาเหมือนกัน แต่วิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกัน แต่ร่างกฎหมายสุรารวมไทยนั้นมีความรอบคอบทั้งต่ออันตราย คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย
.
วันที่ 18 กันยายน 2567 นายศาสตรา ศรีปาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสงขลา เขต 2 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายร่างพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ว่า
.
สำหรับการอภิปรายในวันนี้นั้น ตนเชื่อว่าทุกฝ่ายมองเห็นปัญหาเหมือนกันคือการผลิตสุราลำบาก แต่มองเห็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน
.
สำหรับการปลดล็อกให้สุราจะต้องทำอยู่ 2 ส่วนหรือ 2 การปลดล็อกด้วยกัน คือ จะต้องแก้ไขปริมาณขั้นต่ำในการผลิตจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 30,000 ลิตรต่อวันซึ่งเยอะมาก
.
และอีกล็อกหนึ่งคือกำหนดขนาดเครื่องจักรในการผลิตที่มีหลายขนาดทั้ง S M และ L ซึ่งมีไว้เพื่อควบคุมผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
.
ประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งในวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน คือ ร่างกฎหมายฉบับพรรคฝ่ายค้านผู้ผลิตที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้าสามารถผลิตได้โดยไม่ต้องขออนุญาต
.
สำหรับตน การไม่ต้องขออนุญาตหมายความว่าเป็นการที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งในการผลิตสุราจะต้องมีการควบคุมการทิ้งกากของเสียไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
.
รวมถึงควบคุมอายุของผู้ผลิต ตนไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายไปก่อน เนื่องจากการแก้ไขปัญหาจะต้องใช้ระยะเวลาอย่างยาวนาน
.
และประการสุดท้ายหากไม่มีการขออนุญาต แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะใช้วิธีการใดเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของสุรา ประชาชน และผู้บริโภคจะสามารถมั่นใจได้อย่างไรว่าสุราปลอดภัย
.
สุดท้ายตนขอเน้นย้ำว่าทุกฝ่ายต่างเห็นภาพของปัญหาเหมือนกัน แต่วิธีการแก้ไขปัญหาแตกต่างกัน แต่ร่างกฎหมายสุรารวมไทยนั้นมีความรอบคอบทั้งต่ออันตราย คุณภาพ และสิ่งแวดล้อม ของประเทศไทย