Skip to content
Home » จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ‘เนเน่ รัดเกล้า’ หวัง ‘โอลิมปิกหุ่นยนต์’ เติมฝันเยาวชนไทย

จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ ‘เนเน่ รัดเกล้า’ หวัง ‘โอลิมปิกหุ่นยนต์’ เติมฝันเยาวชนไทย

“เนเน่ รัดเกล้า” ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ส่งตัวแทนร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ เผยช่วยสร้างแรงบันดาลใจเยาวชนพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์
.
วันที่ 23 สิงหาคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ เข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ประจำปี พ.ศ. 2567 สนามพิเศษ ชิงถ้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านการออกแบบและเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์
.
สำหรับโครงการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ (WRO 2024: World Robot Olympiad 2024) ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ฯ และเอกชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
.
การแข่งขันในครั้งนี้มีทีมเข้าร่วมกว่า 60 ทีม หรือ 300 คน การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การแข่งขัน ฯ ประเภทโครงงาน จำนวน 26 ทีม, การแข่งขัน ฯ ประเภท ROBOSPORTS (การแข่งขัน Double Tennis) จำนวน 26 ทีม และการแข่งขันฯ ประเภท FUTURE ENGINEERS (การแข่งขันหุ่นยนต์ Self-Driving Car) จำนวน 8 ทีม
.
โดยการแข่งขัน ฯ ประเภท FUTURE INNOVATORS (ประเภทโครงงาน) ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกแบบโครงงานหุ่นยนต์ตามหัวข้อที่กำหนดในแต่ละปี และนำเสนอโครงงานนั้นๆ ต่อคณะกรรมการ โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี และ รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี
.
ในประเภทการแข่งขัน ROBOSPORT (ช่วงอายุที่แข่งขัน 11-19 ปี) ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องออกแบบหุ่นยนต์ 2 ตัว เพื่อทำภารกิจ Double Tennis หุ่นยนต์จะถูกเขียนโปรแกรมเพื่อเล่นเกมโดย อัตโนมัติและทำงานร่วมกัน
.
และในการแข่งขันฯ ประเภท FUTURE ENGINEERS (ช่วงอายุที่แข่งขัน 14-19 ปี ) ทีมต้องให้ความสำคัญกับทุกส่วนของกระบวนการทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยทีมจะได้รับคะแนนโบนัสจากการจัดทำเอกสารกระบวนการ และสร้างที่เก็บ GitHub เป็นสาธารณะ โดยมีโจทย์ในการแข่งขัน คือ รถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งรถยนต์จำเป็นต้องขับเคลื่อนอย่างอัตโนมัติบนเส้นทางที่สุ่มเปลี่ยนไปในแต่ละรอบ
.
ผู้ชนะการแข่งขัน ฯ ในแต่ละประเภทจะได้รับสิทธิ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันฯ ระดับนานาชาติ ณ สาธารณรัฐตุรกี ในลำดับต่อไป
.
นางรัดเกล้า กล่าวว่า การแข่งขันในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยในการพัฒนาวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยพัฒนา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า