Skip to content
Home » ‘ดร.ปรเมษฐ์-เนเน่’ ร่วมเสวนาการศึกษาฯ เสนอแนวคิดค้นหาตัวเองให้เร็ว เร่งัฒนาคุณภาพครู

‘ดร.ปรเมษฐ์-เนเน่’ ร่วมเสวนาการศึกษาฯ เสนอแนวคิดค้นหาตัวเองให้เร็ว เร่งัฒนาคุณภาพครู

ดร.ปรเมษฐ์ จินา-เนเน่ รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี ร่วมวงเสวนาแก้ไขปัญหาทรัพยากรทางการศึกษาฯ เสนอ “พานิภัค โมเดล” เด็กและเยาวชน ค้นพบตัวเองเร็วเดินหน้าสู่อนาคตได้เร็ว แนะเสริมศักยภาพครูติดอาวุธทางการศึกษา
.
วันที่ 17 สิงหาคม 2567 ดร.ปรเมษฐ์ จินา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 5 พร้อมด้วย นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ ร่วมเสวนาในเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นความเป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรการศึกษาทั้งในและนอกระบบของ จ.สุราษฎร์ธานี ในกิจกรรม “ธนาคารโอกาสและถนนครูเดิน ครั้งที่ 2” และเวทีเสวนาเพื่อเคลื่อนขบวนความร่วมมือ “All for Education – Education for All” ซึ่งจัดโดย กองทุนเสมอภาคทางการศึกษา(กสศ.) ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา หน่วยบริการ ALTV องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ในวันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2567 ณ โรงเรียนศรีสุวรรณ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี
.
ดร.ปรเมษฐ์ จินา กล่าวว่า ในฐานะที่เคยดำรงตำแหน่งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้เคยรับผิดชอบดูแลในเรื่องของทั้งการสาธารณสุขและการศึกษา
.
ปัญหาโดยพื้นฐานของสังคมจะมีอยู่ 3 ประเด็นหลัก ๆ คือ เรื่องการแก้ปัญหาขาดความรู้ผ่านการศึกษา การแก้ปัญหาการเจ็บป่วยผ่านการสาธารณสุข แก้ปัญหาความยากจนผ่านการสร้างรายได้ ถ้าแก้ปัญหา 3 ประเด็นนี้ได้ปัญหาสังคมอื่น ๆ จะหมดไป
.
ประเด็นสำคัญของสุราษฎร์ธานี คือ การแก้ปัญหาการยุบเลิกโรงเรียน ตนเห็นว่าจะต้องมีการปรับโมเดลของการศึกษาให้สอดคล้องกับพื้นที่มากกว่าการยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนในพื้นที่ที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวก็ต้องเพิ่มพูนความรู้ในเรื่องของการท่องเที่ยว โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ทำการประมงก็ต้องเพิ่มพูนความรู้เรื่องของการประมง
.
จากประสบการณ์การไปดูงานในประเทศที่ประสบความสำเร็จทางการศึกษาระดับต้น ๆ ของโลก มีการปลูกฝังเป้าหมายของเด็กและเยาวชน เพื่อให้ค้นพบตัวตนตั้งแต่ต้น ยกตัวอย่างเมื่อเร็ว ๆ มานี้ เทนนิส นางสาวพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ นักเทควันโดคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับเหรียญทองจากการแข่งกีฬาโอลิมปิก และเป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกัน ที่ได้ตั้งเป้าหมายและเดินตามเส้นทางนักกีฬา ตั้งแต่อายุน้อย ๆ นี่คือสิ่งที่การศึกษาของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนหลักการทางการศึกษา
.
การพัฒนาในเรื่องการศึกษาอีกหัวใจสำคัญคือการให้คนในพื้นที่มีส่วนร่วม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย พร้อมกับการสนับสนุนที่ดีของภาครัฐภาคเอกชน ทั้ง 3 ส่วนนี้จะสามารถผลักดันคุณภาพทางการศึกษาต่อไปได้
.
นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี เปิดเผยว่า ในฐานะคุณแม่คนหนึ่ง สิ่งที่เป็นความฝันและความหวัง ก็คือการที่จะได้เห็นการศึกษาของประเทศไทยดีขึ้น งานครั้งนี้ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่หลาย ๆ ภาคส่วนร่วมมือ ร่วมใจกัน เพื่อยกระดับการศึกษาไทย
.
จากประสบการณ์ที่ตนเรียนจบปริญญาโทมาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ICT in Education) จากมหาวิทยาลัยด้านการศึกษาเบอร์ 1 ของโลก คือ Institutute of Education (IoE) ในเครือของ University College London (UCL) ประเทศสหราชอาณาจักร การสนับสนุนอุปกรณ์เทคโนโลยีให้กับโรงเรียนเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องเน้นย้ำ คือ การพัฒนาบุคลากรครู
.
ทุกวันนี้เราพยายามตั้งเป้าในการพัฒนาผ่านอุปกรณ์ในการเรียนการสอน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งต้องใช้ทั้งเวลา และใช้งบประมาณ แต่สิ่งที่เราสามารถผลักดันได้เลยทันทีคือคุณภาพและความเป็นอยู่ของครู เพราะมันเสริมสร้างรากฐานที่ดีให้กับเด็กและเยาวชนอย่างยั่งยืนที่สุด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า