Skip to content
Home » หวั่นเกิดประโยชน์ทับซ้อน!! ‘อนุชา’ ค้าน พ.ร.บ. ขนส่งทางบกเสนอโดยฝ่ายค้าน

หวั่นเกิดประโยชน์ทับซ้อน!! ‘อนุชา’ ค้าน พ.ร.บ. ขนส่งทางบกเสนอโดยฝ่ายค้าน

หวั่นเกิดประโยชน์ทับซ้อน!! “อนุชา” ค้าน พ.ร.บ. ขนส่งทางบกเสนอโดยฝ่ายค้าน ให้ยกอำนาจผู้นำท้องถิ่นอนุมัติและควบคุมเดินรถ ในขณะเดียวกันก็ยังรับสัมปทานเดินรถเองด้วย
.
“อนุชา บูรพชัยศรี” ค้าน ร่าง พ.ร.บ. ขนส่งทางบก ยืนยันท้องถิ่นมีอำนาจเต็มเดินรถเมล์เอง ชี้ หากแก้กฎหมาย ยกอำนาจการจัดการและควบคุมการเดินรถ หวั่นเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน

วันที่ 21 สิงหาคม 2567 นายอนุชา บูรพชัยศรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้อภิปราย ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ว่า ปัจจุบันต้องยอมรับว่ารถโดยสารสาธารณะยังไม่เพียงพอต่อการให้บริการพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด ที่ยังเป็นปัญหาที่มีความสำคัญยิ่ง

แต่อย่างไรก็ตาม การไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับการกระจายอำนาจ และไม่ใช่การไม่เห็นด้วยกับการที่จะให้ต่างจังหวัดมีระบบขนส่งมวลชนที่ดี เพราะการกล่าวเช่นนั้นเป็นการไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดของ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้
.
ประเด็นแรกในส่วนของการกระจายอำนาจนั้นมี พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งกำหนดแผนแม่บทในการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่แล้ว
.
และกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ได้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าวอยู่แล้ว ทั้งการถ่ายโอนภารกิจสถานีขนส่งผู้โดยสารที่มีการถ่ายโอนภารกิจแล้วทั้งสิ้น 97 สถานี และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1 สถานี
.
ประเด็นต่อมาคือ การให้สัมปทานเดินรถนั้น กระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2567) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวได้ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งในพื้นที่ของตนเองได้ และเมื่อได้รับการอนุญาตแล้วยังสามารถให้เอกชนเป็นผู้บริหารจัดการและดำเนินการได้ด้วย
.
ทั้งหมดนี้คือจะเน้นย้ำว่า สถานะปัจจุบันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการเดินรถคือเป็นผู้ให้บริการหรือ Operator
.
ประเด็นต่อมาหากมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ตามร่าง พ.ร.บ. ที่ได้เสนอมาย่อมจะทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจะให้อำนาจนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือ นายก อบจ. ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด ซึ่งมีอำนาจพิจารณาอนุญาตให้มีการเดินรถในเขตจังหวัด
.
หากมีการแก้ไขตามร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้จะทำให้นายก อบจ. มีอีกสถานะคือสถานะผู้ควบคุมการขนส่งในพื้นที่ หรือ Regulator ด้วย ด้วยเหตุนี้จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นทั้ง Operator และ Regulator ขัดแย้งกับแนวทางที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ที่จะแยกสถานะทั้ง 2 นี้ออกจากกัน
.
ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า