‘เนเน่-รัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี’ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตผู้สมัครสส. เขตบางพลัด-บางกอกน้อย ประสานเหล่า ‘กูรู’ เสริมสร้าง ‘องค์ความรู้ด้านการเงินเชิงรุก’ ให้พี่น้องเขตบางพลัด-บางกอกน้อย
.
วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ และอดีตผู้สมัครสส. เขตบางพลัด-บางกอกน้อย ประสานนำ “กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินสำหรับชุมชน” (Financial Literacy) ภายใต้หลักสูตร “หลักสูตรอภินิหารทางการเงิน” มามอบให้ ชุมชนวัดไชยทิศ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2567 ระหว่างเวลา 09.00 – 12.00 น.
.
สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดย ธนาคารกรุงไทย ร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ คลินิกแก้หนี้โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) โดยมีคุณนวลศิริ ไวทยานุวัตติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย, ดร.ชาลิสา พุกกะรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ส่วนส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ฝ่ายคลินิกแก้หนี้ บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด และ คุณอภิชัย สายสดุดี ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจกรรมองค์กร กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เข้าร่วมด้วย
.
นางรัดเกล้า กล่าวต้อนรับผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง จึงได้ประสานความร่วมมือไปยัง ธนาคารกรุงไทย ซึ่งทางธนาคารกรุงไทย ได้มีโครงการที่ร่วมมือกับ กระทรวงการคลัง กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และ คลินิกแก้หนี้โดยบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (SAM) นั่นคือ “กิจกรรมให้ความรู้ทางการเงินสำหรับชุมชน” (Financial Literacy) ภายใต้หลักสูตร “หลักสูตรอภินิหารทางการเงิน” อยู่แล้ว จึงได้ประสานกิจกรรมดังกล่าวนี้ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่
.
โดยการให้ความรู้ในครั้งนี้ ยึดหลักการพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพิงภายนอก การคำนึงถึงศักยภาพ ทรัพยากร ภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเป็นหลัก และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ให้เกิดความสมดุลมีความเข้มแข็งจากภายใน โดยคนในชุมชนได้มาร่วมกันคิด กำหนดแนวทาง และจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชนต่อไป”
.
นางรัดเกล้า กล่าวต่อไปว่า กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมองค์ความรู้ด้านการเงินเชิงรุก (pro-active) มุ่งหวังให้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับพี่น้องประชาชนในพื้นที่จะได้เรียนรู้และเสริมสร้างภูมิปัญญาและภูมิคุ้มกันทางการเงิน สามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการ และแก้ไขปัญหาด้านการเงินของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
.
ในเบื้องต้นโครงการนี้มีเป้าหมายที่จะจัดกิจกรรมทั้งสิ้น 18 ครั้ง ในปี 2567 มุ่งเป้าครอบคลุมที่พื้นที่ กทม. และปริมณฑล