Skip to content
Home » “ธนกร“ ค้าน “ปิยบุตร” ชี้ แค่ปลายเหตุนิรโทษฯคนผิดม.112

“ธนกร“ ค้าน “ปิยบุตร” ชี้ แค่ปลายเหตุนิรโทษฯคนผิดม.112

“ธนกร“ ค้าน “ปิยบุตร” ชี้ แค่ปลายเหตุนิรโทษฯคนผิดม.112 ย้ำไม่เห็นด้วยยกโทษคนหมิ่นสถาบัน เป็นการเหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากไป จี้ แก้ไขตรงจุดต้นเหตุ คนบิดเบือนใส่ข้อมูลเท็จ-เบื้องหลังเยาวชนดีกว่า ลั่น ต้องไม่ดึงสถาบันฯ มาเกี่ยวข้องการเมือง

17 พ.ค.2567 นายธนกร วังบุญคงชนะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ สส.แบบบัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ(รทสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจและรัฐบาลตรากฎหมายนิรโทษกรรม โดยรวมคดีผู้กระทำความผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เข้าด้วย หลังเกิดเหตุ “บุ้ง ทะลุวัง“ เสียชีวิตในเรือนจำ โดยอ้างว่าคดีนี้มีแรงจูงใจจากการเมือง ว่า ส่วนตัว ต้องขอแสดงความเสียใจกับครอบครัว “บุ้ง” ด้วย เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แต่ตนก็ไม่เห็นด้วยกับทั้งการแก้ไขมาตรา 112 รวมถึงการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดในคดีมาตรา112 ดังกล่าว เพราะถือเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และย้ำมาโดยตลอด ว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง จึงขอคัดค้านหากมีผู้เสนอให้รวมคดีนี้ เป็นคดีการเมือง เพราะมาตราดังกล่าวถือเป็นความมั่นคงของชาติที่ต้องมีไว้ปกป้องประมุขแห่งรัฐ ซึ่งผู้ใดจะละเมิดมิได้ ซึ่งควรมุ่งไปแก้ไขที่ต้นเหตุ คือผู้ที่ให้ข้อมูลบิดเบือน และอยู่เบื้องหลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มดังกล่าวมากกว่า หากไม่มีผู้ใหญ่กลุ่มนี้ คอยยุยง ส่งเสริมให้ข้อมูลผิดๆ คงไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

เมื่อถามว่า กลุ่มที่ออกมาเคลื่อนไหวต้องการให้มีการแก้กฎหมายเกี่ยวกับการประกันตัวนั้น นายธนกร กล่าวว่า กฎหมายให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่ผู้ต้องหาตามกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งในกรณีของ “บุ้ง” นั้น ต้องแยกส่วน เรื่องศาลถอนประกันกับการประกาศอดอาหาร เป็นคนละเรื่องกัน ซึ่งการถอนประกัน ตนเชื่อว่า ศาลมีการวินิจฉัยที่รอบคอบพิจารณาจากหลักฐานและพฤติการณ์การกระทำความผิดซ้ำหรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นดุลยพินิจของศาล ตนไม่ขอก้าวล่วง

ทั้งนี้ตนเห็นด้วยที่ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรมมีคดีที่มาจากแรงจูงใจทางการเมือง มีข้อสรุปออกมาค่อนข้างชัดเจนแล้ว ว่า เรื่องการกระทำความผิดตามป.อาญาม.112 นั้น ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย การจะนิรโทษกรรม ควรเป็นคดีที่มีแรงจูงใจทางการเมือง ทั้งที่เป็นแกนนำและมวลชนที่ร่วมชุมนุมของกลุ่มต่างๆ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2548 ถึงปัจจุบัน หากเป็นคดีที่ไม่ร้ายแรง ก็เข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรมได้

“คนที่พูดกล่าวหา ให้ร้ายดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำผิดมาตรา112 แบบซ้ำซาก หากมีการเหมารวมยกเข่งนิรโทษกรรมให้คนเหล่านี้ ถือเป็นการ เหยียบย่ำหัวใจคนไทยมากเกินไป เพราะกฎหมายนี้ มีไว้ปกป้องประมุขของประเทศไม่ให้ถูกละเมิด เชื่อว่า ถ้านิรโทษฯให้ไม่มีใครรับได้แน่นอน” นายธนกร กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า