Skip to content
Home » “สส.ปรเมษฐ์” จี้ ก.เกษตรฯเร่งทำแผนจัดการน้ำหลัง 2 อ่างเก็บน้ำแตก

“สส.ปรเมษฐ์” จี้ ก.เกษตรฯเร่งทำแผนจัดการน้ำหลัง 2 อ่างเก็บน้ำแตก

“ปรเมษฐ์ จินา” สส.สุราษฎร์ธานี พรรครวมไทยสร้างชาติ จี้ถาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำในภาพรวม หลังอ่างเก็บน้ำแตก 2 แห่งในวันเดียว ส่งผลประชาชนเดือดร้อนกว่า 1,000 ครัวเรือน
.
วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 นายปรเมษฐ์ จินา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ตั้งกระทู้ถามสดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการนี้ รมว.เกษตรฯ ได้มอบหมายให้นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้ตอบกระทู้
.
นายปรเมษฐ์ กล่าวว่า ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 มีอ่างเก็บน้ำได้รับความเสีหายหรืออ่างเก็บน้ำแตกอยู่ 2 แห่งด้วยกัน คือที่อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และอ่างเก็บน้ำโนนม่วง จังหวัดชัยภูมิ ประชาชนรวมมากกว่า 1,000 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน หลายส่วนนั้นคิดว่าจะต้องมีการเตรียมความรับมือที่เหมาะสมกว่าที่เป็นอยู่
.
เรื่องของทรัพยากรน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญ น้ำเป็นชีวิต เป็นหัวใจการผลิต และเป็นรายได้ของประเทศ สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร หากการบริหารจัดการน้ำสามารถทำได้อย่างดีย่อมสามารถขจัดปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง รักษาสมดุลของน้ำทะเลหนุน และอื่น ๆ ได้ ก็มีโอกาสสูงที่คนไทยจะสามารถลืมตาอ้าปากได้
.
สำหรับข้อมูลทั่วไปของทรัพยากรน้ำในประเทศไทย ขออนุญาตยกตัวอย่าง 2 ตัวอย่าง คือ ในฤดูน้ำหลากของทุกปีจะมีการเคลื่อนของมวลน้ำจากประเทศจีนสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนลงสู่ภาคกลางและภาคใต้ต่อไป สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ขณะที่มีน้ำหลากจากทางภาคเหนือ ภาคใต้จะต้องรองรับมรสุมที่เริ่มจะฝั่งอันดามันก่อนเป็นฝั่งอ่าวไทยพร้อม ๆ กัน
.
ตัวอย่างต่อมาคือ ข้อมูลจากงานวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ และลานีญา คือในปีที่ประเทศไทยประสบภาวะเอลนีโญคือภัยแล้ง ในปีถัดไปมีโอกาสสูงที่จะมีปรากฏการณ์ฝนตกหนัก ซึ่งปีที่ผ่านมาประเทศเพิ่งประสบกับภาวะเอลนีโญไป
.
นอกจากตัวอย่างนี้แล้ว ตนมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ย่อมมีข้อมูลเชิงลึกมากกว่าอย่างแน่นอน จึงเป็นการง่ายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปัญหาอ่างเก็บน้ำแตกจึงไม่ควรเกิดขึ้น จึงฝากผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรไปยัง รมช.เกษตรฯ ว่า รูปแบบการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำและเขื่อนในปัจจุบันเป็นอย่างไร และมีศักยภาพในการรองรับน้ำได้มากน้อยเพียงใด
.
ประเด็นต่อมาเกี่ยวเนื่องกับโครงการระบบชลประทานในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่มีอยู่หลายโครงการ มีการใช้งานได้และไม่สามารถใช้งานได้ จึงอยากฝากผ่านประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ รมช.เกษตรฯ กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บำรุงรักษาโครงการระบบชลประทานให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า