Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the neve domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /var/www/vhosts/unitedthaination.or.th/httpdocs/wp-includes/functions.php on line 6114
เชื่อมสัมพันธ์การค้า 'รมช.สุชาติ' ผลักดันอุตฯ อัญมณี 2 ประเทศ - พรรครวมไทยสร้างชาติ
Skip to content
Home » เชื่อมสัมพันธ์การค้า ‘รมช.สุชาติ’ ผลักดันอุตฯ อัญมณี 2 ประเทศ

เชื่อมสัมพันธ์การค้า ‘รมช.สุชาติ’ ผลักดันอุตฯ อัญมณี 2 ประเทศ

รมช.สุชาติ ชมกลิ่น ได้ต้อนรับ นายเบลมีรู จูแซ มาลาตี (H.E. Mr. Belmiro José Malate) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโมซัมบิก ประจำประเทศไทย โดยใช้โอกาสนี้หารือในประเด็นการค้า ซึ่งโมซัมบิกเป็นประเทศตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ มีนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนหลายราย สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพาณิชย์ ที่มุ่งเน้นการเปิดประตูการค้าเชิงรุกสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ
.
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ กระทรวงพาณิชย์ นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิธรรม เวชยชัย ให้การต้อนรับและหารือ กับ นายเบลมีรู จูแซ มาลาตี (H.E. Mr. Belmiro José Malate) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐโมซัมบิก ประจำประเทศไทย ถิ่นพำนัก ณ กรุงจาการ์ตา ในโอกาสเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วม “พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗” โดยโมซัมบิกเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณแอฟริกาตอนใต้ เป็นเมืองท่าสำคัญ สามารถเป็นประตูการค้าไปสู่ทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะกลุ่มประเทศแอฟริกาตอนใต้ อาทิ แอฟริกาใต้ มาลาวี ซิมบับเว แซมเบีย และเอสวาตินี นอกจากนี้ โมซัมบิกยังเป็นแหล่งวัตถุดิบอัญมณีและก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของไทย ขณะเดียวกัน ไทยมีศักยภาพในการส่งออกสินค้าเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งโมซัมบิกมีความต้องการใช้ภายในประเทศสูง จึงได้ฝากเชิญชวนนักธุรกิจโมซัมบิกเข้าร่วมงานแสดงสินค้าของไทย อาทิ Bangkok Gems & Jewelry Fair (อัญมณีและเครื่องประดับ) งาน Bangkok RHVAC and E&E (สินค้ากลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) และงาน THAITHAM (เครื่องจักรกลการเกษตร) เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าศักยภาพของไทยเข้าสู่ตลาดโมซัมบิก ขณะเดียวกัน โมซัมบิกได้ฝากเชิญชวนนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงาน FACIM ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ของโมซัมบิก จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม – 1 กันยายน 2567 ณ กรุงมาปูโต
.
“ผมได้พูดคุยหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีผลประโยชน์เกื้อกูลกัน โดยโมซัมบิกมีความประสงค์ที่จะเรียนรู้ทักษะการเจียระไนจากไทยซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ขณะที่ไทยมีความต้องการวัตถุดิบอัญมณี โดยเฉพาะพลอยแดงและพลอยเนื้ออ่อนจากโมซัมบิก ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดพลอยคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ผมจึงเสนอให้ทั้งสองฝ่ายจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านอัญมณีและเครื่องประดับระหว่างกัน และในโอกาสเดียวกัน ผมได้แจ้งท่านเอกอัครราชทูตว่า ขอเรียนเชิญนายการ์โลส ซาคาเรียส (H.E. Mr. Carlos Zacarias) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรณีและพลังงานโมซัมบิก เดินทางเยือนประเทศไทย ในช่วงที่กระทรวงพาณิชย์มีการจัดงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair ในเดือนกุมภาพันธ์และกันยายนของทุกปี เพื่อต่อยอดความสัมพันธ์ด้านการค้าอัญมณีระหว่างสองประเทศต่อไป” นายสุชาติกล่าวเพิ่มเติม
.
ทั้งนี้ โมซัมบิกเป็นคู่ค้าอันดับที่ 56 ของไทย และอันดับที่ 6 ในทวีปแอฟริกา โดยในปี 2566 การค้าระหว่างกัน มีมูลค่า 693.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (24,254.61 ล้านบาท) โดยไทยส่งออกไปโมซัมบิก 181.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (6,264.90 ล้านบาท) และไทยนำเข้าจากโมซัมบิก 511.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (17,989.71 ล้านบาท) สำหรับการค้าระหว่างกันในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 มีมูลค่า 299.41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (10,765.76 ล้านบาท) โดยไทยส่งออกไปโมซัมบิก 134.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4,813.16 ล้านบาท) และไทยนำเข้าจากโมซัมบิก 164.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (5,952.60 ล้านบาท) สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ข้าว น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และเคหะสิ่งทอ สินค้านำเข้าสำคัญ เช่น ก๊าซธรรมชาติ อัญมณี ถ่านหิน สินแร่โลหะ และกุ้งแช่เย็นแช่แข็ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า