Skip to content
Home » 3 นักการเมืองหญิง รทสช. รับฟังข้อเสนอเชิงนโยบาย สตรี เด็ก คนพิการ

3 นักการเมืองหญิง รทสช. รับฟังข้อเสนอเชิงนโยบาย สตรี เด็ก คนพิการ

3 นักการเมืองหญิง รทสช. “เนเน่ รัดเกล้า-ดร.อิ๊กคิว ณัฐวรินธร-ดร.ฟลุค กาญจนา” รับฟังข้อเสนอเชิงนโยบาย สตรี เด็ก คนพิการ รวมถึงเรื่อง ขยายสิทธิลาคลอดเป็น 180 วัน และ เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า

พรรครวมไทยสร้างชาติ ยึดมั่นในหลักการ “สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอบหมายตัวแทนพรรคที่เป็นผู้ดูแลเรื่องสิทธิสตรีและเยาวชน ประกอบด้วย นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี หรือ เนเน่ รองโฆษกพรรครวมไทยสร้างชาติ และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยอดีตผู้สมัคร สส.กทม. พรรครวมไทยสร้างชาติ ประกอบด้วย ดร.ณัฐวรินธร บวรภัควุฒิสิริ หรือ อิ๊กคิว และ ดร.กาญจนา ภวัครานนท์ หรือ ฟลุค ได้มาร่วมกันรับฟังข้อเสนอเชิงนโยบายจากตัวแทนคณะนักเคลื่อนไหวและนักวิจัย นำทัพโดย นางเรืองรวี พิชัยกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา (Gender and Development Research Institue หรือ GDRI) ที่มาร่วมกับตัวแทนจาก มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

ผู้นำเสนอ ได้นำรายงานวิจัยและข้อเสนอเชิงนโยบาย 3 ฉบับมายื่น ได้แก่ 1) รายงานวิจัยเศรษฐศาสตร์ของความเป็นมารดาในประเทศไทย 2) รายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัวที่มีต่อผู้หญิงและเด็ก และ 3) รายงานผลการสำรวจสถานการ์คนพการที่ถูกกระทำความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศและความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งรายงาน 2 ฉบับแรกเป็นการทำวิจัยภายใต้โครงการ “เสียงของผู้หญิงต่อการทำนโยบายทางสังคมต่อรัฐบาลและพรรคการเมือง” อีกด้วย

นางรัดเกล้า กล่าวว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายที่คณะที่มาเยือนได้นำเสนอนั้น มีข้อเสนอที่น่าสนใจอยู่ในหลายส่วน ซึ่งมีการคละระหว่างการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค ทั้งนี้อยู่ภายใต้ประเด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การเล็งเห็นว่าสตรีเป็นส่วนสำคัญในกลไกของเศรษฐศาสตร์ และความเป็นมารดาไม่ควรเป็นอุปสรรคในการทำงาน 2) การเปลี่ยนแปลงเชิงกฏหมายและโครงสร้าง เพื่อยุติความรุนแรงในครอบครัวที่มีต่อผู้หญิงและเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) การขยายกรอบนโยบายเดิม เพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับเด็กวัย 0-6 ขวบ

ในรายละเอียดของข้อเสนอแนะ ประกอบเนื้อหาบางส่วนดังนี้

1. การรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิความเป็นมารดา รวมถึงกำหนดให้ผู้เป็นมารดามีสิทธิลาคลอด 180 วัน และให้ผู้เป็นบิดาสามารถลาเพื่อดูแลภรรยาคลอดบุตรได้ 30 วัน โดยได้รับค่าจ้างตาม จ่ายจริง 100% รวมถึงการผลักดันนโยบายที่จะอำนวยให้มารดาสามารถทำงานควบคู่กับการเป็นแม่ได้ เช่น การมีมุมนมแม่ในที่ทำงาน และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรัฐ ที่ครอบคลุมการรับเลี้ยงเด็ก 0-6 ปี มีเวลาเปิดปิดที่สอดคล้องกับเวลางานของบิดา-มารดา และมีการตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงที่ทำงาน โดยเฉพาะในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ

2. การรับรองอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 190 ว่าด้วยการขจัดความรุนแรงและการล่วงละเมิดในโลกแห่งการทำงานโดยเฉพาะการเลิกจ้างหญิงตั้งครรภ์ รวมถึงการแก้ไข พรบ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้มีความเข้มแข็งมาขึ้น ให้ครอบคลุมว่าการล่วงละเมิดทางเพศให้เป็นคดีอาญาที่ยอมความไม่ได้

4. เพิ่มความเท่าเทียมและถ้วนหน้าให้กับเด็ก ด้วยนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้า 0-6 ปี อ้างอิงสถิติปี 2565 ที่มีเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนเพียงจำนวน 2.3 ล้านคน ในขณะที่ประชากรเด็กไทยมีอยู่ที่ 4.3 ล้านคน หากรับมอบเงินอุดหนุนถ้วนหน้า จะเป็นการเพิ่มงบประมาณอีกเพียง 14,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยให้ความเท่าเทียมกับเด็กอีก 2 ล้านคนที่ปัจจุบันนี้ไม่ได้รับเงินสนับสนุน

“การรับฟังผลวิจัย ข้อเสนอแนะ และมีโอกาสหารือร่วมกันในครั้งนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้รับมาวันนี้ไม่ใช่การคิดขึ้นมาลอยๆ แต่เป็นแนวคิดที่กลั่นกรองมาจากสถิติและผลการวิจัย ด้วยเป้าประสงค์ที่อยากผลักดันให้เกิดประโยชน์ต่อสตรี เด็ก และคนพิการในประเทศไทย ในฐานะตัวแทนพรรค พวกเรา 3 คน ขอสร้างความมั่นใจว่าประเด็นปัญหาเหล่านี้ ตรงกับนโยบายและความสนใจของพรรครวมไทยสร้างชาติที่ยึดมั่นในหลักการ “สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” อยู่แล้ว นอกจากนี้ หนึ่งในปัญหาที่เป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญมาก คือเรื่องของสังคมสูงวัยและจำนวนประชากรที่ลดลงของประเทศไทย นโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้หญิงสามารถทำงานควบคู่กับการเป็นแม่ได้ และนโยบายที่ส่งเสริมการดึงศักยภาพด้วยการเลี้ยงดูเด็กอย่างมีคุณภาพ เหล่านี้เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องได้รับการผลักดันอย่างเร่งด่วน” นางรัดเกล้า กล่าวเสริม

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า