Skip to content
Home » แก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน ‘อนุชา’ เสนอ รบ. ใช้แนวทางดึงทรัพย์สินตัดเงินต้น

แก้หนี้ครัวเรือนยั่งยืน ‘อนุชา’ เสนอ รบ. ใช้แนวทางดึงทรัพย์สินตัดเงินต้น

“อนุชา บูรพชัยศรี” เสนอรัฐบาลใช้แนวทางดึงสินทรัพย์ตัดเงินต้นแทนปรับโครงสร้างแบบยืดระยะเวลา แก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนพุ่งสูง เชื่อแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนระยะยาวได้
.
วันที่ 13 กันยายน 2567 นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปรายในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของคณะรัฐมนตรี ว่า
.
จากข้อมูลของผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในเดือนกันยายนนี้ หนี้ครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น 8.4 เปอร์เซ็นต์ เข้าสู่ระดับ 6 แสนบาท เป็นหนี้ครัวเรือนที่สูงที่สุดในรอบ 15 ปี โดยหนี้ครัวเรือนที่สูงนี้ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ฉุดให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ช้ากว่าที่ควรจะเป็น และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้แสดงความกังวลในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
.
และจากผลสำรวจ ยังเผยให้เห็นอีกว่า มีการผิดนัดชำระหนี้ และหนี้นอกระบบเติบโตขึ้นเป็นร้อยละ 30
.
นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่ได้มีการแถลงนั้น มีการกล่าวถึงการแก้ปัญหาโดยปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้าน และรถ รวมทั้งช่วยเหลือลูกหนี้ในระบบ และนอกระบบภายใต้ปรัชญาที่จะต้องไม่ขัดต่อวินัยทางการเงิน และไม่ทำให้เกิดภัยทางจริยธรรม ควบคู่การให้ความรู้ทางการเงิน และการออมรูปแบบใหม่ ๆ
.
การปรับโครงสร้างหนี้มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการยืดระยะเวลา การลดดอกเบี้ย หรือการพักชำระหนี้เงินต้น แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากที่กล่าวมา ตนเสนอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับแนวทางลดหนี้ส่วนเงินต้น เพื่อให้ลดยอดรวมของหนี้สินให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าผ่านการโอนทรัพย์ชำระหนี้ผ่านบริษัทบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Company) เพื่อบริหารหนี้เสียหรือ Non Performing Loan ซึ่งเป็นบริษัทที่รับซื้อหนี้เสียจากสถาบันทางการเงินประเภทต่าง ๆ และนำมาปรับโครงสร้างหนี้ร่วมกับลูกหนี้จะเป็นแนวทางที่สามารถหาทางออกที่เป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย รัฐบาลควรสนับสนุนการจัดตั้งบริษัทประเภทนี้
.
การปรับโครงสร้างหนี้ประเภทอื่นนั้น สุดท้ายเมื่อหนี้ไม่ได้ลดลงจะเป็นภาระในการชำระหนี้ต่อไปจนถึงรุ่นลูก รุ่นหลาน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นได้
.
ดังนั้น การตัดสินทรัพย์บางส่วนออกมาเพื่อชำระหนี้ คือทางออกและสำหรับข้าราชการที่มีกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. สามารถแก้ไขปัญหาการลดเงินต้นผ่านการหักเงินจาก กบข. เพื่อลดยอดหนี้ให้ได้มากที่สุด คล้ายกับที่ภาคเอกชนดึงเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเพื่อยุบยอดหนี้ของบุคลากรในองค์กรให้มากที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า