Skip to content
Home » “สส.มุ่ง” เปิดงานสงกรานต์มอญคุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง

“สส.มุ่ง” เปิดงานสงกรานต์มอญคุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง

“สส.มุ่ง” รวมไทยสร้างชาติ เปิดงานสงกรานต์มอญคุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง ปีนี้จัดใหญ่โชว์ของดีชุมชนชาวมอญ ชวนชิม“ข้าวแช่มอญ-ละมุด 100 ปี” ขบวนแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2567 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ร่วมกับหลายหน่วยงาน ได้จัดงานแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ และขบวนหาบข้าวแช่ นางรำ รถบุปผชาติแห่นางสงกรานต์ทางบก โดยขบวนเริ่มจากหน้าวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แห่งที่ 2 ไปยังลานกิจกรรมถนนข้าวแช่ บริเวณริมน้ำหน้าวัดตาลปากลัด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ขบวนแห่ตกแต่งอย่างสวยงามพร้อมนางรำเป็นชาวบ้านในชุมชน โดยมี ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมขบวนจำนวนมาก

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎรมา เป็นประธานเปิดงานว่า เนื่องจากได้เห็นความมุ่งมั่นของประชาชนในพื้นที่ ที่ร่วมกันรักษาประเพณีท้องถิ่นอันดีงามเอาไว้ ในพื้นที่แห่งนี้มีชาติพันธุ์อยู่รวมกันมากถึง 5 ชาติพันธุ์โดยเฉพาะชาติพันธุ์มอญ ที่อยู่กันอย่างแบบพหุวัฒนธรรม มีความรักความสามัคคีกลมเกลียวลงตัว

ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ประเพณีสงกรานต์ของประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก การจัดงานครั้งนี้จึงสอดประสานกัน สงกรานต์คุ้งพยอม ได้ดึงเอาวัฒนธรรมของชาวมอญมารักษาต่อยอดให้คงอยู่ต่อไป การจัดงานนี้ขึ้นมาถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะรักษาประเพณีอันดีงามไว้

“คลองปากลัดที่ใช้เป็นเส้นทางแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ กลับมามีชีวิตชีวา หลังจากผมได้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคมอนุมัติงบประมาณมาขุดลอกคลองที่ตื้นเขิน มีวัสพืชเต็มคลอง 2 ข้างทางรกทึบไปด้วยป่าให้กลับมามีชีวิตชีวา คืนวิถีชุมชน คืนคลองสวยน้ำใสให้กับชาวคุ้มพะยอม จึงขอให้ช่วยกันรักษาคลองสวยน้ำใส เพื่อไม่ให้กลับมามีป่ารกอีก เพราะไม่แน่ว่าจะมีงบประมาณมาขุดลอกได้อีกเมื่อไหร่ เมื่อเราได้คลองมาแล้ว ขอให้ช่วยกันรักษาคลองโดยการจัดกิจกรรมทำความสะอาดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อบูรณะคูคลอง ถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป”นายอัครเดชกล่าว

ด้านสุวัฒน์ อภิกันตสิริ นายก อบต.คุ้งพยอม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า เพื่อสืบสานประเพณีท้องถิ่นและรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าให้อยู่สืบไป ทั้งนี้ตำบลคุ้งพยอม มีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่สวยงาม ตนจะทำให้วัฒนธรรมที่เป็นต้นทุนดั้งเดิมอยู่คู่ชุมชนต่อไป จึงขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเที่ยว งานจัดถึงวันที่ 8 เมษายน บริเวณริมน้ำหน้าวัดตาลปากลัด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

สำหรับ กิจกรรมภายในงานประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ร่วมกันสรงน้ำพระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด การก่อพระเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีตลาดสินค้าของชุมชนให้ได้เลือกซื้อมากมาย อาทิ ข้าวแช่ที่อยู่คู่กับชุมชนมอญมายาวนาน และละมุด 100 ปีหารับประทานยาก นอกจากนั้น มีกิจกรรมการละเล่น การร่วมรับประทานข้าวแช่ซึ่งถือเป็นไฮไลค์ของการจัดงานในครั้งนี้ อีกทั้งยังมีการแสดงเพลงพื้นบ้านคณะดาวุด บุตรพิมาย และ สมหญิง ศรีประจันต์ การแสดงรำมอญหงสาวดี การละเล่นมอญทรงผี และกีฬาพื้นบ้าน (สะบ้ามอญ) บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานมีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมคับคั่ง
////
ปีนี้จัดใหญ่โชว์ของดีชุมชนชาวมอญ ชวนชิม“ข้าวแช่มอญ-ละมุด 100 ปี” ขบวนแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2567 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คุ้งพยอม อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ร่วมกับหลายหน่วยงาน ได้จัดงานแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ และขบวนหาบข้าวแช่ นางรำ รถบุปผชาติแห่นางสงกรานต์ทางบก โดยขบวนเริ่มจากหน้าวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี แห่งที่ 2 ไปยังลานกิจกรรมถนนข้าวแช่ บริเวณริมน้ำหน้าวัดตาลปากลัด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ขบวนแห่ตกแต่งอย่างสวยงามพร้อมนางรำเป็นชาวบ้านในชุมชน โดยมี ประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมขบวนจำนวนมาก

นายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ สส.ราชบุรี เขต 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การอุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎรมา เป็นประธานเปิดงานว่า เนื่องจากได้เห็นความมุ่งมั่นของประชาชนในพื้นที่ ที่ร่วมกันรักษาประเพณีท้องถิ่นอันดีงามเอาไว้ ในพื้นที่แห่งนี้มีชาติพันธุ์อยู่รวมกันมากถึง 5 ชาติพันธุ์โดยเฉพาะชาติพันธุ์มอญ ที่อยู่กันอย่างแบบพหุวัฒนธรรม มีความรักความสามัคคีกลมเกลียวลงตัว

ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีที่ประเพณีสงกรานต์ของประเทศไทยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้จากยูเนสโก การจัดงานครั้งนี้จึงสอดประสานกัน สงกรานต์คุ้งพยอม ได้ดึงเอาวัฒนธรรมของชาวมอญมารักษาต่อยอดให้คงอยู่ต่อไป การจัดงานนี้ขึ้นมาถือเป็นเรื่องที่ดี ที่จะรักษาประเพณีอันดีงามไว้

“คลองปากลัดที่ใช้เป็นเส้นทางแห่พระอุปคุตสรงน้ำทางเรือ กลับมามีชีวิตชีวา หลังจากผมได้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคมอนุมัติงบประมาณมาขุดลอกคลองที่ตื้นเขิน มีวัสพืชเต็มคลอง 2 ข้างทางรกทึบไปด้วยป่าให้กลับมามีชีวิตชีวา คืนวิถีชุมชน คืนคลองสวยน้ำใสให้กับชาวคุ้มพะยอม จึงขอให้ช่วยกันรักษาคลองสวยน้ำใส เพื่อไม่ให้กลับมามีป่ารกอีก เพราะไม่แน่ว่าจะมีงบประมาณมาขุดลอกได้อีกเมื่อไหร่ เมื่อเราได้คลองมาแล้ว ขอให้ช่วยกันรักษาคลองโดยการจัดกิจกรรมทำความสะอาดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อบูรณะคูคลอง ถือเป็นกุศโลบายอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป”นายอัครเดชกล่าว

ด้านสุวัฒน์ อภิกันตสิริ นายก อบต.คุ้งพยอม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงานว่า เพื่อสืบสานประเพณีท้องถิ่นและรักษามรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าให้อยู่สืบไป ทั้งนี้ตำบลคุ้งพยอม มีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่สวยงาม ตนจะทำให้วัฒนธรรมที่เป็นต้นทุนดั้งเดิมอยู่คู่ชุมชนต่อไป จึงขอเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวมาเที่ยว งานจัดถึงวันที่ 8 เมษายน บริเวณริมน้ำหน้าวัดตาลปากลัด อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี

สำหรับ กิจกรรมภายในงานประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ร่วมกันสรงน้ำพระ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด การก่อพระเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีตลาดสินค้าของชุมชนให้ได้เลือกซื้อมากมาย อาทิ ข้าวแช่ที่อยู่คู่กับชุมชนมอญมายาวนาน และละมุด 100 ปีหารับประทานยาก นอกจากนั้น มีกิจกรรมการละเล่น การร่วมรับประทานข้าวแช่ซึ่งถือเป็นไฮไลค์ของการจัดงานในครั้งนี้ อีกทั้งยังมีการแสดงเพลงพื้นบ้านคณะดาวุด บุตรพิมาย และ สมหญิง ศรีประจันต์ การแสดงรำมอญหงสาวดี การละเล่นมอญทรงผี และกีฬาพื้นบ้าน (สะบ้ามอญ) บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนานมีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมกิจกรรมคับคั่ง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า